สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

ประชุมร่วมคณะทำงานเขตและคณะทำงานอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 410 พฤศจิกายน 2566
10
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • สรุปกิจกรรม 101166.pdf
  • 4.png
  • 3.png
  • 2.png
  • 1.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
เพื่อจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ : ข้อที่  1 และข้อที่ 2 และตัวชี้วัดผลงานของโครงการ : ข้อที่ 4

• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมโดย น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10)

• สรุปผลการจัดทำแผนงานและโครงการในระบบ และร่วมแลกเปลี่ยน โดย นายวินัย วงศ์อาสา และคณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10         อ้างถึง การขับเคลื่อนที่ผ่านมาภายใต้กองทุนสุขภาพตำบล โดยโครงการฯ มีแผนงาน ขั้นตอนและกระบวนการที่ดำเนินการมาแล้วคือ การประชุมร่วมคณะทำงานระดับเขตและคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อวางแผน/เตรียมการจัดกิจกรรม ติดตามความก้าวหน้า และสรุปผลการดำเนินงาน, เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะ 8 ประเด็น คือ 1. การจัดการระบบอาหาร 2. การเพิ่มกิจกรรมทางกาย 3. การจัดการปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ สารเสพติด 4. การจัดการปัญหาความปลอดภัยทางถนน        5. สุขภาพจิต 6. มลพิษทางอากาศ 7. การจัดการขยะ 8. การป้องกันโรคอุบัติใหม่ โดยได้มีการอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นการขับเคลื่อนข้อที่ 2 ที่ได้มีการประชุมกับส่วนกลางกับกิจกรรมที่กำลังผลักดัน คือ การเพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือ กิจกรรม PA (Physical Activities) ความหมายของ PA ในโครงการ ไม่ใช่แค่การออกกำลังกาย การเต้นแอโรบิคเท่านั้น แต่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายทุกมิติ ทั้งการทำงาน การนันทนาการ ฯลฯ         โจทย์ความท้าทาย ในการขับเคลื่อนงานกองทุนตำบล คือ เราจะตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะคนไทยได้อย่างไร ทางกองทุนร่วมกับภาควิชาการกำหนดตัวชี้วัดประเด็นครอบคลุมใน 8 มิติ ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาระบบโปรแกรมการติดตามโครงการกองทุนขึ้นมาใช้ควบคู่กับ โปรแกรมของ สปสช. เป็นการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ สรุปงานส่ง เพื่อแก้ไขปัญหา สุขภาวะในชุมชน โดยมีตัวชี้วัดของกองทุน คือ จะต้องได้ 320 แผน (โครงการ) (โดยนับปี 66 - 67 ได้)  อยากให้ช่วยกันผลักดันให้พื้นที่ที่ร่วมกับกองทุน เข้ามาใช้โประแกรมคู่ขนาน เพื่อเป็นการติดตามได้ และเป็นการเก็บข้อมูลการรายงานผลสำเร็จของโครงการ
        ปัญหาอุปสรรคที่พบในการจัดทำข้อมูล แผนในระบบ (Excal) กับแผนในกองทุน (เว็บไซต์) ไม่ตรงกัน ทำให้ไม่สามารถนำแผนในระบบมาใช้กับกองทุนได้ คณะทำงานยังไม่เข้าใจระบบ เนื่องจากยังมีความซับซ้อน จึงได้มีการ Work Shop การใช้งานในระบบโปรแกรมคู่ขนาน ในการใช้ติดตามรายงานผลของโครงการ ขอความช่วยเหลือจากทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบลให้ช่วยเข้าไปดู และดำเนินการทำรายงานติดตามโครงการ โครงการไหนยังไม่กดติดตามให้ช่วยเข้าไปกดติดตามในเมนู เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการขับเคลื่อนงานกองทุน
        จากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนกันในการกำหนดตัวชี้วัดในโครงการ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา และความเป็นไปได้ของการดำเนินงาน เช่น ระยะเวลา งบประมาณ และทุนที่มีอยู่ • ร่วมวางแผนและออกแบบกำหนดการเวที และการทำแผนโครงการ         การเตรียมความพร้อม ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ครั้งที่ 3 ได้รายงานความก้าวหน้าของแต่ละตำบล เพื่อรวบรวมผลการติดตาเป็นข้อมูลในเวทีเพื่อแลกเปลี่ยน รวมทั้งได้ช่วยกันเติมเต็ม แนวทางการขับเคลื่อนงานที่ยังไม่สำเร็จ • ร่วมแลกเปลี่ยนพร้อมสรุปผลและมอบหมายงาน         กำหนดการ สถานที่ประชุม และ การกำหนดการเตรียมความพร้อมข้อมูลในการนำเสนอ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : ผู้เข้าร่วมจำนวน 18 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด • ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : คณะทำงานทีมพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ได้รับทราบความก้าวหน้าของโครงการ ได้เกิดการเรียนรู้การกำหนดตัวชี้วัดที่มีความสอดคล้องกับกับสถานการณ์ปัญหา และความเป็นไปได้ของการดำเนินงาน เช่น ระยะเวลา งบประมาณ และทุนที่มีอยู่ เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมติดตามงานโครงการตามแผนงานของกองทุน • ได้กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ : ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนตำบล ครั้งที่ 3เพื่อติดตามแผนงานโครงการ ทั้ง 8 ประเด็นของปี2566และ2567 ในวันที่30 พฤศจิกายน2566 เวลา 08.00 - 16.30 น. ห้องประชุมอเนกประสงค์ โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนรีสอร์ท อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี (พี่เลี้ยงกองทุนละ 5 คน)