สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล

จัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างผลการศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติม13 มีนาคม 2562
13
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย areeandaman
circle
วัตถุประสงค์

ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาให้ผุ้เกี่ยวข้องร่วมกันในข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่างรายงานผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก
ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก สามารถสรุปข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามและข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์ ตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงธรณีวิทยา โดยมีแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วย สถานที่บ่อเจ็ดลูก อ่าวโต๊ะบะ และเกาะเขาใหญ่ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแกนนำชุมชนด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก รวมถึงนักท่องเที่ยว สามารถสรุปผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกได้ว่าการดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพมิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ โดยผลกระทบเชิงบวกด้านสังคม มากที่สุด รองลงมาคือผลกระทบด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชน และสามารถสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนมีความมั่นคง ซึ่งสามารถสรุปผลกระทบในมิติทางสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และมิติเศรษฐกิจพื้นฐาน โดยแยกผลกระทบที่มีต่อชาวบ้านในชุมชน เยาวชนในชุมชน และหน่วยงานภาคและเอกชน รวมถึงนักท่องเที่ยว ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ ตาราง 4 ผลกระทบที่มีต่อชาวบ้านในชุมชน เยาวชนในชุมชน และหน่วยงานภาคและเอกชน รวมถึงนักท่องเที่ยว มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงลบ แนวทางการกำหนดยุทศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติทางด้านสังคม 1. ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ 2. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐาน อัตลักษณ์ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่ง ธรณีวิทยาและวัฒนธรรมภายใต้ประวัติศาสตร์บ่อเจ็ดลูก
3. ชาวบ้านในชุมชนมีการปรับตัวเรียนรู้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
4. ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจในชุมชนตนเอง
5. สามารถสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านและเยาวชน 6. ชาวบ้านและเยาวชนเกิดความรักและหวงแหนชุมชนมากยิ่งขึ้น ชาวบ้านเดินทางออกไปทำงานนอกบ้านน้อยลง
7. กิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างความเข้าใจเรื่องธรณีวิทยาให้นักท่องเที่ยว 8. สร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับชุมชน
9. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ส่งผลให้ยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลง 10. เสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้เยาวชนในชุมชน 11. เปิดโอกาสให้กับคนชราและคนพิการประกอบอาชีพ 1. การท่องเที่ยวทำให้คนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก 2. การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวหลังจากการได้รับการรับรองอุทยานธรณีโลกและแหล่งท่องเที่ยวในชุมนได้รับความนิยมกลับทำให้ความเข็มแข็งของชุมชนลดลง 3. ชาวบ้านในพื้นที่ยกฐานนะตนเองเป็นผู้ประกอบการการนำเที่ยวในชุมชนจนละเลยการทำตามกฎ ระเบียบการท่องเที่ยวของกลุ่มชุมชน มุ่งหวังผลกำไรจากการท่องเที่ยวมากกว่าการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอดีต 4. เยาวชนเกิดความเข้าใจและให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในมิติเศรษฐกิจมากกว่ามิติทางด้านสังคมเนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 5. นักท่องเที่ยวไม่สามารถสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตที่แท้จริงของชุมชน 1. การสร้างการรับรู้สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนมีผลต่อระบบสังคมของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก 2. ความต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ไม่เท่าเทียมกันมีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก 3. ความคิดต่างในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ชุมชนเกิดความขัดแย้งในชุมชน 4. การสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันส่งผลให้การดำเนินงานง่ายขึ้น มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม 1. ทรัพยากรที่เป็นสัตว์ทะเลมีจำนวนมากขึ้น
2. ป่าชายเลนก็ยังมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
3. เป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง 4. เครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม 5. โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน 6. เยาวชนเข้าใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 1. ขยะเพิ่มมากขึ้น
2. ชาวบ้านในชุมชนมีความเป็นส่วนตัวลดน้อยลง 3. มลพิษทางเสียงมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล 4. ทรัพยากรน้ำจืดขาดแคลน 1. การสร้างการรับรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีผลต่อการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง 2. การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชนได้ 3. กฎระเบียบที่ชัดเจนภายใต้บริบทที่เหมาะสมกับชุมชนส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาขยะ และภาวะมลพิษ ที่เกิดขึ้นในชุมชนจากการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้มีแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิติทางด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน 1. สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน 2. ชาวบ้านมีการปรับตัวเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชน
3. ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนดีขึ้น
4. เกิดการจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้นส่งผลลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน
5. ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วย
6. เยาวชนสามารถหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวเยาวชนตัดสินใจกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น 1. ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
2. ชาวบ้านบางส่วนมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไปโดยมีความฟุ่มเฟือยมากขึ้นเนื่องจากได้รับอิทธิพลการลอกเรียนแบบนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในชุมชน
3. การกระจายรายได้ยังไม่ทั่วทั้งชุมชนขึ้นอยู่กับการปรับตัวของคนในชุมชนและการเปิดรับสิ่งใหม่ในการประกอบอาชีพการให้บริการการท่องเที่ยวของคนในชุมชน 1. การเปิดรับการเรียนรู้แนวคิดใหม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. การปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจในชุมชนอย่างรู้เท่านั้นสามารถเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การดำเนินการท่องเที่ยวภายใต้การให้ความสำคัญมิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่ลงตัวจะส่งผลต่อความมั่นคงของตนเอง 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจการบริการในชุมชนกับผู้ประกอบการภายนอกภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี  
4. ทบทวนร่างรายงานการศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Review)
4.1 ผลตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงบวกเพิ่มเติม ผลกระทบเชิงลบ ผลกระทบเชิงลบเพิ่มเติม แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติ ทางด้านสังคม 1. ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ 2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเล และทรัพยากรทางธรณีวิทยา 3. ชาวบ้านในชุมชนมีการปรับตัวเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านการอบรม การศึกษาดูงาน 4. การท่องเที่ยวสร้างภาพลักษณ์เชิงบกให้กับชุมชนส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจในชุมชนตนเอง
5. การท่องเที่ยวสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวบ้านและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น
6. ชาวบ้านและเยาวชนในชุมชนเกิดความรักและหวงแหนชุมชนมากยิ่งขึ้น ทำให้คนในชุมชนไม่ออกไปทำงานนอกพื้นที่
7. กิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ของชุมชนและความรู้ด้านธรณีวิทยาให้กับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวมากขึ้น
8. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นส่งผลให้หันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดน้อยลง 9. โรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูกได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องของจังหวัดสตูลในการจัดทำหลักสูตรภูมิสังคมเพื่อสอนให้เด็กในโรงเรียนรู้จักประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนซึ่งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้เยาวชนในชุมชน 10. การท่องเที่ยวเปิดโอกาสให้กับคนชราและคนพิการได้มีอาชีพและรายได้เสริม 1. ความรู้การท่องเที่ยวได้จากการอบรมควบคู่การศึกษาดูงาน มากกว่าการอบรมแบบการบรรยายเพียงอย่างเดียว 2. การท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถเปลี่ยนจากอาชีพเสริมเป็นอาชีพหลัก 3. เยาวชนได้รับการเรียนหลักสูตรภูมิสังคมในระดับชั้นประถมศึกษา ภายใต้โครงการนำร่องนวัตกรรมการศึกษา โดยมีโรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลุกร่วมดำเนินการ 1. การท่องเที่ยวทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก เช่น กลุ่มชาวบ้านที่ทำงานให้บริการนักท่องเที่ยวจะมีเวลาให้กับครอบครัวน้อยลง เยาวชนในชุมชนแต่งกายเลียนแบบนักท่องเที่ยวมากขึ้นเช่นการนุ่งกางเกงขาสั้น การกินอาหารนอกบ้าน และการกินอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น
2. ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทำให้ชาวบ้านบางคนมีความขัดแย้งกันแต่ไม่รุนแรง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการไม่พูดคุยทำความเข้าใจกันหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของกลุ่ม
3. ชาวบ้านในพื้นที่ยกฐานนะตนเองเป็นผู้ประกอบการการนำเที่ยวในชุมชนจนละเลยการทำตามกฎ ระเบียบการท่องเที่ยวของกลุ่มชุมชน มุ่งหวังผลกำไรจากการท่องเที่ยวมากกว่าการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอดีต 4. เยาวชนเกิดการเลียนแบบและเกิดค่านิยมในการใช้ชีวิตคล้อยตามนักท่องเที่ยว เช่น การใช้มือถือรุ่นใหม่ ๆ การแต่งกาย การกินอาหาร การพูดจา การให้ความสำคัญในมิติเศรษฐกิจมากกว่ามิติทางด้านสังคมเนื่องจากได้รับรู้กระแสสังคมจากภายนอกมากขึ้น
5. การปฏิบัติตนของนักท่องเที่ยวกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีของมุสลิม เช่น การแต่งกาย การนำเครื่องดื่มที่เป็นของมึนเมาเข้ามาในชุมชน  1. ความสัมพันธ์ของครอบครัวลดน้อยลง เช่นการกินข้าวนอกบ้าน 2. นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ความเข้มแข็งลดน้อยลง 3. การแต่งการนักท่องเที่ยวผิดหลักศาสนา 4. ร้านขายของชำในชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธขายเครื่องดื่มมึนเมา 1. การรับรู้และเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นด้านการท่องเที่ยวในชุมชนมีผลต่อระบบสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชน 2. การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเรียนรู้ และสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนบ่อเจ็ดลูก 3. ความคิดต่างในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้ชุมชนเกิดความขัดแย้งในชุมชน 4. การสร้างความเข้าใจด้านค่านิยมและวัฒนธรรมจากภายนอกให้คนในชุมชนจะช่วยให้คนในชุมชนตั้งรับและไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของตน
