สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

งานบริหารกลาง โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ

ประชุมรายงานความก้าวหน้าและปรึกษาหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือ27 พฤศจิกายน 2566
27
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mataharee
  • พะเยา 114.jpg
  • พะเยา 133.jpg
  • พะเยา 11.jpg
  • พะเยา.jpg
  • พะเยา 11.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาของเขต 1-6
  • กระบวนการทำงานของกองทุน
  • ข้อเสนอแนะ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

 ผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมาของเขต 1-6 พื้นที่ดำเนินงาน
- เขต 1 และ 3 มีกองทุนศูนย์เรียนรู้ จำนวน 49 กองทุน                                                        - เขต 1-6 มีกองทุนสมัครใจ จำนวน 43 กองทุน
ภาพรวมการดำเนินงาน - เกิดแผนสุขภาพในภาพรวมของอำเภอ โดยเป็นแผนที่จำแนกตามประเด็นปัญหาที่เกิดจากแผนของกองทุนต่าง ๆ ในอำเภอ
- โครงการที่กองทุนสนับสนุนมีคุณภาพมากขึ้น
- สามารถสังเคราะห์ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากแผนและการดำเนินโครงการ - สามารถติดตามการดำเนินโครงการได้อย่าง Real time
- สามารถทำรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการเงินได้แบบ Real time - มีระบบคลังข้อมูล ที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว  กระบวนการทำงานของกองทุน
การดำเนินงานของ อบต แม่ใส จ.พะเยา - เข้าร่วมโครงการรอบแรก ปี 61 มาดูกระบวนการ แผนงาน แผนเงิน และมีทีมพี่เลี้ยงที่คอยช่วยประกบงาน เรื่องศักยภาพของคน ค่อนข้างดีขึ้น เนื่องจากหลาย ๆ ฝ่ายเข้ามาช่วยกัน และปัจจุบันท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบหลักอย่างเต็มตัว และมองเห็นว่ากรรมการกองทุนมีความสำคัญแต่ไม่เท่ากับคนดำเนินโครงการ และเรื่องของชุดความรู้ก็มีความสำคัญ เจ้าหน้าที่ดูแลกองทุนก็อยู่ชั้นปฏิบัติการ จึงไม่ค่อนมีความรู้ แต่ปัจจุบันดีขึ้น คณะอนุทำงานทั้ง 3 ฝ่ายไม่เท่ากัน และเราต้องการคณะอนุฝ่ายติดตามการดำเนินผล ซึ่งไม่มี แต่เราพยายามที่พัฒนาให้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ที่เราเห็นว่าพี่เลี่ยงฝ่ายระบบวิชาการยังคงเป็นฐานสำคัญ
- ภาพสะท้อนจากคณะทำงาน มองว่าการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพค่อยข้างที่จะควบคุมอยู่แล้ว และโครงการส่วนใหญ่อยู่ในกรอบของการให้ความรู้ ซึ่งจริง ๆ อยากทำให้แตกต่างจากการอบรมให้ความรู้แต่มีเรื่องงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องจึงยากที่จะทำได้ ปัญหาคือ เรื่องการเบิกจ่ายและการเขียนโครงการเข้ามา เพราะเข้าไปให้ความสำคัญโครงการหมู่บ้านมากกว่า - อบต. แม่ใส เคยนำเสนอ ให้กรรมการกองทุนได้รับทราบและมีความเข้าใจ แต่ก็ทั้งหมดก็อยู่ที่คณะทำงานและต้องมีการเชื่อม
- อบต.แม่ใส มีการทำแผนที่แตกต่างอย่างไรจากที่อื่น คือ มีการนำคนมาฟังถึงกระบวนการ ทำให้ได้แผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม - อบต.แม่ใส ติดตามผลการดำเนินงานโดยใช้เวทีเปิด แลกเปลี่ยน แต่เขต 1-6 ทำได้แค่บางกองทุน
 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนกองทุน - การนำเสนอข้อมูลจากสถานการณ์เข้าสู่กองทุน เพื่อรองรับการทำงานวางแผนงาน - การให้กองทุนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำแผน
- ความเข้าใจเรื่องการติดตามประเมินผล ข้อเสนอแนะในการเขียนโครงการ - จะเชิญวิทยากรมาสอน ก่อนที่จะขอรับงบกองทุน รวมถึงการเขียนให้อยู่ในกรอบของระเบียบกองทุน - จัดทีมชุดติดตามการดำเนินผล เช่น กลุ่มอนุวิชาการมาหารือว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป ในปีถัดไป
- ชุมชนเมืองแต่ทำงานยาก ทำอย่างไรให้คนเข้ามามีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะในการกำหนดและสนับสนุนงบประมาณของกองทุน - ใช้ข้อมูลสถานการณ์ในการตัดสินใจ เพื่อให้การสนับสนุน - เข้าใจเรื่องโครงการที่ดี ควรทำเป็นกระบวนการ เพื่อประกอบการพัฒนาให้ทุน - ดูจากขนาดปัญหาและความเร่งด่วนในการต้องการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่พบ
- สัดส่วนงบที่กองทุนมี - งบโครงการต่อเนื่องที่ขอรับสนับสนุนในปีที่ผ่านมา
ข้อเสนอแนะเว็บไซต์กองทุน
- อบต.บ้านตุ๋น มีเจ้าหน้าที่คนเดียวที่ดำเนินโครงการ เดิมเจ้าหน้าที่ลงข้อมูลในเว็บไซต์ทางท้องถิ่นอยู่แล้ว อยากให้เว็บไซต์ท้องถิ่นและเว็บไซต์กองทุนของทางทีม สนส. มีความสอดคล้องเชื่อมกัน
- เว็บไซต์หลักที่ใช้อยู่ของพื้นที่ค่อนข้างใช้งานง่ายอยู่แล้ว แต่เว็บไซต์ทาง สนส. มีความละเอียดมาก ยุ่งยากในการดำเนินการ เรื่องวัตถุประสงค์ (เป้าหมาย 1 ปี) ค่อนข้างยากที่ไปต่อ ต้องคิดวิเคราะห์เยอะ