โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 8
วัตถุประสงค์ เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจร่วมกัน วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ การใชเ้ครื่องมือแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 5 ตำบล (5 กองทุน) ใน 10 ประเด็น รวมถึงขั้นตอน กระบวนการทำงานทั้งในระบบออนไลน์และออนไซท์ การออกแบบการเก็บข้อมูลระดับตำบล 5 ตำบล (5 กองทุน) การแนะนำทีมงานพี่เลี้ยง ระดับอำเภอเมืองสกลนคร การแนะนำทีมงานผู้ปฎิบัติงานระดับพื้นที่ตำบล 5 ตำบล (ครั้งที่ 2) กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้อท่ี 1 เพื่อบูรณาการกลไกระบบสุขภาพระดับตำบลและกลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาล ชุมชน สาธารณสุขอำเภอ หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
สถานที่จัดกิจกรรม/ประชุมณ ห้องประชุมสุขเกษม ชั้น 5 อาคารสำนักงานเทศบาลนครสกลนคร
ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรม/ประชุม • ทีมงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดสกลนครระดับเขต 8 / ระดับอำเภอ
• ทีมงานระดับตำบล ได้แก่ แอดมินและผู้ช่วยแอดมินคีย์ข้อมูล เจ้าหน้าที่ประจำกองทุนตำบลและผู้แทนประชาชนในจำบล
จาก 5 พื้นที่เป้าหมายเขตอำเภแเมืองสกลนคร จ.สกลนครคือ
1.เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลนครสกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม
2. เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลตำบลท่าแร่ ต.ท่าแร่
3. เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลตำบลธาตุนาเวง
4. เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลตำบลงิ้วด่อน
5. เขตพื้นที่ปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
รวมจำนวน 34 คน
รายละเอียดการจัดกิจกรรม 1. คณะทำงานระดับอำเภอจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประชุมชีแ้จงเป้าหมาย ขั้นตอนการดำเนินโครงการ และออกแบบการเก็บข้อมูลระดับตำบล ตำบลเป้าหมาย การประชุมประกอบด้วยการบรรยาย พูดคุยซักถาม และฟังข้อเสนอแนะ แนวทางการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามทั้ง 10 ประเด็น (ด้านอาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุทางถนน สุขภาพจิต ขยะ สิ่งแวดล้อม) โดย ผศ.ดร.
พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชีแ้จง ความเป็นมา วัตถุประสงค์ โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ
2. ทีมงานระดับพืน้ที่ตำบลทั้ง 5 ตำบล/กองทุน นำเสนอผลการเก็บข้อมูลในเบื้องต้น แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจแบบสอบถามและวางแผนในการเก็บข้อมูลในพืน้ที่ต่อไป
1,ทีมงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดสกลนครระดับเขต / ระดับอำเภอ และทีมงานระดับตำบล ให้ความร่วมมือใน การเข้าร่วมกิจกรรมการจัดประชุมผูเ้ข้าร่วมการประชุมมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินโครงการฯ สามารถ เก็บข้อมูลตามแบบสำรวจและสามารถนำแบบสอบถามไปใช้ได้อย่างถูกต้องในระดับรายบุคคล จำนวนตำบลละ 200+ คน รายครัวเรือน จำนวนตำบลละ 100+ ครัวเรือน และรายกองทุน จำนวนตำบลละ 1 กองทุน
2. ทีมพีเีลี้ยงฯ ติดตามเยี่ยมให้คำแนะนำและเสริมพลังในการลงพ้ืนที่ของทีมงานระดับพืน้ที่แต่ละตำบล คาด ว่าการเก็บข้อมูลและการนำเข้าข้อมูลในระบบออนไลน์จะแล้วเสร็จตามกำหนดภายในเดือน กุมภาพันธ์ 2566 3. ทีมพี่เลี้ยงฯ บริหารจัดการแบบสอบถาม โดยการปริ้นเอกสารใหก้ับทีมตำบลเพื่อลงไปเก็บข้อมูล แทนการ ใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว มชในการสอบถามและเก็บข้อมูล โดยหลังจากเก็บข้อมูลแล้ว ทีมงาน ตำบลจึงนำข้อมูลจากเอกสารที่ปริ้นเอ้าท์ มากรอกข้อมูลในระบบออนไลน์ต่อไป
4. ปัญหา อุปสรรค มีเพียงเล็กน้อย เช่น การคีย์ข้อมูลบางแผนงานที่ไปเกี่ยวข้องกับอายุของกลุ่มตัวอย่าง ที่ จะไม่มีขอ้มูลเนื่องจากอายุของกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงเกณฑ์บางแผนงาน
5. ทีมงานพี่เลีย้งฯ ขอใหท้ีมงานตำบลเก็บข้อมูลในเชงิคุณภาพที่พบเห็ยระหว่างการลงพืน้ที่เก็บข้อมูล เช่น พบ เห็นการเผาตอซังข้าว พบเห็นการใช้สารเคมีฉีดพ่นพืชผัก รวมถึงการจดบ้านเลขที่ที่ไปสอบถามข้อมูล เผ่อือาจเป็น ประโยชน์ต่อการทำวิจัยต่อยอดเชิงลึกต่อไปในอนาคต