สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การประเมินผลโครงการการจัดการสุขภาวะท่ามกลางวิกฤตความรุนแรง

ประชุมคณะทำงานทบทวนโครงการและกำหนดกรอบแผนงานอย่างชัดเจน23 กรกฎาคม 2561
23
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย ศูนย์วิชาการเพื่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชนภาคใต้ตอนล่าง
circle
วัตถุประสงค์

-

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

16.00-16.15 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 16.16-17.00 น. ทบทวนแผนงานการประชุมครั้งเดิมเพื่อต่อยอดในครั้งนี้ 17.00-17.45 น. ประชุมออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่ม 17.46-18.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 18.01-18.30 น. สรุปผลการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

16.00-16.15 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 16.16-17.00 น. ทบทวนแผนงานการประชุมครั้งเดิมเพื่อต่อยอดในครั้งนี้ 17.00-17.45 น. ประชุมออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่ม 1. ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้มีผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทแตกต่างกันออกไป ดังนี้ - ภาคีเครือข่าย เป็นผู้ร่วมกำหนดแนวทางและดำเนินโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างสุขภาวะและการดูแลตนเองได้ ในการตั้งคำถามเพื่อสร้างเครื่องมือในครั้งนี้ คือ 1.ผู้จัดมีหลักสูตรการจัดอบรมให้กับกลุ่มพี่เลี้ยงอย่างไร และมีกระบวนการแบบใดบ้าง การเก็บข้อมูลที่เหมาะสมจึงควรจะเป็นการใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ -กลุ่มญาลันนันบารู ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมอบรมกับกลุ่มภาคีเครือข่าย คำถามที่ต้องตั้งไว้เป็นอย่างแรก คือ การหาคำตอบว่า กลุ่มนี้ทำงานอะไร ในการประเมิน คือมุ่งไปประเมินเกี่ยวกับความพึงพอใจของกลุ่มผู้เข้าร่วมว่าพอใจกับการจัดอบรมของกลุ่มภาคีเครือข่ายหรือไม่
2.จากนั้นประเมินความสามารถของกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมว่าสามารถดำเนินการตามที่เข้าอบรมได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด และควรจะมีการประเมินก่อนหลัง การนำความรู้จากการอบรมไปใช้ต่อว่าใช้อย่างไร โดยการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่เหมาะสม ในที่ประชุมยังคงยืนยันเครื่องมือการสนทนากลุ่มไว้เช่นการประชุมครั้งที่ 1 - กลุ่มจิตอาสา ในกลุ่มนี้จะถูกแบ่งออกอีกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกและไม่ผ่านการคัดเลือก โดยรวมจะเก็บข้อมูลกับทุกคน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม แล้วค่อยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างมาสนทนากลุ่มในลำดับถัดไป แต่กับกลุ่มที่ไม่ผ่านการคัดเลือกจะดำเนินการค้นหาสาเหตุต่อว่าเหตุใดถึงไม่ผ่านการคัดเลือก แล้วจะแก้ไขปัญหาโดยวิธีการใดต่อไป - กลุ่มกองทุน กลุ่มนี้ต้องศึกษาถึงเหตุผลการตัดสินใจว่าเหตุใดถึงสนับทุนกับกลุ่มจิตอาสาที่คัดเลือกมา การเก็บข้อมูลควรใช้เครื่องมือแบบสอบถามแบบ Checklist นอกจากนี้จะสนทนากลุ่มอีกครั้งในเรื่องการให้ผ่านโครงการและไม่ให้ผ่านโครงการกับกลุ่มผู้ขอสนับสนุนทุนทำโครงการ       จากการประชุมครั้งนี้ คณะทำงานยังคงยึดแนวทางที่วางแผนไว้ในการประชุมในครั้งแรก แต่ได้ความชัดเจนด้านเครื่องมือและกระบวนการดำเนินการมากขึ้น คือสามารถแยกย่อกลุ่มจากกลุ่มใหญ่ให้เป็นกลุ่มย่อย เพื่อการเก็บข้อมูลจะได้มีความละเอียดและครอบคลุมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้ติดต่อประสานงานกับกะยะห์ เพื่อเข้าร่วมประชุมและทบทวนแนวคิด กระบวนการทำงานอีกครั้ง เพื่อจัดทำเครื่องมือประเมินได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยกะยะห์ได้ตกลงเข้าร่วมประชุมงานในครั้งถัดไปในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561
17.46-18.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 18.01-18.30 น. สรุปผลการประชุม ในการประชุมครั้งนี้สรุปได้ว่า รูปแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลในการประเมินโครงการมีความชัดเจนและเป็นไปได้มากขึ้น นั่นคือ       กลุ่มภาคีเครือข่ายจะใช้เครื่องมือแบบสอบถามและการประเมินผลการอบรมโดยใช้โมเดลการประเมินผล CIPP       กลุ่มญาลันนันบารูใช้แบบสอบถามแบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินก่อนหลัง     กลุ่มจิตอาสา ใช้เครื่องมือประเมินโดยแบบสอบถามและสนทนากลุ่ม       กลุ่มผู้ให้ทุน ใช้เครื่องมือแบบสอบถามแบบ Checklist และสนทนากลุ่ม โดยการดำเนินการจะแบ่งการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ประชุมกำหนดกรอบแผนงาน 2.สร้างเครื่องมือการประเมิน 3.ดำเนินการเก็บข้อมูลและประเมินผล 4.ประชุมวิเคราะห์และสรุปผลการประเมิน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่