โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 12
เวลา 9.30 น. นางจริยา จันทร์ดำ นายอำเภอศรีนครินทร์ (ประธานคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอศรีนครินทร์) เป็นประะานเปิดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม 27 คน
วาระที่ 1 รายงานการขับเคลื่อนงาน พชอ.ศรีนครินทร์ โดยเลขา พชอ. นายชลิต เกตุแสง สาธารณสุขอำเภอศรีนครินทร์ (เลขาฯ พชอ.) แจ้งบทบาทหน้าที่ และองค์ประกอบของ พชอ. ทั้งรายงานการประชุมครั้งที่แล้วที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาวะไว้ 2 ประเด็นได้แก่ ประเด็นอาหารและโภชนาการสมวัย และประเด็นกิจกรรมทางกาย
วาระที่ 3 รับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน โดยเลขา พชอ.
วาระที่ 4 ติดตามมติที่ประชุมครั้งก่อน โดยเลขา พชอ.
วาระที่ 5 รายงานความก้าวหน้า ผลผลิต ผลลัพธ์การขับเคลื่อนโครงการ โดยคณะทำงานโครงการ
-คณะทำงานโครงการ รายงานภาพรวม 3 อำเภอ และผลงานตามยุทธศาสตร์ พชอ .ศรีนครินทร์
-คณะทำงานระดับตำบล รายงานความก้าวหน้าแผนงาน โครงการ 9 ประเด็น รายตำบล
- แผนอำเภอ วิธีการสร้างแผนอำเภอ การยืนยันข้อมูลสถานการณ์ และการกำหนดเป้าหมาย และสร้งาความเข้าใจแก่เลขา พชอ.เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ พชอ. เพื่อยืนยันสถานการณื กำหนดเป้าหมาย กำหนดโครงการที่ควรดำเนินการ
- รายงานแผนงานโครงการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ยุทธศาสตร์ พชอ.
1. พัฒนาชุมชนมีแผนงานการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามโครงการทางนี้มีผลผู้คนรักกัน ดำเนินการแล้ว 5 หมู่บ้าน และโครงการซอยนี้มีรักปลูกผักแบ่งปัน ดำเนินการแล้ว 5 หมู่บ้าน
2. อสม.ในเขตรับผิดชอบของ รพสต.บ้านลำกะ ตำบลชุมชน ดำเนินแผนงานอาหารปลอดภัย ตามโครงการอาหารปลอดภัย กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในเกษตรกร ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสด 6 ชนิด ในร้านขายอาหารสด
3. แผนงานร่วมทุน สสส.และ อบจ.พัทลุง ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ ตามกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินสำหรับผู้สูงวัย เพิ่มการกินผัก เน้นผักพื้นบ้าน ลดการกินเกลือและโซเดียม ผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุ
4. แผนงานร่วมทุน สสส.และ อบจ.พัทลุง ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลตำบลบ้านนาตามกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินสำหรับผู้สูงวัย เพิ่มการกินผัก เน้นผักพื้นบ้าน ลดการกินเกลือและโซเดียม
5. แผนงานร่วมทุน สสส.และ อบจ.พัทลุง ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลตามกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ
วาระที่ 6 นโยบายและบทเรียนจากโครงการ
6.1 นโยบาย
ข้อเสนอเชิงนโยบายในการยกระดับศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
1. ทุกกองทุนต้องสนับสนุนให้มีการพัฒนาแผนงานกองทุนในระบบเว็บกองทุนตำบล
2. ต้องสนับสนุนให้ผู้รับทุนพัฒนาโครงการที่เชื่อมโยงกับแผนงาน
ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (กองทุนศูนย์เรียนรู้)
1. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ และท้องถิ่นอำเภอ ต้องสนับสนุน ผลักดันให้มีการบูรณาการการแผนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น กับนโยบายหรือยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
6.2 บทเรียนจากโครงการ
จุดแข็ง/ ปัจจัยความสำเร็จของพื้นที่ในการดำเนินงาน
1. พี่เลี้ยงระดับจังหวัดได้รับการแบ่งงาน คนละ 1-2กองทุนให้รับผิดชอบตามความเหมาะสม การแบ่งงานวิทยากร การให้ร่วมเรียรู้ในทุกกิจกรรม
2. พี่เลี้ยงจังหวัด และพี่เลี้ยงตำบล ความรู้ความสามารถในการใช้และสอนงานการใช้เว็บเพื่อพัฒนางานกองทุน
ปัญหา/ อุปสรรคจากการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
1. ผู้ขอรับทุนยังไม่ได้รับการเรียนรู้ในการเขียนโครงการผ่านเว็บครอบคลุมทั้งชุมชน แก้ไขด้วยการเขียนโครงการในกระดาษส่งให้เจ้าหน้าที่กองทุนบันทึกเข้าเว็บ
2. ยังคงมีโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับแผน และไม่ใช้เป้าหมาย ตัวชี้วัดของแผน แต่รได้รับอนุมัติไปแล้ว แก้ไขโดยชี้ให้พี่เลี้ยงกองทุนเห็นความไม่สอดคล้อง /การกำหนดวัตถุประสงค์เอง ซึ่งถ้ามีความจำเป็นก็ต้องซ่อมแผนงานใหม่
วาระที่ 7 ผลผลิต/ผลลัพธ์ (ตามเอกสารแนบท้าย)
วารที่ 8 รายงานแผนการทำงานช่วงต่อไป และการพิจารณาสร้างการมีส่วนร่วมภายใต้ MOU
- 7 กรกฎาคม 2566 การติดตามโครงการประเมินผลผ่านเว็บกองทุกองทุนอำเภอกงหรา กองทุนอำเภอศรีนครินทร์ และ 5 กองทุนทั่วไปอำเภอควนขนุน เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบันทึกรายงาน และประเมินคุณค่าโครงการได้ เจ้าหน้าที่กองทุนสามารถเป็นพี่เลี้ยงสอนงานแก่ผู้รับทุนได้
- 8/09/2566 ประชุมติดตามประเมิน ให้คำปรึกษาปรับปรุงและผลักดันให้โครงการได้รับอนุมัติ และรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 4 เพื่อการติดตามประเมินผล ให้คำปรึกษา ปรับปรุงและ ผลักดันให้โครงการได้รับอนุมัติ รายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ.(กองทุนศูนย์เรียนรู้) คณะทำงานระดับจังหวัด
-10/10/2567 ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงการเน้นผลลัพธ์ ในระดับกองทุน ครั้งที่ 2 เพื่อกองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้มีมีโครงการ ที่ผ่านการพิจารณาและได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ รวม อย่างน้อย กองทุนละ 3 โครงการ
- 8/12/2566 ประชุมติดตามประเมิน ให้คำปรึกษาปรับปรุงและผลักดันให้โครงการได้รับอนุมัติ และรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 5 เพื่อการติดตามประเมินผล ให้คำปรึกษา ปรับปรุงและผลักดันให้โครงการได้รับอนุมัติ รายงานความก้าวหน้าคณะทำงานระดับจังหวัด
- มค.-กพ.2567 การเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ 9 ประเด็น (ครั้งที่2 ) เพื่อเก็บข้อมูลสถานการสุขภาพทั้ง 9 ประเด็น 3 ระดับ(ระดับบุคคล ระดับครัวเรือน และระดับชุมชน)
- 8/03/2567 ประชุมติดตามประเมิน ให้คำปรึกษา ปรับปรุงและผลักดันให้โครงการได้รับอนุมัติ และรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 6 เพื่อการติดตามประเมินผล ให้คำปรึกษา ปรับปรุงและ ผลักดันให้โครงการได้รับอนุมัติ รายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ. (กองทุนศูนย์เรียนรู้) คณะทำงานระดับจังหวัด
- 8/06/2567 ประชุมติดตามประเมิน ให้คำปรึกษา และรายงานความก้าวหน้า + ถอดบทเรียน ครั้งที่ 7 เพื่อการติดตามประเมินผล ให้คำปรึกษา ปรับปรุงและผลักดันให้โครงการได้รับอนุมัติ รายงานความก้าวหน้าให้กับ พชอ. (กองทุนศูนย์เรียนรู้) และได้บทเรียนความสำเร็จคณะทำงานระดับจังหวัด
ปิดประชุมเวลา 15.30 น
- เกิดแผนงาน 9 ประเด็น 13 กองทุน ร้อยละ 92.85 (1 กองทุน ขาดประเด็นขยะ/ได้ประสานงานให้ดำเนินการแล้ว)
- เกิดโครงการผ่านเว็บ เน้นผลลัพธ์ 108 โครงการ งบประมาณ 2,091,567 บาท มีโครงการที่ตอบประเด็นยุทธศาสตร์ พอช. ประเด็น PA 42 โครงการ งบประมาณ 982,223 บาท ประเด็นอาหารและโภชนาการสมวัย 39 โครงการ งบประมาณ 629,250 บาท
- เกิดกลไกพี่เลี้ยงที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้และถ่ายทอดการบริหารจัดการกองทุนผ่านเว็บกองทุนตำบล (พัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ) จำนวน 22 คน (ระดับจังหวัด 8 คน ระดับกองทุน 14 คน)
(รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบ)