โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้
- เก็บข้อมูลการจัดบริการสุขภาพเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงพยาบาลสตูล
- ติดตามผลการดำเนินงานจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลสตูล
- สำรวจความต้องการขับเคลื่ือนงานในระดับชุมชนและระดับโรงพยาบาล
1.ประชุมรับฟังการรายงานสอบถามรูปแบบระบบบริการพหุวัฒนธรรมและสอบถามผลการปฏิบัติงานข้อสงสัย ผู้รับผิดชอบงานได้นำเสนอบริบทและผลการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมที่มีกิจกรรมทั้งในโรงพยาบาลและการทำงานร่วมกับเครือข่าย
1.1 การจัดะบบบริการในโรงพยาบาลมีความครอบคลุมตามต้นแบบกิจกรรมที่ทางสจรส.ได้กำหนด ตัวอย่าง 1) แผนกผู้ป่วยนอกมีที่นั่งสำหรับพระภิกษุขณะรอตรวจ มีเส้นทางพิเศษสำหรับชาวเลที่ต้องกลับขึ้นเกาะ มีช่องทางแรงงานต่างด้าว มุมนมแม่สำหรับสตรีมาตรวจแต่ยังเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา 2)ห้องคลอด มีการบริการมีมุมอาซาน อนุญาตให้สามีหรือมารดาเฝ้าคลอด การให้ความรู้ในการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและแนวทางการแพทย์เพ่ือลดการตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด 3) หอผู้ป่วยในมีมุมละหมาด และห้องพระเพ่ือให้ผู้ป่วยสามารถประกอบศาสนกิจในระหว่างที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีบริเวณที่พักสำหรับญาติที่ต้องเฝ้าผู้ป่วยและค้างคืนทำให้ลดความแออัดการรอตามจุดต่าง ๆ และญาติได้มีสถานที่สำหรับพักและผ่อนคลายอารมณ์ มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรสำหรับผู้ป่วยชาวพุทธ ขณะนอนรพ.มีอาหารฮาลาล อาหารตามโรค และอาหารเจ/มังสะวิรัติ มีศาลาละหมาดสำหรับเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ผู้มาเยี่ยม และ 4) รพ.สตูลมีการปรับภูมิทัศน์ในโรงพยาบาลให้มีความสะอาด ต้นไม้ร่มรื่น สงบเหมาะกับฟื้นฟูความเจ็บป่วย
1.2 กิจกรรมในชุมชน มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายผู้นำศาสนาและภาคประชาสังคมจัดกิจกรรมพิธีสุหนัตที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและได้มาตรฐานเชิงการแพทย์เพ่ือลดการติดเชื้อ
1.3 ระบบการดูแลศพไร้ญาติในกรณีชาวมุสลิมมาเลเซียมาเสียชีวิตในเมืองไทย บริจาคผ้าห่อศพการจัดกิจกรรมพิธีฝังศพเป็นต้น
2.ประเมินสมรรถนะการให้บริการทางพหุวัฒนธรรม เป็นการสุ่มเก็บข้อมูลตามความสะดวกจากผู้ปฏิบัติงาน
3.ประเมินการใช้รูปแบบการแพทย์พหุวัฒนธรรม สำรวจแนวปฏิบัติที่สามารถทำได้จริงสอดคล้องกับต้นแบบที่ทางสจรสกำหนด
4.ตรวจเยี่ยมระบบริการที่คำนึงถึงมมิติทางวัฒนธรรม
ผลผลิต
วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาระบบบริการให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ มีผลผลิตการดำเนินโครงการสอดคล้องกับแนวปฏิบัติต้นแบบที่แหล่งทุนมอบหมายให้ศึกษานำร่อง 1). มีระบบบริการสำหรับพระภิกษุสามเณร 2) โรงพยาบาลมีบริการอาหารฮาลาล/เจ/มังสวิรัติ 3) จุดให้นมแม่สำหรับมารดาที่มาตรวจตามนัด 4) มีสถานที่สำหรับการประกอบศาสนากิจสำหรับบุคลากร ผู้ป่วย และญาติอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการให้บริการด้านสาธารณสุข มีผลผลิต 1)บุคลากร ได้รับการอบรม เรื่อง การให้บริการสุขภาพที่สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 2) แกนนำชุมชนมีความรู้ในเรื่อง “การดูแลมารดาและทารกหลังคลอดตามวิถีธรรม” 3) ผู้ดูแลได้รับการอบรมดูแลผู้ป่วยในช่วงรอมฎอน
วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ถูกต้องตามแนวทางศาสนา ได้แก่ เกิดกิจกรรมการสวดมนต์ใส่บาตรตามเตียง มีห้องพระบริการผู้ป่วยและญาติ เมื่อผู้ป่วยหนักมีพระมาบริการอ่านพระสูตร มีอาสาสมัครอ่านยาซีนสำหรับผู้ป่วยหนัก รณรงค์รับบริจาคและมีผ้าขาวแจกห่อศพแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตชาวมุสลิม การรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพเด็กผู้ชายมุสลิมระหว่างปิดภาคเรียนตามวิถีมุสลิมเด็กชายมุสลิมเข้าร่วมเกินเป้า
