งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ
- ทบทวนเป้าหมาย
- ปัญหาและความกังวล
- ข้อเสนอเเนะ
พี่เลี้ยง
- ต้องมีศักยภาพในการให้ความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลสถานการณ์เพื่อมาทำแผน มีความรู้เรื่องการทำแผน การพัฒนาโครงการ และการใช้เว็บไซต์
-มีเครือข่ายการทำงาน
- มีเวลาและสม่ำเสมอในการลงทำงานกับพื้นที่
ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง
- การโยกย้ายของผู้บริหาร เช่น สาธารณสุขอำเภอ มีผลต่อกลไกการทำงาน
- ความสัมพันธ์ส่วนตัวของผู้บริหารมีผลต่อการทำงาน เช่น สาธารณสุขอำเภอเป็นน้องของผู้ว่าฯ นายอำเภอเลยเกรงใจไม่กล้าสั่งสาธารณสุขอำเภอ
ผู้รับผิดชอบงานกองทุนที่เข้าร่วมโครงการ
- หากมีการเปลี่ยนคนรับผิดชอบ/ คนเดิมโยกย้าย ก็จะส่งผลต่อความต่อเนื่องในการทำงาน
เครื่องมือเก็บข้อมูลสถานการณ์
- แบบสอบถาม บางข้อเข้าใจยาก
• แผนงานขยะ ข้อ 1 เข้าใจว่าต่อครัวเรือน
• แผนงานยาสูบ ข้อ 4 เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายทั้งชุมชน
• แผนงานสิ่งเสพติด ข้อ 3 เข้าใจว่าค่าใช้จ่ายทั้งชุมชน
- แบบสอบถามสำหรับชุมชน (ข้อมูลมือ 2) ควรระบุแหล่งข้อมูลไว้ให้ด้วยว่าจะเอาจากแหล่งไหน
- คนเก็บแบบสอบถาม ไม่มีความรู้ในการเก็บ ต้องมีการ Training คนเก็บข้อมูลให้มีคุณภาพ พบ บางส่วนคนเก็บเป็นบุคคลากรของ อบต. บางส่วนเป็น อสม. บางส่วนให้ตอบเอง
- การกระจายของกลุ่มตัวอย่างแต่ละพื้นที่ แต่ละช่วงอายุ
เว็บไซต์กองทุน
- พื้นที่อยากให้ทีมกลางหารือกับ สปสช. เพื่อให้ใช้เครื่องมือ/ แฟตฟอร์ม (เว็บไซต์) แบบเดียว
- พบบางกองทุนยังใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ แม้จะไม่ได้รับการหนุนเสริมจาก สสส./ ม.อ. แล้วก็ตาม
กระบวนการดำเนินงาน
- ระยะห่างในการลงพื้นที่/ ตามงานของพี่เลี้ยงลงพื้นที่ค่อนข้างห่างประมาณ 1-2 เดือน เพราะฉะนั้นเวลาลงแต่ละครั้ง ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ทุกครั้ง
- ในการทำแผน ต้องมีกระบวนการวิเคราะห์ พี่เลี้ยงกับกองทุนต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งถ้าเราไม่มีกระบวนการแบบนี้ความเข้มแข็งมันก็ไม่มี เช่น เอาข้อมูลสถานการณ์จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ ว่าข้อมูลที่เก็บมาใช้ได้เลยมั้ย น่าเชื่อถือมั้ย ถ้าไม่จะปรับยังไง ปรับเป็นเท่ารัย จากสถานการณ์ปัญหา จะตั้งเป้าหมายในแต่ละปีเท่ารัย แล้วควรดำเนินโครงการอะไรกับใครเท่ารัยบ้างถึงจะทำให้ตัวชี้วัดนั้นบรรลุวัตถุประสงค์