การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โซนภาคใต้ตอนบน
เพื่อนำเสนอผลการประยุกต์ใช้กระบวนการ HIA ในการประเมินโครงการภาคใต้ตอนบน
- ทบทวน (Review) การประยุกต์ใช้ HIA ในระบบบริการสุขภาพ
- วิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของกระบวนการ HIA
3.ถอดบทเรียนการประยุกต์ใช้ HIA ในการประเมินโครงการภาคใต้ตอนบน 4.สรุปผลการประยุกต์ใช้กระบวนการ HIA ในการประเมินโครงการภาคใต้ตอนบน 5.นำเสนอผลสรุป
จากการทบทวนการประยุกต์ใช้ HIA ในระบบบริการสุขภาพ พบว่า การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือ Health Impact Assessment (HIA) ในประเทศไทย นับเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งกฎหมายได้ให้การรับรองสิทธิประชาชนที่จะดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ และสามารถร้องขอและมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะได้คาดการณ์ผลกระทบที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม และการสร้างนโยบายสาธารณะที่ดี โดยมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบในด้านของสุขภาพ และผลเชื่อมโยงปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ ปัจเจกบุคคล สิ่งแวดล้อม และระบบบริการสุขภาพ
ข้อที่พบจาการประยุกต์ใช้ HIA มาประเมินผลโครงการภาคใต้ตอนบน มีส่วนทำให้โครงการได้รับการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้นเกิดจากร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน และร่วมประเมิน โดยสาธารณะ อันประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ผู้ได้กับผลกระทบจากโครงการ และทีมประเมิน HIA ตามกระบวนการของ HIA อันประอบด้วย Public screening Public scoping Assessing และ Public review
โครงการ ศวสต. ภาคใต้ตอนบนใน 5 จังหวัดใน 6 พื้นที่ ประกอบด้วย ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช เป็นโครงการที่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพ และมุ่
งเน้นการเชื่อมโยงการทำงานของโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และเขตสุขภาพ ซึ่งเป็นการประเมินที่ควรวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) สร้างแบบจำลอง อธิบายกลไก และข้อคิดเห็นแต่การเชื่อมโยงการทำงานของคณะกรรมการแต่ละระดับออกมาได้
จังหวัดการนครศรีฯ: โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (เหล้า บุหรี่)
- จังหวัดระนอง: โครงการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว
- จังหวัดชุมพร: โครงการการลดอุบัติเหตุ
- จังหวัดกระบี่: โครงการลดการสูบบุหรี่
HIA จึงมีส่วนสำคัญและควรประยุกต์ใช้ในการทำงานและควรเริ่มพร้อมกับโครงการในพื้นที่พัฒนาโครงร่างโครงการ
การประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอผลต่อผู้บริหาร และผู้แทนจากโครงการอื่นๆ เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนวิธีการการทำงาน และประยุกต์ใช้ HIA
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
ผู้แทนจากสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้แทนจากสำนักจัดการะบบสุขภาพ ผู้แทนโครงการระบบอาหารปลอดภัย ผู้แทนโครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผู้แทนโครงการความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนโครงการการแพทย์พหุวัฒนธรรม
การดำเนินโครงการมีระยะเวลาจำกัด ในการเห็นถึงการเปลี่ยนแปลง และการเชื่อมโยงการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในแต่ละระดับ
โครงการในพื้นที่ควรจะมีนักวิชาการในการเป็นที่ปรึกษาโครงการ
การใช้ HIA จะเกิดประโยชน์สูงสุด หากมีการตัดเลือกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ถูกต้อง และครอบคลุม
นอกจากนี้การดำเนินการรวมทั้งการประเมิน ควรมีความชัดเจนและเกิดปฏิบัติตามแผนที่ได้กำหนดไว้