สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

ประชุมประเมินผลโครงการโดยคณะทำงานผู้แทนหมู่บ้าน พชต. /พชอ. และจ้างทำสื่อวีดีโอ22 สิงหาคม 2562
22
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นายสมนึก นุ่นด้วง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความั่นคงทางอาหารของบ้านทุ่งยาวและบ้านเกาะทองสมใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คณะทำงาน แกนนำชุมชน ได้รอต้อนรับคณะติดตาม กรรมการ สสส . สจรส.มอ. และภาคีที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เวลา 13.00 น
  2. คณะติดตามมาถึง ผู้รับผิดชอบกล่าวต้อนรับ แนะนำทีมงานจากชุมชนที่เข้าร่วม ภาคีในตำบล ในอำเภอที่รอต้อนรับ
  3. ดร.เพ็ญ สุขมาก สจรส.มอ. แนะนำทีมงานผู้ติดตาม และภาคีที่เดินทางมาพร้อมกัน ตามด้วยการแจ้งวัตถุประสงค์ เป้าหมายการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามโครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดทำแผนสู่การขยายผล
  4. นำเสนอผลการดำเนินงานโดยผู้รับผิดชอบโครงการผ่านสื่อวีดีโอ ความยาว 10.12 นาที
  5. การตั้งวงชวนคุยเสนอผลลัพธ์โดยแกนนำหมู่บ้าน(ผญ วิโรจน์ เหตุทอง, ผญ มนูญ สุขรัตน์) โดยครูชุมชนคนต้นแบบ ,นายรณงค์ ปิ่นมณี ,นายวิชัย นุ่นสง) และร่วมแลกเปลี่ยนโดย นักวิชาการจากสำนักงาน สสส กับแกนนำชุมชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากชุมชน และภาคีร่วม
  6. การให้ความเห็น การนำไปสู่การขายผลโดยภาคีภาครัฐ
  7. การเยี่ยมพื้นที่ปฏิบัติการ ปลูก ผลิต เพื่อความมั่นคงทางอาหารของหมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
  8. หมายเหตุ กิจกรรมเสริมที่เกิดขึ้นคือ

    8.1 การนำเสนอด้วยสื่อวีดีโอ ที่ได้มีการถ่ายทำวีดีโอไว้ก่อนล่วงหน้าในวันที่ 10-11 สิงหาคม 2562 ซึ่งมีรายละเอียด คือ คณะถ่ายทำวีดีโอ เดินทางเข้ามาถ่ายทำตามสคริป ในวันที่ 10 และ 11 สิงหาคม โดยมีผู้ใหญ่บ้าน แกนนำ และผู้รับผิดชอบโครงการเป้นผู้ให้ข้อมูล รายละเอียดปรากฏตาม วีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=2knmq22Xosc&t=344s

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การติดตามได้สร้างการเชื่อมร้อยเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ ที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ตั้งแต่การปลูก การผลิต การแปรรูป เพื่อความพอเพียง ปลอดภัย เข้าถึงได้ และการสร้างความมีส่วนร่วม
  2. มีการนำเสนอรูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่เกิดจากการร่วมกันศึกษา และสังเคราะห์เป็น Concertual Model พร้อมชี้ให้เก็นปัจจัยหรือกลไกสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง อันจะนำไปสู่การขยายผลในหมู่บ้านอื่นๆ รวมถึงการยกระดับสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับอำเภอต่อไป
  3. จากการสอบถาม แลกเปลี่ยนกัน ช่วยให้ชุมชน และภาคีได้มองเห็นความสันมพันธ์กันในเชิงผู้ผลิต กับผู้บริโภค ผู้สนับสนุน และผู้ควบคุมคุณภาพ
  4. สร้างความชื่นชม เสริมพลังใจให้กับผู้ผลิต ในทิศทางการปลูก การผลิต อาหารปลอดภัย เพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และความมั่นคงด้านเศราฐกิจครัวเรือน
  5. สื่อวีดีโอ ความยาว 10.12 นาที "ความมั่นคงทางอาหารบ้านทุ่งยาว"
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน/ แกนนำหมูุ่บ้านต้นแบบ /กรรมการบอร์ด สสส/ เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.  /จ้าหน้าที่จาหหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเจ้าหน้าที่,  ผู้แทนสาธารณสุขอำเภอเขาชัยสน ผู้แทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาชัยสน ,ผู้แทนนายแพทย์สาธารณสุขพัทลุง  ผู้แทนนายอำเภอเขาชัยสน  ผู้แทนนายกเทศมนตรีตำบลนาท่อม และทีมงานผลิตสื่อ วีดีโอ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ถ้า  สสส. สามารถจะประสานงาน ให้พื้นที่ได้นำเสนอผลลัพธ์การดำเนินงาน กระบวนการ รูปแบบการขยายผล ต่อหน่วยงาน หรือภาคีที่เกี่ยวข้องด้วยเวลาที่มากกว่านี้ และภาคีที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และสามารถสร้างข่อตกลงในระดับทวิภาคีได้จะช่วยให้ได้ประโยชน์มากกว่านี้ เช่น โรงพยาบาลและชุมชน มีข้อตกลงซื้อขายผลผลิตต่อกัน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การเปิดพื้นที่ให้นำไปขายอย่างที่เป้นอยู่ในปัจจุบัน

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี