สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้

ลงพื้นที่โรงพยาบาลรือเสาะ ครั้งที่224 ธันวาคม 2561
24
ธันวาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นักศึกษาฝีกงาน
circle
วัตถุประสงค์
  1. เก็บข้อมูลการจัดบริการสุขภาพเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงพยาบาลรือเสาะ
  2. ติดตามผลการดำเนินงานจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลรือเสาะ
  3. สำรวจความต้องการขับเคลื่ือนงานในระดับชุมชนและระดับโรงพยาบาล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การทำกิจกรรมทั้ง 2 ครั้ง ทีมงานดำเนินการคือ 1. เก็บข้อมูลการจัดบริการสุขภาพเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงพยาบาลรือเสาะ  มีเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาล โดยใช้แบบสอบถาม และสนทนากลุ่มย่อยผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการสังเกตบรรยากาศการปฏิบัติงานจริง 2. ติดตามผลการดำเนินงานระบบบริการสุขภาพใเชิงพหุวัฒนธรรมโรงพยาบาลรือเสาะที่แตกต่างครั้งที่ 1 และ 2 เพ่ือความครอบคลุม โดยในครั้งแรกผู้อำนวยการโรงพยาบาลเน้นการเยี่ยมกิจกรรมของชุมชนไทยพุทธบ้านไทยสุข ต.ลาโล๊ะ และสนทนาในกลุ่มผู้ปฏิบัติด้านสุขภาพในพื้นที่ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาลประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ทีมติดตามยังไม่เห็นภาพรวมการดำเนินการทั้งหมดของโรงพยาบาลจึงขอเข้าตรวจเยี่ยมติดตามครั้งที่ 2 ซึ่งในครั้งที่ 2 ได้เข้ารับฟังผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลและการขับเคลื่อนงานในชุมชนมุสลิม การประชุมและลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมทำให้เห็นภาพสะท้อนภาพระบบงานนที่ทำจริง และทิศทางการขับเคลื่ือนที่จะดำเนินการ่อในอนาคต 3. สำรวจความต้องการขับเคลื่ือนงานในระดับชุมชนและระดับโรงพยาบาล ดำเนินการโดยการสนทนากับผู้อำนวยการโรงพยาบาล พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพระดับตำบล ผู้นำศาสนา แกนนำพื้นที่ ผู้รับบริการเป้าหมาย (กลุ่มต้องการเลิกบุหรี่ในชุมชนมุสลิม)

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่นำร่องจัดกิจกรรมถอดบทเรียนจำนวน 2 ครั้ง พบการนำรูปแบบการจัดบริการสุขภาพดำเนินงานจริง ทั้งในระดับโรงพยาบาลและระดับชุมชน ระบบบริการและการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามผลการจัดกิจกรรมมีความเป็นรูปธรรมเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากการขับเคลื่ือนในช่วงกิจกรรมที่ได้รับงบประมาณจากสสส.ผ่านสจรส.เท่านั้น แต่น่าจะเกิดจากความพยายามของโรงพยาบาลที่พัฒนาระบบบริการมาอย่างต่อเนื่ือง งบสนับสนุนครั้งนี้น่าจะมาช่วยหนุนเสริมกิจกรรมให้มีความชัดเจนมากขึ้น ภายหลังจากการขับเคลื่ือนระบบบริการในโรงพยาบาลมีผลที่น่าพอใจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงเริ่มขับเคลื่ือนการบริการที่คำนึงถึงมิติพหุวัฒนธรรมในชุมชน การดำเนินการเริ่มจากชุมชนบ้านไทสุขซึ่งเป็นชุมชนชาวพุทธก่อนเพราะเป็นชุมชนเข้มแข็ง มีความพร้อมกว่าชุมชนมุสลิม ต่อมาจึงเริ่มสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนพุทธและมิสลิม ทำให้ชุมชนมุสลิมที่มีตัวชี้วัดสุขภาพไม่ผ่านเกณฑ์เริ่มตื่นตัว เกิดการเปรียบเทียบและหันมาริเริ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภพาตามวิถีอิสลาม ภาพในมิติใหญ่ที่พบในโรงพยาบาลคือการจัดระบบสุขภาพเพ่ือสันติภาพ เพราะชุมชนพุทธมุสลิมเกิดการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น การกลับมาร่วมมือเพ่ือพัฒนาได้เริ่มอีกครั้ง อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลรือเสาะยังต้องพยายามผลักดันการดูแลกลุ่มผู้ป่วยไทยพุทธในพื้นที่ซึ่งเป็นประชากร 5%.ให้มีพื้นที่องค์ประกอบเชิงกายภาพที่เอื้ออำนวยเช่นห้องพระ หรือกิจกรรมเชิงศาสนาภายในโรงพยาบาลเพ่ือความรู้สึกมีตัวตนในสังคมที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ การคุยนอกรอบวงประชุมทำให้พบว่ายังมีบุคลากรที่มีความคิดแบ่งแยก มีความขัดแย้ง การสร้างกระบวนการเพ่ือให้เกิดการยอมรับความเป็นพหุวัฒนธรรมยังมีความจำเป็นในบุคลากรโรงพยาบาล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

เป็นไปตามแผน
ครั้งที่ 1 เยี่ยมชุมชนไทยพุทธ จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานมีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน ได้พบปะกลุ่มแม่บ้าน แกนนำกิจกรรมอาชีพ พระภิกษุ รับฟังการนำเสนอผลการปฏิบัติงานและรางวัลดีเด่นกิจกรรมการแพทย์วิถีธรรม
ครั้งที่ 2 ช่วงเช้า ประชุมร่วมบุคลากรที่รับผิดชอบผู้อำนวยการโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่นักปฏิบัติการ จำนวน 9 คน เยี่ยมชมการปฏิบัติงานพื้นที่บริการภายในโรงพยาบาลได้แก่แผนกฉุกเฉิน แผนกทันตกรรม แแผนกแพทย์แผนไทย แผนกฝากครรภ์ หอผู้ป่วย และโรงครัว
      ช่วงบ่าย พบปะผู้นำศาสนาในชุมชนมุสลิม 1 ชุมชน จ้าหน้าที่สถานีอนามัย ผู้เข้าประชุมประมาณ 12 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

สสส.ควรเข้ามาบทบาทในการกำหนดพื้นที่ขยายงานการจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมโดยใช้ต้นแบบโรงพยาบาลรือเสาะกับโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่สีแดงจากสถานการณ์ความไม่สงบเพราะโรงพยาบาลรือเสาะมีศักยภาพในการทำงานเชิงเครือข่าย แม้จะเน้นการจัดบริการที่ตอบโจทย์ความเป็นอิสลาม แต่ยึดถือมาตรฐานทางการแพทย์เป็นสำคัญน่าจะช่วยให้การแก้ปัญหาความขัดแย้งของพื้นที่อันเกิดจากระบบบริการภาครัฐที่ไม่ตอบสนองประชาชนได้อีกช่องทาง

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี