สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

ประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์”18 มิถุนายน 2567
18
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • 18 มิ.ย.67.jpg
  • 18 มิ.ย.67 2.jpg
  • 18 มิ.ย.67 1.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าสู่กระบวนการโดยการทักทายผู้เข้าร่วม แนะนำคณะทำงาน และชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการในการประชุม โดย นายวินัย วงศ์อาสา พี่เลี้ยงระดับเขต/จังหวัด จากนั้นกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม โดย ปลัดอาวุโสองค์การบริหารส่วนตำบลตระกาจ ต่อด้วย นายภัทธศาสน์ มาสกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และกล่าวรายงานความเป็นมาของการดำเนินงาน โดย นายธีรศักดิ์ แย้มศรี สาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์ และกล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบาย การขับเคลื่อนงานบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ โดย นายสุกิจ เหลืองสกุลไทย นายอำเภอกันทรลักษ์ หลังจากนั้นเข้าสู่ช่วงปฏิบัติการ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ช่วงที่ 1 สรุปผลการพัฒนาแผนงาน และโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และ ปี 2567 โดย พี่เลี้ยงอำเภอ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ, อำเภอเขื่องใน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ดำเนินกระบวนการโดยวิทยากร นายรพินทร์ ยืนยาว พี่เลี้ยงระดับเขต/จังหวัด ซึ่งพี่เลี้ยงนำเสนอสรุปผลการพัฒนาแผนงาน และโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และ ปี 2567 ตามลำดับดังนี้ 1) พี่เลี้ยงอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เล่าถึง ผลการดำเนินงานที่ผ่านของพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ โดยเริ่มตั้งแต่บริบทพื้นที่ บริบทพื้นที่เป้าหมาย กระบวนการดำเนินที่ร่วมมือกับ พชอ.ในพื้นที่ และภาคีเครือข่าย ที่เน้นการดำเนินงานแบบปฏิบัติการร่วมกับพื้นที่ ในลักษณธ “บัดดี้พี่เลี้ยงตำบล” งบประมาณและจำนวนที่ได้รับการสนับสนุนและที่อยู่ในสถานะรอดำเนินการ ครอบคลุม ทั้ง 8 ประเด็น บทเรียนการทำงานตลอดโครงการ และแผนงานดำเนินงานต่อ ปี 2567 2) พี่เลี้ยงอำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี เล่าถึง การเข้าร่วมโครงการปีแรกของพื้นที่ ในปี 2558 เริ่มต้นด้วยการจัดทำธรรมนูญตำบล ซึ่งมี อบต.หัวดอน สนใจ และได้ประกาศใช้ ในปี 2560 โดยเป็นอำเภอแรกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของจังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นเล่าถึงกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมทั้ง 8 ประเด็น ขาดประเด็น PM 2.5 และได้บอกเล่าถึงประสบการณ์การคีย์โครงการเข้าระบบ ทั้งที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับพื้นที่ ทำให้เห็นถึงชุดบทเรียนที่ทำให้การดำเนินงานสำเร็จ และไม่สำเร็จ
3) พี่เลี้ยงอำเภอม่วงสามสิบจังหวัดอุบลราชธานี เล่าถึง สถานการณ์ขั้นตอน วิธีการ กระบวนการในดำเนินงาน และผลการพัฒนาแผนงาน และโครงการตั้งแต่ปี 2566 ถึงสถานะปัจจุบัน

ช่วงที่ 2 แลกเปลี่ยนการดำเนินงานกองทุนตำบล ปี 2566 และ ปี 2567 (32 ตำบล 5 อำเภอ) โดยวิทยากร นายวินัย วงศ์อาสา พี่เลี้ยงระดับเขต/จังหวัด ผ่านการบอกเล่า ซึ่งมีโจทย์/ประเด็นร่วม 5 ข้อหลักๆ ดังนี้
1) ผลการพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ปี 2566 และปี 2567 2) แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุน ในปี 2566 และปี 2567 3) ประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ 4) การเรียนรู้ การจัดทำแผน และการพัฒนาโครงการ 5) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการนำเสนอบอกเล่าการดำเนินงานกองทุนตำบล ปี 2566 และ ปี 2567 ทั้ง 32 ตำบล 5 อำเภอ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะพร้อมแนวทางร่วมกัน ซึ่งวิทยากรให้ผู้เข้ากลุ่มย่อยตามตำบล เพื่อทบทวนข้อมูลร่วมกันก่อนนำเสนอ โดยตัวแทนมีเวลาในการนำเสนอตำบลละ 5 นาที
ช่วงที่ 3 การแลกเปลี่ยนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะพร้อมแนวทาง
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยแจกโจทย์ให้ผู้เข้าร่วม แลกเปลี่ยนผ่านโจทย์คำถาม 10 ข้อ ให้ลงคะแนน 1-5 (น้อยที่สุด-มากที่สุด) เป็นการประเมินรายบุคคล
หลังจากนั้น นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ พี่เลี้ยงระดับเขต/จังหวัด กล่าวปิดประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เกิดพื้นที่พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอ 32 ตำบล 5 อำเภอ • ทีมพี่เลี้ยงระดับตำบลและอำเภอ ได้รับการสนับสนุน ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์