สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โซนภาคใต้ตอนบน

กำหนดวิธีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพใน 5 จังหวัด10 ตุลาคม 2561
10
ตุลาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นายคชาพล นิ่มเดช
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำเสนอโครงร่างในการใช้ HIA  ในการประเมินผลกระทบของโครงการจำนวน 6 โครงการในพื้นที่ 5 จังหวัด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เปิดประชุมการวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางการประเมินผลของโครงการการประเมินกระทบทางสุขภาพกรณีศึกษาโซนภาคใต้ตอนบน และเป้าหมายของการกำหนดทิศทางประเมิน โดย ผศ.ดร. เพ็ญ สุขมาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
-ชี้แจงแผน และรายละเอียดในการกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม โดยสาธารณะ โดย ดร.คชาพล นิ่มเดช และคุณซูวารี มอซู ผู้รับผิดชอบโครงการ -นำเสนอวิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดย ดร.ดุริยางค์ วาสนา และ ดร.ปวิตร ชัยวิสิทธิ์ -วิพากษ์โครงการการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี -นำเสนอวิธีการประเมินผล กระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าวโดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดระนอง -วิพากษ์วิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าวโดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดระนอง -นำเสนอวิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โดย ดร.โปรดปราน คำอ่อน -วิพากษ์วิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยชุมชน อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร -นำเสนอวิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย ดร.สายสุนีย์ จำรัส -วิพากษ์วิธีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช -สรุปผลการวิพากษ์โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ตอนบน (ศวสต.) 5 จังหวัด โดย ผศ.ดร.สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์ -วางแผนการประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping)

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการประเมินได้นำเสนอโครงร่างการประเมินผลกระทบในพื้นที่
  2. ผู้วิพากษ์ได้ให้ความเห็นต่อแผนโครงการร่างการประเมิน และผู้แทน สจรส ได้ให้ความคิดเห็นและจุดประสงค์เพิ่มเติม
  3. กำหนดการประชุมเพื่อวางแผนเตรียมความพร้อมก่อนจัดเวทีกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ผู้แทนจาก สจรส  3  ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิ  1    ท่าน ผู้รับผิดชอบโครงการประเมิน 5 โครงการและผู้รับผิดชอบโครงการหลัก  รวม  6 ท่าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนถึงจุดประสงค์ของโครงการประเมินผลกระทบ และจุดประสงค์การดำเนินงาน   การแก้ไข: เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมการประชุมได้อภิปรายถึงจุดประสงค์ ขอบเขต ขึ้นตอนการดำเนินงาน และบทบาทหน้าที่ของทีมประเมิน  นอกจากนี้ผู้แทน สจรส. ทำหน้่าที่เขียน conceptual framework เพื่่อให้เป็น core ในการพัฒนาร่างโครงการต่อไป 2. ผู้รับผิดชอบโครงการประเมินประเมินผลกระทบจังหวัดกระบี่ติดภาระกิจไม่สามสรถเข้าร่วมได้ การแก้ไข: ผู้ประสานงานได้ส่งข้อข้อมูลไปยังผู้รับผิดชอบจังหวัดกระบี่
3. ปฏิทินการดำเนินงานของโครงการในพื้นที่โครงการ 6 จังหวัด ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ประเมินผลกระทบติดตาม  ไม่เป็นปัจจุบัน หรือไม่ได้แสดงรายละเอียดเหตุผลที่ดำเนินงานโครงการล่าช้า   การแก้ไข: เสนอทีม สจรส ในการดูแลระบบในการประสานงาน ติดตาม และเพิ่มรายละเอียดในปฏิทินกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-