สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

ติดตามประเมินผลพื้นที่การขยายผล 13 หมู่ไบ้าน 1ครั้ง18 พฤษภาคม 2562
18
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นายสมนึก นุ่นด้วง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเครือข่ายและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การติดตามประเมินพื้นที่ขยายผลความมั่นคงทางอาหาร โดยคณะทำงานและภาคีดังนี้ 10 คน
1. นายมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 คณะทำงาน 2. นางสาวอุบลรัตน์ เมืองสง นักวิชาการสาธารณสุข เทศบาลตำบลโคกม่วง คณะทำงาน /ภาคท้องถิ่น 3. นางสาวสายพิณ โปชะดา นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.บ้านเกาะทองสม คณะทำงาน /ภาครัฐ 4. นายถาวร คงศรี คณะทำงาน
5. นายณัฐพงค์ คงสง คณะทำงาน 6. นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ คณะทำงาน 7. นายวิโรจน์ เกตุทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 คณะทำงาน 8. นายสมมิตร ปานเพชร  คณะทำงาน 9. นายชำนาญ สงชู ผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ SDGs PGS พัทลุง/ภาคประชาสังคม 10. นายสมนึก นุ่นด้วง คณะทำงาน /ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะทำงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและภาคีร่วมพร้อมกันที่เทศบาลตำบลโคกม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการได้รสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของทีมติดตามประเมินผล โดยให้ใช้กลยุทธ์การเสริมพลังการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับตำบล ให้เสนอแนะและสร้างความเข้าใจแผนงานโครงการ ตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง สอบถามปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการความมั่นคงทางอาหารในทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และระดับตำบล รายละเอียดดังนี้

  • สิ่งที่พบเห็น : โดยรวมครอบครัวต้นแบบ มีการปลูกผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน เลี้ยงสัตว์เพื่อขาย เลี้ยวสัตว์เป็นอาหาร เลี้ยงปลา ทำน้ำหมัก ทำปุ๋ยหมัก เป็นคนขยัน ทำงานประณีต เป็นที่ยอมรับของชุมชน และมีครอบครัวเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตาม ซึ่งจะเป็นโอกาสของกายขยายผลตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในโอกาสต่อไป
  • ปัญหาอุปสรรค : พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดการจัดการน้ำ จะมีเพียงแต่บ้านต้นแบบที่มีการจัดการน้ำในครอบครัว แต่โดยรวมของชุมชนยังไม่มีการจัดการน้ำที่ดีพอ เพื่อให้สามารถมีน้ำเพื่อการเกษตร เช่นเดียวกับหมู่ที่ 11 มีความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่จัดการนี้ที่ดีเช่นการเจาะท้ายฝายเก็บน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้คนเดียว การสูบน้ำออกจากอ่าง/บ่อ เพื่อจับปลาในหน้าแล้ง เป็นเหตุให้น้ำขุ่นข้นใช้ไม่ได้ และหรือน้ำแห้ง
  • ข้อเสนอแนะ : 1. การจัดการแหล่งน้ำชุมชนโดยใช้กติกา และใช้มาตรการทางสังคมกับผู้ละเมิดกติกา เช่นการจัดการแนวป้องกันน้ำบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร การขุดบ่อ ขุดสระสาธารณะ ให้ชุมชนใช้ร่วมกัน
        : 2. การมีแหล่งน้ำเฉพาะครัวเรือน ด้วยการแบ่งพื้นที่การเกษตรส่วนหนึ่งขุดเป็นแหล่งน้ำเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่ช่วยให้ครอบครัวมีน้ำใช้ตลอดไป
          : 3. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการกักเก็บน้ำในพื้นที่สวนยาง เช่นการสร้างฝายชะลอน้ำตามแบบอย่างของบ้านทุ่งยาว ซึ่งชุมชนสามารถเรียนรู้ได้จากในตำบล และสร้างได้ด้วยต้นทุนในชุมชน แรงงานในชุมชน ฝายชะลอน้ำจะช่วยให้ผืนดินดูดซึมซับน้ำไว้ในหน้าฝน และค่อยๆ ปลอดปล่อยน้ำออกมาในหน้าแล้ง จากความสำเร็จของหมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
        : 4 ตำบลโคกม่วงต้องสร้างเมนูอาหารจากภูมิปัญญาชมชน และสร้างชื่อเสียง สร้างค่านิยม เพื่อส่งเสริมกระแสความมั่นคงทางอาหารของตำบล ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยเทศบาลร่วมกับชุมชน /ศูนย์เรียนรู้/วิสาหกิจ /กลุ่ม /หรือครัวเรือนต้นแบบ เช่น หมู่ที่ 4 บ้านไร่ลุ่มประกาศเมนูแกงแพะเป็นเมนูเด็ดของชุมชน และเปิดบริการเชือดชำแหละแพะ “คิดถึงแพะ คิดถึงบ้านไร่ลุ่ม”     : 5. การกำหนดนโยบายความมั่นคงทางอาหาร และผลักดันแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงไปสู่หน่วยงาน องค์กร ชุมชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างพื้นที่ปฏิบัติการให้เห็นรูปธรรมความสำเร็จ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 39 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน  13 หมู่บ้าน แกนนำชุมชนที่เป็นต้นแบบด้านความมั่นคงทางอาหาร 13 หมู่บ้าน ๆละ 2 คน/2 ครอบครัว/ 2 แปลง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ให้การสนับสนุนเพื่อการขยายผลตามแผนยุทธศาสตร์ในโอกาสต่อไป

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  1. การรวมกลุ่มช่วยให้เกิดพลัง และเกิดการเรียนรู้ด้วยกัน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ เป็นวิสาหกิจชุมชน ที่สามารถรับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐได้สะดวก
  2. ควรใช้เวทีการประชุมหมู่บ้านเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้บอกเล่าถึงความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ และอุปสรรคปัญหา เพื่อร่วมวิเคราะห์ตัดสินวางแผนแก้ไขร่วมกันอันจะเป็นการเสริมพลังกันเอง
  3. การพบกลุ่ม การเยี่ยมเยียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม หรือระหว่างชุมชนหมู่บ้าน ช่วยกระตุ้นให้การขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารระดับตำบลขยายผลได้ง่ายขึ้น
  4. การเชื่อมร้อยเครือข่ายที่มีแนวทางสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน เช่นเครือข่ายคนเลี้ยงผึ่งโพรง เครือข่ายคนเลี้ยงแพะ เครือข่ายนาอินทรีย์ เครือข่ายป่าร่วมยาง สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ SDGs PGS พัทลุง