โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้
- เก็บข้อมูลการจัดบริการสุขภาพเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงพยาบาลสตูล
- ติดตามผลการดำเนินงานจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลสตูล
เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลธารโต โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- การนำรูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลเชิงพหุวัฒนธรรมนำไปใช้จริงในโรงพยาบาล มีแนวปฏิบัติการมารับบริการเพิ่มเติมจากเดิมที่มีมาก่อน
ก.ระบบบริการสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่มารับบริการ การมีห้องพระสำหรับสนทนาธรรมที่เป็นสัดส่วน มีบริการหนังสือหลักธรรมะสองศาสนาสำหรับผู้ป่วยในที่นอนรับการดูแล กรณีพระภิกษุต้องพักนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลพยายามจัดสรรห้องแยกให้กับพระภิกษุ มีอุปกรณ์จัดตั้งหิ้งพระพร้อมเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจของภิกษุ
ข.การมีตู้หนังสือธรรมะ พระคัมภีร์ สำหรับผู้ป่วยในและญาติได้ศึกษาในช่วงนอนรักษาที่โรงพยาบาล - การขยายของเขตพหุวัฒนธรรมสู่ชุมชน เป็นการทำงานที่มองพหุวัฒนธรรมเป็นการทำงานแบบภาคีเครือข่าย โดยโรงพยาบาลธารโตดำเนินโครงการ การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพสอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชน นำหลักศาสนาควบคู่หลักบริการสุขภาพ 2) เพื่อนำหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนานำมาปฏิบัติในระบบบริการสุขภาพสถานบริการสาธารณสุข และ 3) เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนมีคุณภาพ พัฒนาการสมวัย (ลดเตี้ย)เด็กฉลาด ภาคีการทำงานประกอบด้วย สภาพหุวัฒนธรรมของโรงพยาบาล บุคลากรโรงพยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน ครู ผู้นำศาสนา ครูสอนตาดีกา ครูสอนอ่านอัลกุรอาน/กีรออาตี พระภิกษุ เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็ก ผู้ปกครอง กิจกรรมหลักได้แก่ การให้ความรู้/การจัดค่ายจริยธรรมแกนนำผู้ปกครอง/ ผู้ดูแลเด็ก/ครูสอนศาสนา นักเรียนประถม อบรมเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงานตามหลักศาสนาสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย หญิงตั้งครรภ์
เกิดข้อมูลของการให้บริการสุขภาพในโรงพยาบาล
ผลผลิต
1. มีระบบเอื้ออำนวยให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้การนำรูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลเชิงพหุวัฒนธรรมนำไปใช้จริงในโรงพยาบาล
2. กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้รับการอบรมความรู้ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี
ผลลัพธ์
1. ตัวแทนพยาบาลที่ดูแลในคลินิกผู้ป่วยนอก/หอผู้ป่วยในรู้สึกสบายใจที่มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนก่อนหน้านี้พยายามทำแต่มีความกังวลภายในใจว่าถูกผิด ได้หรือไม่ได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อพระภิกษุ เมื่อมีการปรับปรุงระบบบริการทำให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนที่จะปฏิบัติต่อบุคคลต่างศาสนิก หรือกรณีมีประเด็นที่เกิดความไม่แน่ใจสามารถปรึกษาคณะกรรมการที่มีหน้าที่ดูแลได้
2. เกิดบรรยากาศองค์กรสะท้อนความมีสุขภาวะองค์กร เน้นคุณธรรมจริยธรรมองค์กรตามหลักการศาสนา บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
3. พระภิกษุผู้มารับบริการจากโรคเรื้อรังได้รับการดูแลมีมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีความสะดวก
4. ตัวชี้วัดสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด พัฒนาการและสุขภาพของเด็กแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี
ผลกระทบ
การแก้ปัญหาของระบบบริการที่อาศัยการทำงานของทุกภาคส่วน บรรลุผล (กรณีการรณรงค์วัคซีนโรคหัด)
บทเรียนรู้จากพื้นที่
จุดเด่น
1. ผู้นำมีความใส่ใจ ถ้ามองจากพหุวัฒนธรรมในเชิงศาสนา ผู้อำนวยการเหมือนเป็นตัวแทนผู้รู้ด้านอิสลามศึกษา ในขณะที่รองผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของผู้รู้ด้านพุทธศาสนา ด้วยความเป็นผู้รู้
2. การมีนโยบายที่เอื้อให้บุคลากรมีอิสระในการออกแบบระบบบริการเชิงพหุวัฒนธรรม เช่นกรณีของหน่วยเอ็กซเรย์ของโรงพยาบาลที่บุคลากรออกแบบระบบการบริการช่วยให้เห็นว่าความใส่ใจเชิงพหุวัฒนธรรมทำให้สามารถตอบโจทย์การบริการและตอบโจทย์ศรัทธาที่
3. บุคลากรเข้าใจนโยบายพร้อมที่จะนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติ จากการพบปะในส่วนห้องคลอด แผนกผู้ป่วยนอก ห้องยา สะท้อนภาพการดูแลที่มีความเป็นธรรมชาติ มีความกลมกลืนกับเนื้องาน
4. การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารสังคม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาล
โรงพยาบาลธารโตมีศักยภาพเป็นแม่ข่ายการจัดระบบบริการสุขภาพเชิงรุก เหมาะที่จะเป็นทีมพี่เลี้ยงโรงพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดที่ประสบปัญหาการจัดการวัคซีนไม่เป็นไปตามแผน และเป็นโณงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่สีแดงตามนิยามความมั่นคง
-