โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10
- ชี้แจงรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
- แลกเปลี่ยนให้ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566
- พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
- วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ
- ชี้แจงรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์
- สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข
- พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ นิยามคำว่าสุขภาพ ประกอบด้วย โรคทางกาย (สุขภาพกาย+สุขภาพจิต) โรคทางจิตวิญญาณ (สุขภาพทางสังคม+สุขภาพทางจิตวิญญาณ/ปัญญา)
- ปัญหาสุขภาพในชุมชน
1. ปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต)
2. โรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย)
- ตัวอย่างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ระดับความรุนแรงของสารเสพติดที่สร้างอันตรายและเสียหายต่อคน พบว่า เหล้ามีคะแนนความรุนแรงสูงที่สุด มากกว่ายาเสพติด
- แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ
1) กรรมการกองทุนมีความรู้
2) กองทุนมีแผน (มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ชัดเจน)
3) มีโครงการที่มีคุณภาพ
- แลกเปลี่ยนให้ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566 ผู้แทนจากสำนักงาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10
- การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของ สปสช.เขต ให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัด 2 กลุ่ม
- รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ยังได้รับงบประมาณสมทบจาก สปสช.เหมือนเดิม
- โครงการ สสส.จะเข้ามาหนุนเสริมพัฒนางานกองทุน ให้เกิดโครงการที่มีคุณภาพและพัฒนานวัตกรรมของงานกองทุนได้มากขึ้น
- ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนฯที่ปรับใหม่
1) ต้องมีการขออนุมัติแผนการใช้จ่ายงบกองทุน เมื่อ สปสช.อนุมัติแผนแล้วจึงจะโอนงบสมทบ
2) แผนกองทุน ต้องเอาปัญหาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยต้องมีความเชื่อมโยงกับปัญหาของชุมชน
(ใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการ รพ.สต. และใช้กระบวนการประชาคม นำข้อมูลปัญหาสุขภาพ มาเรียงลำดับความสำคัญ) เพื่อมุ่งให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนได้จริง
3) ไม่ให้มีเงินค้างเกิน 2 เท่า
4) เพิ่มหมวดที่ 6 ให้จัดสรรงบในการซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้ (ผู้ป่วยเฉพาะราย)
5) หลังเดือนมีนาคมของทุกปี กองทุนสามารถของบสมทบจาก สปสช.เพิ่มได้ โดยกองทุนต้องสมทบเพิ่ม 100%
วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ
- แนวทางการสำรวจข้อมูล
1) คัดเลือกทีมพี่เลี้ยงหลัก จาก 2 ส่วน ได้แก่ อปท.+รพ.สต. (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน) 2) คัดเลือกทีมเก็บข้อมูล (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน) 3) กำหนดเก็บข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ก.พ.2566
4) นัดหมายกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์และสร้างแผนงาน วันที่ 14 ก.พ.2566พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
- พื้นที่เป้าหมาย 7 กองทุน ได้แก่
1. กองทุนฯ อบต.สงเปือย
2. กองทุนฯ อบต.เหล่าไฮ
3. กองทุนฯ อบต.นาคำ
4. กองทุนฯ อบต.กู่จาน
5. กองทุนฯ อบต.โพนทัน
6. กองทุนฯ ทต.ดงแคนใหญ่
7. กองทุน อบต.ทุ่งมน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- นายอำเภอ-การพัฒนาคุณภาพชีวิตต้องเน้นพัฒนาคนก่อน คนคือปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมกันพัฒนาสติปัญญาของคน
- เอกสารประกอบการประชุม ประเด็นขอความร่วมมือจากพื้นที่ คำว่าท้องทุ่ง (ไม่อยากให้นำ รพ.สต.ไปรวมด้วย)
- การประสานงานต้องให้ความสำคัญกับทั้งฝั่ง อปท.และฝั่งสาธารณสุขต้องทำควบคู่กัน
- เป้าหมายในการจัดทำแผนระดับอำเภอ มีความสำคัญ โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลปัญหาของพื้นที่ (ในทางปฏิบัติอาจมีทั้งประเด็นที่สอดคล้องกันและบางประเด็นที่อาจแตกต่างจากประเด็นเป้าหมาย สสส.ด้วยเช่นกัน)
- มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น อาทิเช่น ได้พัฒนาศักยภาพคนทำงาน(บุคลากร อปท.) และได้ระบบข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาแผนแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างตรงจุดมากขึ้น