ผลลัพธ์
1. ไม่มีการตกเลือดของมารดาหลังคลอดที่อยู่ไฟ โรงพยาบาลสตูลเลือกประเด็นสุขภาพที่พบและเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญคืองานอนามัยแม่และเด็กมาขับเคลื่อนพบว่าการจัดบริการเชิงสุขภาพที่คำนึงถึงพหุวัฒนธรรมทำให้เกิดการดูแลมารดาหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่ดำเนินการไม่มีมารดาตกเลือดจากการอยู่ไฟหลังคลอด
2. ไม่มีการติดเชื้อจากการทำสุหนัต .จากสถิติของโรงพยาบาลย้อนหลัง พบว่า มักพบผู้มารับบริการในพื้นที่มีการติดเชื้อภายหลังการเข้าสุหนัตเป็นประจำทุกปี แต่สถิติล่าสุดไม่พบผู้ติดเชื้อจากการเข้าสุหนัต
3. การจัดบริการสุขภาพในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมทำให้เกิดบรรยากาศองค์กรแห่งความสุข เพราะบุคลากรได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเกิดความสุข ใช้หลักศาสนาในชีวิตประจำวัน รู้สึกมีคุณค่า เกิดทัศนเชิงบวกต่อการทำงานที่สามารถตอบโจทย์ทั้งการพัฒนางานประจำและขัดเกลาภายในตนเอง บ่มเพาะทัศนคติการดูแลผู้อื่นด้วยความเข้าใจ ความเมตตา
4. จำนวนประเด็นร้องเรียนที่ลดลง หรือหากมีการร้องเรียนสามารถจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว มีทีมงานผู้นำศาสนาคอยช่วยเหลือทำให้สถานการณ์สามารถควบคุมได้
ผลกระทบ
1. เชิงบวก เกิดความตื่นตัว เกิดกำลังใจจากทีมงานและภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานต่อไปในอนาคต เป็นบรรยากาศที่เอื้ออำนวยเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาต่อไป
2. เชิงลบ การจัดบริการสุขภาพในบริบทพหุวัฒนาธรรมยังมีประเด็นที่ยังต้องออกแบบระบบที่แผนกฉุกเฉินในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ผู้ป่วยมีความซับซ้อน กล่าวคือ ในภาวะเร่งด่วนแพทย์จำเป็นต้องให้การดูแลในภาวะวิกฤต แต่ญาติหรือผู้ใกล้ชิดอยากเข้ามาเยี่ยม การเข้าเยี่ยมที่จำนวนมากในพื้นที่จำกัด และภาวะเร่งด่วนในการทำงานเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อความพึงพอใจของญาติ และการไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่อาจทำให้บุคลากรเกิดทัศนคติเชิงลบต่อความพยายามที่จะตอบสนองตามความเชื่อเชิงศาสนา หรือหลักศาสนาที่เชื่อว่าการเยี่ยมผู้ป่วยเป็นการปฏิบัติที่เป็นบุญ หากมาเยี่ยมในหอผู้ป่วยและรอเฝ้าไข้ทำให้ได้บุญ แต่จำนวนที่มาเฝ้าไข้ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความแออัด บรรยากาศโรงพยาบาลไม่เหมาะสำหรับการพักผ่อนของผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสุขภาพกายและจิตของผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้ทางโรงพยาบาลสตูลได้ปรับปรุงระบบบริการโดยจัดให้มีพื้นที่สำรับญาติที่มาเฝ้าไข้ สามารถพักค้างคืน ทำให้ญาติมีบริเวณที่พักและได้พบปะแลกเปลี่ยนเกิดความพึงพอใจต่อบริการ ในส่วนของแผนกฉุกเฉินการแก้ปัญหาอาจต้องเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างการรักษาในภาวะวิกฤต เพื่อให้ญาติหรือผู้มารอเยี่ยมทราบข้อมูลความเป็นไปเป็นระยะเพื่อลดความกังวล และกรณีไม่สามารถยื้อชีวิตได้ ต้องมีจุดที่เปิดโอกาสให้สามารถพบปะทำพิธีในวาระสุดท้ายตามความเชื่อและความต้องการตามที่เหมาะสม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
1.บุคลากรโรงพยาบาลสตูลที่เข้าร่วมประชุมจากแผนกที่เกี่ยวข้อง จำนวน 23 คน 2.เครือข่ายการทำงานพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ 2 เครือข่าย (พุทธและอิสลาม) 3.ผู้ให้ข้อมูลตามแบบสอบถาม 12 คน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี