สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

อำเภอเมือง พัทลุง

ประชุมติดตามประเมินความก้าวหน้าโครงการ จ.พัทลุง20 มกราคม 2566
20
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย tweet
  • โครงการที่มีความถี่มาก
  • สถานการณ์-เป้าหมาย 1 ปี
  • ข้อเสนอทางวิชาการ
  • ขอ้เสนอของทีมสื่อ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อการบริหารจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 13.00 น มีผู้ลงทะเบียนเข้าประชุม 22 คน ที่ประชุมมีมติให้นายเอิบ ชูสง เป็นประธานการประชุม ดำเนินการประชุมตามวาระต่อไปนี้
วาระที่ 1 รายงานความก้าวหน้าของ พชอ. (ไม่มี)
วาระที่ 2 รายงานความก้าวหน้าโครงการฯโดยคณะทำงาน
ทีมปฏิบัติการ
จากการประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองพัทลุง
1 ได้กลไกร่วมขับเคลื่อน 3 ฝ่าย (กลไกด้านปฏิบัติการ 4 คน /กลไกด้านสื่อ 3 คน /กลไกด้านวิชาการ 3 คน)
2. ได้สร้างความเข้าใจโครงการกับ คณะทำงาน พชอ.11 คน พชต. 17 คน สื่อ 3 คน วิชการ 3 คน และกลุ่มอื่นๆ 4 คน รวม 38 คน
3. ได้พื้นที่กองทุนเป้าหมายจำนวน 10 กองทุน
4. ได้บันไดผลลัพธ์โครงการ (กิจกรรมสู่ผลลัพธ์ /ผลลัพธ์ /ตัวชี้วัดผลลัพธ์) ที่ประชุมรับรอง ตามภาพ
5. ได้กลไก ที่ร่วมขับเคลื่อน/ติดตาม ประเมิน จากคณะทำงาน พชอ. จำนวน 10 คน (1).สาธารณสุขอำเภอ 2).ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบงานยุทธศาสตร์ 3). พัฒนาการอำเภอ 4). เกษตรอำเภอ 5). นายเอิบ ชูสงค์ ผู้แทนชมรมผู้สูงอายุ 6). นายเริ่ม เพชรศรี ผู้แทนภาคประชาชน(คลังสมองจังหวัดพัทลุง) 7). นางอารสา เหล่าเจริญสุข นักวิชาสาธารณสุข สสจ.พัทลุง 8). นางศจีรัตน์ หลีวิจิตร เภสัชกร จาก รพ พัทลุง 9).ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธาวาส 10). ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าสำเภาเหนือ)
6. ได้ประเด็นขับเคลื่อนเป็นนโยบาย พชอ. 1).ประเด็นอาหารปลอดภัย 2).ปัญหาสุขภาพจากขยะและสิ่งแวดล้อม 3).ประเด็นประชากรกลุ่มเปราะบาง

ทีมสื่อสาร
ทีมสื่อได้เสนอแนวทางการดำเนินงานสื่อสารเพื่อสนับสนุนงานขับเคลื่อน ด้วยการผลิตงานสื่อสารเชิงลึก ด้วยการติดตามการขับเคลื่อนงานพื้นที่รูปธรรมของกองทุนแบบก้าวหน้ากองทุนตำบลนาท่อม เปรียบเทียบกับกองทุนช่วงเรีบยรู้ (กองทุนตำบลนาโหนด) และหาแนวทางก่รสานพลังโดยกลไก พชอ และจะอบรมสื่อท้องถิ่นให้มากกว่าที่เขาทำได้ และที่ทำเป็นอยู่แล้วเพื่อช่วยสานพลังอีกช่องทางหนึ่ง

ทีมวิชาการ
ให้ความเห็นถึงความล่าช้าของโครงการ อันจะมีผลต่องบประมาณกองทุนที่จะถูกจ่ายออกไปให้กับโครงการที่ขอมาก่อนแล้ว เสนอให้เร่งดำเนินการทำแผนและพัฒนาโครงการ เพื่อจะได้มโครงการสนองยุทธศาสตร์ร่วมระดับ พชอ. ซึ่งอาจทำเป้นโครงการต้นแบบในประเด็นร่วม แล้วนำไปปรับใช้กับทุกพื้นที่
วาระที่ 3 การสร้างและพัฒนาแผนอำเภอผ่านเว็บ
เว็บกองทุนยังไม่พร้อมใช้งานในการสร้างแผนอำเภอ (ได้ประสานงานกับ สนส. แล้วแต่ไม่สำเร็จ) ผลการวิเคราะห์ด้วยตาราง xls. (รายละเอียดตามภาพแนบแล้ว) จากสถานการ/เป้าหมาย และประกอบกับโครงการที่มีความถี่สูงสุด 8/10 กองทุน ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ทำโครงการลดหวาน /ลดอ้วน ในทุกพื้นที่
วาระที่ 4. พิจารณากำหนด/โครงการ/ประเด็นนำด้านอาหารปลอดภัย
ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้ทำโครงการลดหวาน /ลดอ้วน ในทุกพื้นที่
วาระที่ 5 เสนอแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ต้นเดือนพัฒนาแผน(ต่ออีก 2 แผนงาน) กลางเดือนลงนามความร่วมมือ พชอ.กับกองทุน MoU
ปลายเดือน พัฒนาโครงการ วาระอื่นๆ .. AAR
ปัญหาผู้แทน พชอ. เข้าร่วมในอัตราที่ต่ำ 40% ทั้งที่ส่งหนังสือเชิญครบ ทั้งยังมีการติดตามแจ้งเตือนในกลุ่มไลน์ แนวทางแก้ไขให้ขอหนังสือเชิญจากนายอำเภอ
ปิดประชุม เวลา 15.00 น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้โครงการลดหวาน/ลดอ้วน ที่ต้องขับเคลื่อนทุกพื้นที่
  2. ได้พื้นที่ปฏิิบัติการเข้มข้นเปรียบเทียบกับพื้นที่กองทุนต้นแบบ(นาโหนด  กับนาท่อม)
  3. ได้แนวทางแก้ปัญหาความล่าช้าโดยการทำโครงการต้นแบบ ใช้กับทุกพื้นที่
  4. ได้การขับเคลื่อนกิจกรรมอาหารปลอดภัยจาก Function ของหน่วยงานใน พชอ.(พช. และ สสจ)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานปฏิบัติการ 4 คน /วิชาการ 3 คน /ศี่อสาร 3 คน
กลไกขับเคลื่อน ผู้แทนพชอ. 4 คน ผู้แทนกองทุน 7 คน
อื่นๆ 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา /อุปสรรค 1. ผู้แทน พชอ. เข้าร่วมน้อยมาก แนวทางแก้ไข ให้ใช้หนังเชิญที่ออกจากนายอำเภอ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่