5. ความเป็นเครือญาติและวัฒนธรรมวิถีมุสลิมทำให้การจัดการด้านการท่องเที่ยวเป็นไปได้ง่ายและมีความขัดแย้งน้อย 1. สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในระดับเดียวกัน 2. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 3. ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว
4. สร้างการเรียนรู้ภูมิสังคมให้แก่เยาวชนตั้งแต่ระดับการเรียนขึ้นพื้นฐานโดยการบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียนในพื้นที่   มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงบวกเพิ่มเติม ผลกระทบเชิงลบ ผลกระทบเชิงลบเพิ่มเติม แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม 1. กิจกรรมท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทำให้ทรัพยากรป่าชายเลนและสัตว์ทะเลมีจำนวนมากขึ้น
2. นักท่องเที่ยวและคนภายนอกให้เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งของชุมชน 3. การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิม 4. โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกได้รับการพัฒนาภายใต้ความสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน 5. คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชนจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 6. คนในชุมชนร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหาด้านการจัดการขยะ โดยร่วมกันธรรมนูญชุมชนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 1. ทรัพยากรชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปลาทราย และแมงกะพรุน 2. ชาวบ้านในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากข้น 3. หน่วยงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน 1. ขยะในชุมชนและในแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
2. ชาวบ้านในชุมชนมีความเป็นส่วนตัวลดน้อยลง 3. มลพิษทางเสียงจากเรือหางยาวนำเที่ยวมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล 4. ทรัพยากรน้ำจืดขาดแคลน 5. มีรถยนต์เข้ามาในชุมชนเพิ่มมากขึ้นสร้างเสียงรบกวนและอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 6. มีการปล่อยน้ำเสียจากการแปรรูปแมงกะพรุนลงทะเลในเขตชุมชนทำให้มีกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านและนักท่องเที่ยว
7. มีรถเร่เข้ามาขายสินค้าและอาหารในชุมชนมากขึ้น ทำให้มีขยะตามข้างถนนและสถานที่สาธารณะมากขึ้น 1. ผู้ประกอบการและชาวบ้านนอกชุมชนรุกล้ำเข้ามาจับสัตว์น้ำในทะเล 2. แมงกะพรุนเพิ่มขึ้น 3. ชาวบ้านมีความเป็นส่วนตัวลดลง 4. น้ำจืดลดน้อยลง 1. การสร้างการรับรู้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีผลต่อการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง 2. การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชนได้ 3. กฎระเบียบที่ชัดเจนภายใต้บริบทที่เหมาะสมกับชุมชนส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาขยะ และภาวะมลพิษ ที่เกิดขึ้นในชุมชนจากการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้มีแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. บูรณาการการทำงานร่วมกันขององค์กรเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูวัฒนธรรม 2. ยกระดับการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนโดยการบริหารจัดการโดยชาวบ้านในชุมชน   มิติผลกระทบ ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงบวกเพิ่มเติม ผลกระทบเชิงลบ ผลกระทบเชิงลบเพิ่มเติม แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยุทธศาสตร์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน มิติทางด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน 1. สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน 2. ชาวบ้านมีการปรับตัวเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชน
3. ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนดีขึ้น
4. เกิดการจ้างงานในชุมชนเพิ่มมากขึ้นส่งผลลดอัตราการออกไปขายแรงงานนอกชุมชน
5. ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วย
6. เยาวชนสามารถหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวเยาวชนตัดสินใจกลับมาทำงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น 1. สร้างอาชีพใหม่ในชุมชน เช่น รับฝากรถ
2. ผลิตภัณฑ์มีการแปรรูเพื่อเป็นของฝากของที่ระลึก จากผลิตผลการเกษตร 1. ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
2. ชาวบ้านบางส่วนมีพฤติกรรมด้านการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไปโดยมีความฟุ่มเฟือยมากขึ้นเนื่องจากได้รับอิทธิพลการลอกเรียนแบบนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในชุมชน
3. การกระจายรายได้ยังไม่ทั่วทั้งชุมชนขึ้นอยู่กับการปรับตัวของคนในชุมชนและการเปิดรับสิ่งใหม่ในการประกอบอาชีพการให้บริการการท่องเที่ยวของคนในชุมชน 1. สินค้ามีราสูง โดยเฉพาะน้ำดื่ม 2. เกิดการแข่งขันทางธุรกิจกันในชุมชนส่งผลกระทบต่อระบบสังคม 3. ไม่มีการกระจายรายได้อย่างแท้จริง ยังกระจุกอยู่ในเครือญาติ 1. การเปิดรับการเรียนรู้แนวคิดใหม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนบทบาทในการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. การปรับตัวภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจในชุมชนอย่างรู้เท่านั้นสามารถเป็นผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การดำเนินการท่องเที่ยวภายใต้การให้ความสำคัญมิติสังคม มิติสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่ลงตัวจะส่งผลต่อความมั่นคงของตนเอง 4. การสร้างเครือข่ายส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจการบริการในชุมชนกับผู้ประกอบการภายนอกภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี 1. สร้างความรู้ด้าน SME 2. สร้างเครือข่ายด้านธุรกิจ 3. ส่งเสริมอาชีพ 4. ลดความเลื่อมล้ำในชุมชนโดยการกระจายรายได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 28 คน
ประกอบด้วย

แกนนำชุมชน
ชาวบ้านในชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ผู้นำชุมชน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูก ผอ.รพ.สต. อบต.ปากน้ำ ผู้ประกอบการในพื้นที่ ผู้นำศาสนา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-