สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

กลั่นกรองความจำเป็นในการประเมิน (Screening)13 กันยายน 2561
13
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นายอภิรมย์ พรหมจรรยา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา บ้านหัวควน อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามบริบทของความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในเขตพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน บ้านหัวหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การมีส่วนร่วมตำบลกมลา 1. การพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแท้จริงในระดับนโยบาย รัฐควรให้ความสำคัญแก่ประชาชนในท้องถิ่นผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยรัฐจะต้องพยายามเชื่อมโยงประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการเปิดโอกาสมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสนอแนะปัญหา การวางแผน การดำเนินการ และการติดตามและประเมินผล ซึ่งถ้าหากรัฐได้เข้าใจถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้วจะทำให้เกิดความสอดคล้องด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้งนี้โดยความร่วมมืออันดีระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวฝ่ายการเมือง ราชการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน 2. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีการจัดการและวางแผนอย่างเป็นระบบ สรรหาบุคลากรที่มีความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรการท่องเที่ยว เข้ามาพูดคุยกับผู้นำชุมชน ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ทุกคนในพื้นที่ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติที่มีต่อการท่องเที่ยว มีการออกแบบการใช้พลังงานทรัพยากรทางธรรมชาติให้น้อยลงหรือพัฒนาให้เป็นพลังงานสะอาด เพราะเป็นการสื่อถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จัดประชุมปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เพื่อหาวิธีป้องกันผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยว พร้อมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลจากผลกระทบทางการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 3. จัดตั้งชมรมหรือสมาคมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นในชุมชน โดยมีประชาชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้นำท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สนใจร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยกันปกป้อง อนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กับมาเหมือนเดิม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนเกิดความตระหนักและหวงแหนทรัพยากรที่มีอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มสมาชิกของชุมชนบ้านหัวควน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

สมาชิกในชุมชนขาดความร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่