สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

รายงานผลการศึกษาให้ชุมชนผ่านกระบวนการติดตามประเมินผลโครงการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม1 ธันวาคม 2561
1
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายงานผลการศึกษาจากการศึกษา พบว่า แนวทางการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความเป็นอัตลักษณ์และวิถีวัฒนธรรม มีข้อจำกัดในการส่งเสริมและจัดรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเเพื่อเรียนรู้วิถีชุมชน ได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาพื้นที่ 1.1 ควรมีการป้ายเส้นทางและบอกสถานที่ท่องเที่ยวให้ชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อความสะดวกกับการเดินทาง เนื่องจากเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ บางแห่งเป็นเส้นทางที่อยู่ค่อนข้างอยู่ไกลและซับซ้อนกับการเดินทาง บางแห่งไม่มีป้ายบอกทางหรือบางแห่งป้ายขาดความต่อเนื่อง ทำให้เกิดหลงทางและหาแหล่งท่องเที่ยวไม่พบ 1.2 ควรมีการควบคุมและดูแลการใช้พื้นที่ของคนในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนมีการบุกรุกพื้นที่ส่วนร่วม หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อใช้เป็นที่ออกกำลังกายหรือทำมาค้าขาย โดยทำให้เกิดความไม่สวยงามและทำให้แหล่งท่องเที่ยวขาดเสน่ห์ 1.3 ควรมีการดูแลถนนหนทางและผิวจราจรให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและจรจร ถนนบางแห่งค่อนข้างขรุขระและยังเป็นถนนลูกรัง ทำให้ไม่สะดวกในการเดินทาง 2. ด้านการพัฒนากิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ 2.1 ควรมีการจัดนิทรรศการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวช้องกับการดูแลรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้และอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว 2.2 ควรมีหน่วยงานเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเนื่องจากคนในชุมชนมีความรู้เรื่องการท่องเที่ยววัฒนธรรมน้อย ทำให้ขาดความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยว 2.3 มีการจัดโปรแกรมท่องเที่ยว ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนให้มากขึ้น เช่น การลองนุ่งผ้าปาเต๊ะ หรือกิจกรรมท่องเที่ยวที่เน้นให้นักท่องเที่ยวพักร่วมกับชุมชนแบบธรรมชาติ เช่น โฮมสเตย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวมีความเช้าใจและสามารถดูแลรักษาวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป 2.4 ความมีการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่ได้มาเที่ยวตามสถานที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ควรมีการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว ที่จะเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงระเบียบและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในการเข้าชมและยังสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ได้ทันที 2.5 ควรเพิ่มการจัดนิทรรศการหมุนเวียนให้มากขึ้นและประชาสัมพันธ์ให้คนสนใจ ระบุวันเวลาในการหมุนเวียนล่วงหน้าให้ทราบ 3. การจัดการด้านการท่องเที่ยว 3.1 หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยว มีการประชาสัมพันธ์น้อย 3.2 ควรมีศูนย์บริการนักท่องเทียวของภาครัฐกระจายตามจุดต่าง ๆ เนื่องจากศูนย์บริการท่องเที่ยวในจังหวัดมีแห่งเดียว ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อหรือสอบถามข้อมูล 3.3 ควรมีการบริการรถสาธารณะให้พอเพียงกับความต้องการ เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวบางแห่ง มีความซับซ้อนในการเดินทางและไม่มีรถโดยสารเข้าถึง ทำให้เดินทางลำบากและไม่ได้รับความสะดวก มีผู้เดินทางไปท่องเที่ยวน้อยมาก 4. การจัดการด้านอนุรักษ์ และจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 4.1 ส่งเสริมการแต่งกายสุภาพ เรียบร้อยในการไปเที่ยวยังสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เพื่อแสดงในการเคารพสถานที่ ไม่ทำให้สิ่งที่ลบหลู่ศาสนาหรือประเพณี 4.2 เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น เพื่อให้คนไทยเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมวิถีวัฒนธรรมมลายู หวงแหนและรักษาความเป็นวิถีวัฒนธรรมมลายูอย่างแท้จริง 4.3 เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการเป็นมัคคุเทศก์อาสาพาเที่ยวชมท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนบ้านหัวควนมีการสืบทอดสู่คนรุ่นหลังได้อย่างต่อเนื่อง”การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวบ้านในการนำเสนอ“ของดี”ชุมชนให้คนภายนอกได้รับรู้ ทำให้เกิดการสืบค้น ถ่ายทอด และฟื้นฟูวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ชุมชนมีการบริหารจัดการและร่วมกันกำหนดว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ชุมชนพร้อมในการนำเสนอและสร้างการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน ตลอดจนมีแนวทางปฏิบัติตัวสำหรับนักท่องเที่ยวการที่มีนักท่องเที่ยวสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมคนท้องถิ่น เป็นตัวกระตุ้นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ และมีชีวิตชีวาในการนำเสนอข้อมูล สามารถสร้างการมีส่วนร่วมให้กับนักท่องเที่ยวในกิจกรรมทางวัฒนธรรมของตน สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือน และทำให้เยาวชนคนรุ่นหลังเห็นคุณค่าของชุมชนตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกชุมชนบ้านหัวควน นักศึกษา 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขาดไม่ต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้้ตระหนักต่อความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอัตตลักษณ์ เนื่องจากที่ตั้งของชุมชนเป็นชุมชนเปิด บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงได้ง่าย โอกาสในเรื่องความเสี่ยงมีสูง