สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

ประชุมการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหารเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบระดับพื้นที่19 ตุลาคม 2566
19
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Ariya Mosu
  • ข่าว การขับเคลื่อนการจัดการระบบอาหาร อบจ.docx
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตามที่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนให้สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา และสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดยมีเป้าหมายเพื่อบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างปฎิบัติการเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร และด้านโภชนาการ ซึ่งในวันที่ 19 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ผศ.ดร พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ ร่วมกับนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี นายแพทย์วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ได้ร่วมกันลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนต้นแบบตำบลบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการจังหวัดปัตตานี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ความร่วมมือขับเคลื่อนต้นแบบตำบลบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการจังหวัดปัตตานี ในครั้งนี้ ประกอบด้วยเรื่อง 1) ร่วมพัฒนาเครื่องมือในการเก็บและสังเคราะห์ข้อมูลด้านระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการ และสนับสนุนการใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ โครงการระบบอาหาร พร้อมทั้งผลักดันและขับเคลื่อนแผนงาน โครงการไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานในทุกระดับ 2) ร่วมพัฒนารูปแบบการรณรงค์สื่อสารความรอบรู้ด้านอาหาร เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและเพิ่มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ 3) ร่วมจัดทำหลักสูตรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ครูผู้ดูแลเด็ก บุคลากรสังกัดองค์การบริหารจังหวัดปัตตานี และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการบูรณาการและจัดการระบบอาหารเพื่อสุขาวะตลอดห่วงโซ่ในระดับชุมชนท้องถิ่น 4) ร่วมพัฒนากลไกพี่เลี้ยง กลไกวิชาการ และวางระบบการติดตามประเมินผล เพื่อหนุนเสริมพลังให้กับคนทำงานและสนับสนุนการใช้รูปแบบการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาให้กับการทำงานของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 5) บูรณาการและสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่กับภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แกนนำเกษตรกร กลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาโภชนาการ กระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนของชุมชน แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ของประชาชนในพื้นที่ 6) สร้างความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ และการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่และปัญหาทุพโภชนาการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่