งานสื่อกองทุนฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เพื่อต้องการให้ผลการปฏิบัติงานถูกต้องและตรงตามแผนงาน 2. เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 3. การวางแผนการขับเคลื่อนประเด็นสื่อสารสาธารณะที่ดำเนินการมาและในระยะต่อไป
เป็นการประชุมทีมปฏิบัติการกับทีมประสานงาน โดยได้มีการรายงานการขับเคลื่อนงานสื่อสาร 2 ประเด็น คือ ความมั่นคงทางมนุษย์ 3 จังหวัด กลไกกองทุนจังหวัด สุราษฎร์ธานี กลไกระดับอำเภอ พชอ. อ.เมืองพัทลุง พชอ.ไชยา ทุ่งไสไซ พอช.อ.เมือง กระบี่ สำหรับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เมนู ชุมชนสีเขียว สู่สมัชชาประเด็น สำหรับการเคลื่อนงานสื่อสารในประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ได้ช่วยงานสื่อสารเปิดตัว กลไกระดับจังหวัดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ขยายเครือข่ายสื่อเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการผลิตคลิปต้นแบบของภาคีความร่วมมือการสร้างชุมชนสีเขียว เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ สำหรับ การสื่อสารในเชิงพื้นที่กับประเด็นกลไกกองทุนกับ พชอ.ยังไม่ได้มีการสื่อสาร
การประชุมคณะทำงานเพื่อการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในระยะที่ 1 ระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน 2565 และการวางแผนการขับเคลื่อนประเด็นสื่อสารสาธารณะในระยะต่อไป มีแผนขับเคลื่อนประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นที่รับผิดชอบ และพื้นที่ดำเนินงาน ได้แก่
1. ความมั่นคงทางอาหาร กับการร่วมสร้างพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน พื้นที่รับผิดชอบ จ. สุราษฎร์ธานี อ. เมือง จ.กระบี่ , อ.เมือง จ.พัทลุง
มีการประชุมร่วมกับเครือข่ายเกษตรสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อการจัดสมัชชาสุขภาพรายประเด็น การร่วมสร้างชุมชนสีเขียว จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ชีแจงแนวทางการขับเคลื่อนงานภาคใต้แห่งความสุข กับการจัดงานสร้างสุขภาคใต้และมีการที่กลุ่มเครือข่ายได้ร่วมกัน จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่ภาคใต้ 4 ประเด็นหลักๆ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสุขภาพ ในส่วนประเด็นความมั่นทางอาหาร มีประเด็นย่อย เช่น ชุมชนสีเขียว สวนยางยั่งยืน เกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายได้นำเสนอต่อ คสช. และจะจัดเป็นสมัชชาเชิงประเด็นว่าด้วยเรื่อง ของการร่วมสร้างชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน ในทุกมิติทางการเกษตร พืช ประมง ปศุสัตว์ และการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ กำลังมีการ MAPING พื้นที่ เพื่อจะเลือกมาเป็นพื้นที่ขับเคลื่อน แต่ตอนนี้ต้องให้ตกผลึกร่วมกัน และให้มีการตั้งคณะทำงาน 3 ส่วน คณะทำงานยุทธศาสตร์ คณะทำงานวิชาการ คณะทำงานสื่อสาร ซึ่งทางเครือข่าย โดยคุณกำราบ พานทอง จะได้รวยรวมรายชื่อคณะทำงานในระดับภาค และเสนอชื่อคณะทำงานให้กับ ทาง สช.เบื้องต้นคงให้ สช. เป็นทีมจัดการกลาง เพราะสมัชชาชุมชนสีเขียวน่าจะเป็นระดับชาติแต่เราจะเลือกเฉพาะพื้นที่ภาคแล้วค่อยไปจัดระดับชาติ
ที่ประชุมได้เสนอให้มีประธานหรือ คนที่สามารถประสานความร่วมมือได้กับทุกฝ่าย ที่ประชุมจึงได้ เสนอ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) มาเป็นประธานขบวนให้ และจะนัดหารือร่วมและเชิญ อ.เข้าร่วมประชุมด้วย
ครั้งที่ 2 มีการประชุมร่วมกัน สนส.มอ. สช. เครือข่ายประเด็น ทีมงานสื่อสาร ครั้งที่ได้เชิญ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือ ซึ่ง อ.ยักษ์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตอนนี้แม้แต่ระดับโลกยังให้ความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร เพราะผลจากการวิจัย มีสาเหตปัจจัยหลายๆด้าน เช่น ภัยพิบัติ ในหลากหลายรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ประชากรโลกเพิ่มขึ้น และล่าสุด หลังจากสถานการณ์โควิด – 19 จึงส่งผลให้อาหารไม่เพียงพอจึงทำให้ความต้องการอาหารของคนเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) ยินดีที่จะมาเป็นหัวขบวน สมัชชาชุมชนสีเขียว แต่ต้องชี้แนะให้กันและกัน อีกทั้งมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อร่วมกับเคลื่อนไปด้วยกัน หลังจากนี้ก็มาวางแผนกันว่าใครจะร่วมอะไรได้อย่างไร ภายใต้คณะทำงานในแต่ละด้านที่ประชุมเน้นย้ำเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารเรื่องการเลือกพื้นที่ขับเคลื่อนในพื้นที่ภาคใต้
2. ความมั่นคงทางมนุษย์ กลไกสุขภาพ จังหวัดสุราษฎร์ธานี , และ กลไกระดับอำเภอ พชอ. พื้นที่รับผิดชอบ อ.เมือง จ.พัทลุง อ.เมือง จ.กระบี่ อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี สำหรับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 จังหวัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลไกจังหวัด การจัดให้มีกองทุนจังหวัด ที่บูรณาการงบประมาณกันระหว่างกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด อบจ. เพื่อการจัดตั้งกองทุน ระดับจังหวัด เพื่อให้มีการบริหารจัดการโดย ภาคประชาชน ใช้เพื่อการจัดการระบบสุขภาวะชุมชน สำหรับ กลไก อำเภอ จะใช้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เป็นหน่วยจัดการกลางที่จะเชื่อมโยงกับกองทุนตำบล เพื่อผลักดันให้ใช้งบประมาณเพื่อการ สร้างเสริมงานสุขภาพ อ.เมือง พัทลุง อ.เมือง จ.กระบี่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
งานสื่อสาร จะมีการ พัฒนาศักยภาพการรู้เท่าสื่อและการผลิตเป็น สื่อสารอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย และการขยายเครือข่ายสื่อ งานผลิตสื่อในรูปแบบ คลิปวีดีโอ Onepage เวทีสาธารณะ โดยใช้ Platform ที่หลากหลาย สำหรับออกแบบ และเป็นช่องทางการสื่อสาร
กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ
1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อภาคใต้ ยังไม่ได้ดำเนินการ ด้วยเหตุผลช่วงระยะเวลา และความพร้อมของวิทยากร
2. กิจกรรมส่งเสริมงานสื่อสาร ประเด็นพื้นที่สีเขียวยังไม่มีการดำเนินกิจกรรม ด้วยยังไม่มีการกำหนดพื้นที่ขับเคลื่อน ทั้ง 3 จังหวัด
3. กิจกรรมสื่อสารประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ พื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี กลไกกองทันตำบลทุ่งไสไซ
กิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
1. การสื่อสาร kick off กลไกความร่วมมือเพื่อสังคมสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ก่อน ระหว่าง และหลัง
2. ขยายเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
3. พัฒนา Plat form
- เพจ facebook
- เวปไซต์
- YouTube
กิจกรรมที่จะดำเนินงานในระยะต่อไป
1. ประสานงานพื้นที่ขับเคลื่อน กองทุนจังหวัด เพื่อออกแบบงานสื่อสารที่จะกระจายและสื่อสารในทุก Platform
2. ติดตามพื้นที่ ความมั่นคงทางอาหาร กับการร่วมสร้างพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน
3. ผลิตงานสื่อสารในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปสื่อสารใน platform ต่างๆ
4. Update Platform ให้มีความเป็นปัจจุบัน และความทันสมัยเพื่อสร้างความน่าสนใจ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานสื่อสาร งานสื่อสารประเด็นความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงทางอาหาร
-