สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

สรุปประชุมการดำเนินงาน พื้นที่สุขภาพเขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี30 พฤศจิกายน 2566
30
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • อุบล 17.jpg
  • อุบล 15.jpg
  • อุบล 14.jpg
  • อุบล11.jpg
  • อุบล 12.jpg
  • อุบล 13.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ปัญหา/อุปสรรค
  • ผลที่รับและการเรียนรู้
  • คุณค่าที่ได้จากการดำเนินงาน
  • ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ
  • แนวทางการพัฒนา
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

 พื้นที่ดำเนินงาน เขต 10 มี 32 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนศูนย์เรียนรู้ 22 กองทุน (3 อำเภอ) กองทุนขยายผล 10 กองทุน  การดำเนินงานโครงการฯ 1.ประชุมระดับเขต ประชุมร่วมกับนายอำเภอ เพื่อชี้แจงการทำงานและความร่วมมือ 2.วางแผนการดำเนินงานโครงการ 3.มีการบันทึกความร่วมมือร่วมกัน เกิดความร่วมมือระหว่างบุคลากรท้องถิ่น (ปลัด เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ) บุคลากรทางผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) และบุคลากรด้านสุขภาพ (รพสต. อสม.) 4.พัฒนาแผน 5.ทำแผน พชอ. 6.เวทีจัดทำข้อเสนอ  ปัญหาอุปสรรค - บางพื้นที่ข้อมูลสถานการณ์ที่เก็บมาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง - คณะทำงานระดับพื้นที่ทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง มีการโยกย้ายบ่อย ทำให้การพัฒนาศักยภาพไม่ต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจ - คณะทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน - เอกสารแบบฟอร์มในเว็บไซต์กองทุนตำบลยังไม่ตรงกับแบบฟอร์มของ สปสช. (สปสช.มีการปรับใหม่)  ตัวอย่างแผนและโครงการของกองทุน  กองทุนโนนสำราญ อ.กันทราลักษ์
โครงการขยะที่มีการบูรณาการกับบ้าน วัด โรงเรียน โดยการคัดแยกขยะ การนำขยะมาทำปุ๋ย ทำใน 8 หมู่บ้าน ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ รร. อบต. วัด วิธีการที่เหมะสมกับวิถีชีวิตและวิถีชุมชน การมีส่วนร่วมและการรับรู้ของคนในชุมชน อุปสรรค ประชาชนขาดจิตสำนึก/วินัย ทัศนคติ/แรงจูงใจของผู้บริหาร การบังคับใช้กฏหมาย งบประมาณท้องถิ่นมีจำกัด ที่ผ่านมาขาดการวางแผนเรื่องการจัดการขยะ  กองทุนกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว
โครงการลดอุบัติเหตุทางท้องถนน (เนื่องกู่จานมีโค้งเยอะมาก) ผลจากโครงการ 1. เด็กและผู้ปกครองเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่
2. ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนตามนโยบายของทางรัฐบาล
3. ประชาชนเกิดจิตสำนักในเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน  กองทุนสร้างถ่อ อ.เขื่องใน
- จัดทำแผน PM2.5 เนื่องจากพื้นที่มีการเผาฟางข้าว ช่วงเดือนพย.-เมย. ของแต่ละปี - อุบลเป็นพื้นที่เกษตร ทำนา จึงมีการเผา เพราะถ้าไม่เผาค่าไถจะคิดเพิ่ม ปัจจุบันจึงเริ่มมีการให้นำฟางไปอัดก้อนขาย ค่าอัด 13 บาท ขายได้ 35 บาท - มีการเก็บข้อมูล โดยทีม อสม.ที่ได้รับการฝึกอบรม - มีการนำข้อมูลสถานการณ์มาวิเคราะห์โดยทีมวิชาการจากอาจารย์ราชภัฏ หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
- มีการได้งบสนับสนุนจากแหล่งอื่น - มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการทบทวนข้อมูลสถานการณ์และจัดทำแผน ได้แก่ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน PM เช่น พพ. สำนักงานป่าไม้ อุตสาหกรรมจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
 กองทุนบก อ.โนนคูณ
โครงการกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ - คนเก็บข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ (อาจจะกรอกเองมั้ย) เลยมีการปรับข้อมูลเอง - โครงการมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีการสร้างไลน์กลุ่ม ติ๊กต็อกเผยแพร่กิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ ทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน (แม้โครงการจบ แต่กิจกรรมยังอยู่ต่อ) - คนเข้าร่วมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เข้าร่วมกิจกรรมตลอดส่ำเสมอ เป็นแรงจูงใจให้คนอื่นๆเข้าร่วมโครงการด้วย (ตั้งไว้ 33 คน เข้าร่วม 50 คน) และแต่ละคนจะเอาของกินที่มีที่บ้านมาแบ่งปันกัน เช่น ผัก ผลไม้ - รู้จักเชื่อมโยงแผนงานในระบบ  กองทุนเหล่าบก อ.ม่วงสามสิบ แผนงานผู้สูงอายุ - กิจกรรมโครงการเกิดการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น กิจกรรมการออกกำลัง นอกจากผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายแล้ว จะมีแม่ค้า หรือคนละแวกนั้นเข้าร่วมกิจกรรมด้วย
- ผู้สูงอายุในพื้นที่ติดสังคม - เป็นปีแรกที่ใช้ระบบกองทุน แต่ใช้ได้เต็มระบบ