สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ14 พฤษภาคม 2567
14
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • kl06.png
  • kl05.png
  • kl04.png
  • kl03.png
  • kl02.png
  • kl01.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม/ประชุม: การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนแผนการพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผลในระบบเว็บไซต์” วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม: เพื่อสรุปผลการดำเนินงานจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนตำบล ปี 2566 และเพื่อวางแผนการจัดทำแผน และโครงการของกองทุนตำบล ปี 2567 กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้อที่: ข้อที่ 2
และตัวชี้วัดผลงานของโครงการข้อที่: ข้อที่ 4

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ประชุม จำนวน 50 คน ประกอบด้วย
1) พี่เลี้ยงกองทุนตำบล อำเภอกันทรลักษ์ 2) วิทยากร 3) คณะทำงาน

รายละเอียดการจัดกิจกรรม - เวลา 08.30 - 09.00 น. กล่าวต้อนรับพร้อมรายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการและการนำประเด็นไปสู่แผนของพชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) โดย นายธีรศักดิ์  แย้มศรี  สาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์ - เวลา 09.00 - 09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการในการประชุม โดย นางสาวจงกลนี  ศิริรัตน์  คณะทำงานรับผิดชอบโครงการพื้นที่เขต 10 - เวลา 09.30 - 10.30 น. กระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 7 ตำบล ๆ ละ 6 นาทีตัวแทนคณะทำงานพี่เลี้ยงกองทุนตำบลโนนสำราญ/ ต.สวนกล้วย/ต.ตระกาจ/ ทต.น้ำอ้อม/ต.ขนุน/ต.รุง/ต.กุดเสลา โดยมีประเด็นในการชวนแลกเปลี่ยน คือ 1. ผลการพัฒนาแผน และการเขียนโครงการ ปี 2566 2. แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากกองทุน ในปี 2566 3. ประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ 4. การเรียนรู้ การจัดทำแผน และการพัฒนาโครงการ และ5. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ - เวลา10.30 - 11.30 น. ทบทวนและนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการพัฒนาโครงการและแผนงานติดตามและสรุปผลการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ โดย อาจารย์อภิรดี  ดอนอ่อนเบ้า  มหาวิทยาลัยกาฬสินธิ์ และนายรพินทร์ ยืนยาว พี่เลี้ยงระดับเขต - เวลา11.30 -12.00 น. ร่วมแลกเปลี่ยน/ข้อเสนอแนะการพัฒนาโครงการและแผนงาน โดย คุณจินดาวรรณ  รามทอง คณะทำงานโครงการ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลาฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบล และกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ฯ
        โดย นายธีรศักดิ์  แย้มศรี สาธารณสุขอำเภอกันทรลักษ์ ได้รายงานผลการพัฒนาแผนงานและการพัฒนาโครงการ จากการนำประเด็นไปสู่แผนของ พชอ.กองทุนตำบลปี 2566 (ภาพรวมของอำเภอ) ในที่ประชุมรับทราบ และเสนอแนะร่วมกัน คือ แผนงานกองทุน ปี 2566 ที่ได้ดำเนินการ มีทั้งหมด 7 แห่ง เขียนแผนลงในโปรแกรมเว็บไซต์ ทั้งสิ้น 84 แผน มีโครงการที่เสนอ 47 โครงการ และได้มีการติดตาม 35 โครงการ จำนวนงบประมาณ 1,126,363 บาท โดยแผนงานที่ได้มีการดำเนินงานมากที่สุด คือ แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด ซึ่งได้ดำเนินการไปทั้งสิ้น 9 แผน รองลงมาคือแผนงานกิจกรรมทางการที่ได้มีการดำเนินงานไปทั้งหมด 7 แผนงาน และแผนงานอื่นๆ ตามลำดับ ส่วนแผนงานที่ยังมีการดำเนินการที่น้อยอยู่นั้นก็คือ แผนงานยาสูบ กับสุรา ขณะนี้ในการดำเนินงานในพื้นที่เองที่ได้รับการขอความร่วมมือมาก็ยังไม่ได้ดำเนินงาน เช่น สุขศาลา Health Station และพัฒนาการเด็ก ที่หลายพื้นที่ยังไม่ได้ดำเนินการ และอีกหลาย ๆ เรื่อง อยากจะขอความร่วมมือ พื้นที่ตำบลอื่น ๆ ช่วยเพิ่มเติมแผนงานเหล่านี้เข้าไปด้วย แล้วปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาที่เราค้นพบคือ เรื่องการปัญหาการใช้งานระบบ โปรแกรมเว็บไซต์ยังค่อนข้างเป็นปัญหากับพื้นที่เนื่องจาก ระบบค่อนข้างมีความซับซ้อน และยังใหม่กับพื้นที่ แต่ก็ได้มีการพัฒนา จากพี่เลี้ยงระดับเขต และทางคณะทำงานของโครงการที่มาพัฒนาให้ อีก 1 เรื่อง คือ ปัญหาจากการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ อาจจะต้องมาดูและวิเคราะห์กันอีกครั้ง ในส่วนของผลงานเด่น ของอำเภอกันทรลักษ์ ก็จะเป็นเรื่องของผู้สูงอายุไร้รอยต่อ ก็จะมีการรายงานในที่ประชุมท้องถิ่นต่อไป

• จากกระบวนการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดีและแผนที่ดีของกองทุน 7 ตำบล ได้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของโครงการ ในข้อ 4 คือ พี่เลี้ยงมีทักษะในการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ ของกองทุนฯ
        โดย จากกระบวนการแลกเปลี่ยน พี่เลี้ยงกองทุนตำบลทั้ง 7 ตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ พี่เลี้ยงได้ทบทวนการพัฒนาแผนงาน ในปี 2566 และการพัฒนาโครงการรวมถึงการร่วมกันประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชนในระดับพื้นที่ การทบทวนการเรียนรู้การใช้งานระบบเว็บไซต์ และปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ วิทยากรได้ช่วยพื้นที่พัฒนาแผนงาน ปี 2567 ในระบบเว็บไซต์ ดังนี้

  • ตำบลโนนสำราญ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติดำเนินการ 3 โครงการ โดยเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงสุขภาวะของประชาชน คือ ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดการก่อให้เกิดขยะ เกิดการจัดการขยะในครัวเรือน ลดการเผา และ เกิดการควบคุมดูแลตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก จาการดำเนินงานได้เรียนรู้การใช้งานข้อมูลสถานการณ์สุขภาพมาออกแบบ กิจกรรม และตัวชี้วัด ยังคงพบปัญหาอุปสรรคอยู่ คือ ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณได้ทุกแผนงาน และภาระงานซ้ำซ้อนจาการใช้งานระบบเว็บไซต์ในโครงการ กับระบบเว็บไซต์ในกองทุนของ สปสช. ส่วนในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงานสุขภาพ 10 แผนงาน
  • ต.สวนกล้วย ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน แต่ได้รับการอนุมัติ 1 แผนงานโครงการ คือ แผนงานความปลอดภัยทางถนน พื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบ และมีการเปลี่ยนแปลงพี่เลี้ยงบ่อยครั้ง ทำให้การทำเนินงานไม่ต่อเนื่อง แต่สำหรับในปี 2567 ได้มีการพัฒนาแผนงาน จำนวน 10 แผนงาน
  • ต.ตระกาจ ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 5 แผนงาน โดยสอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น คือ แผนงาน การจัดการระบบอาหาร มลพิษทางอากาศ การจัดการขยะ และปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ ได้รับการอนุมัติ 2 โครงการ คือ แผนงานการจัดการขยะ และแผนงานผู้สูงอายุ จากการพัฒนาโครงการ ในการจัดการขยะ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม 12 หมู่บ้าน ในการจัดการ ขยะในหมู่บ้านตนเอง ลดการใช้ขยะ สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น ในส่วนแผนงานของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุ สามารถดูแลตัวเองได้เบื้องต้น และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจากการที่ได้เข้ามาร่วมในกิจกรรม จากการดำเนินงานพัฒนาแผนในปี 2566 กองทุนมีความเข้าใจมากขึ้นในการนำข้อมูลสุขภาพมาวิเคราะห์และใช้ในการพัฒนาแผนงานในระบบเว็บไซต์ ในปี 2567 มีการพัฒนาแผนทั้งสิ้น 8 แผนงาน
  • ทต.น้ำอ้อม ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 10 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น พัฒนาโครงการไปทั้งสิ้น 3 โครงการ ใน 3 แผนงาน คือ แผนงานยาเสพติด การป้องกันโรคระบาด และการจัดการขยะ ปัญหาที่พบ คือ คณะทำงานพี่เลี้ยงเปลี่ยนใหม่ ทำให้ยังขาดข้อมูลอื่น มานำเสนอแลกเปลี่ยน เบื้องต้นของ ปี 2566 ส่วนในปี 2567 ได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นจากวิทยากร และได้พัฒนาแผนงานทั้งสิ้น 8 แผนงาน จากการนำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพมาพัฒนาแผน
  • ต.ขนุน ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 9 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น โดยแผนงานในปี 2566 นำเข้าเสนอกองทุนไม่ทัน โดยจะนำเข้าเสนอกองทุนในปี 2567 ปัจจุบันได้นำแผนงานขยะไปจัดทำข้อบัญญัติรายจ่าย อบต.ขนุน 60,000 บาท และแผนงานสุขภาพอุบัติใหม่ 100,000 บาท สถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ตอนนี้จากการขับเคลื่อนงานของ อบต. ในประเด็นการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนมีความตระหนัก และดูแลสภาพแวดล้อมตัวเองมากขึ้น เกิดการรณรงค์ โดยการประกวดหมู่บ้านปลอดยุงลาย ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กองทุนมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย กลุ่มประชาชนที่เสนอโครงการเข้ามาไม่สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ อาจจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพกลุ่มประชาชนที่เสนอโครงการในกองทุนเพิ่มเติม สำหรับในปี 2567 นี้ ยังไม่ได้มีการพัฒนาแผนงานโครงการ อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพในพื้นที่
  • ต.รุง ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 11 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น กำลังพัฒนาอยู่ 2 โครงการ ยังไม่ได้รับการอนุมัติในระบบ ได้เรียนรู้การพัฒนาโครงการในระบบ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ในปี 2567 วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำ และพัฒนาแผนงาน ได้ 10 แผนงาน
  • ต.กุดเสลา ในปี 2566 ได้มีการพัฒนาแผนงานไปทั้งสิ้น 15 แผนงาน โดยมีแผนงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้รับการอนุมัติ 10 แผน อนุมัติโครงการในระบบ 22 โครงการ จากการดำเนินงานโครงการประชาชนมีความตระหนักในเรื่องสุขภาพ และไม่มีความประมาทในการดำรงชีวิตประจำวัน คณะทำงานกองทุนตำบลได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ปัญหาที่พบคือ บุคลากรมีน้อย แบ่งงานตามความสามารถค่อนข้างยาก