เกษตรกรรมยั่งยืน
รวบรวมข้อมูล ประสานกลุ่มแกนนำภาคีและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเข้าเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์หรือแผนที่ผลลัพธ์ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน สู่โมเดล BCG ระดับพื้นที่
2.วิเคราะห์ / ประเมินทุนศักยภาพและความเป็นไปได้ในการที่จะบรรลุเป้าหมายสุขภาวะเกษตรกรและกลุ่มเป้าหมายตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยสร้างทางเลือกเชิงนโยบาย / มีแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ที่เชื่อมโยงกลุ่มองค์กร / กิจกรรมในระดับตำบลของพื้นที่ ปัจจุบันกลุ่มองค์กรที่มีการขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุน/หนุนเสริมจากองค์กรท้องถิ่น พัฒนาชุมชน เกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ฯลฯ ในเบื้องต้นแล้วนั้น ได้แก่
2.1กลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงผึ้ง มีสมาชิกจากหมู่ที่ 1 , 5, 17, 18 จำนวน 15 คน ได้เลี้ยงผึ้งโพรง
โดยวิธีทำรังขึ้นมา แล้วนำไปวางตามรอยต่อระหว่างสวนกับป่าอนุรักษ์เขารุม ป่าช่องสะท้อน และเขาเกรียบ ผลผลิตที่ได้นำไปจำหน่าย แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงต้องทำการขยับขยายให้มีการเลี้ยงผึ้งมากขึ้น ที่สำคัญผึ้งเป็นตัวบ่งชี้แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางอาหารที่มีความปลอดภัย ความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตพืช ผัก ผลไม้ โดยพื้นที่ต้องการพัฒนายกระดับการเลี้ยงผึ้งและผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งให้มีผลผลิตมากขึ้น มูลค่าเพิ่มขึ้น โดยจะมีการวางรังผึ้ง 3 จุด บริเวณรอยต่อป่าอนุรักษ์เขารุม ป่าช่องสะท้อน และเขากำแพง วัดอิฐ และจัดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในการประสานสมาชิกกลุ่ม ได้แก่ นายมนูญ สุกิจกุลานันท์ นายภิญโญ ทองหัตถา และมีพี่เลี้ยงกลุ่ม นายเล็ก นาพญา คอยให้คำปรึกษา
2,2 กลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงไส้เดือน มีสมาชิกจากหมู่ที่ 1, 9, 18 จำนวน 15 คน ได้เลี้ยงไส้เดือนในครัวเรือน นำเอามูลไส้เดือนที่ได้มาใส่พืช ผัก ที่ปลูกเอง เน้นเลี้ยงเองใช้เอง และต้องการนำมูลไส้เดือนที่ได้นอกจากใช้เอง บอกต่อคนในชุมชน ให้หันมาใช้มูลไส้เดือนแทนการใส่ปุ๋ยเคมี ให้มีผลผลิตที่ปลอดภัย แล้วอยากขยายเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ต้องการที่พัฒนาการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ และขยายสมาชิกให้มีเพิ่มมากขึ้น และให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในการประสานสมาชิกกลุ่มได้แก่ นายไพศาล มีสมบัติ และมีพี่เลี้ยงกลุ่ม นายฐากูร สันตวรนาถ คอยให้คำปรึกษา
2.3 กลุ่มเครือข่ายผลิตสารชีวภัณฑ์ มีสมาชิกกลุ่มจากหมู่ที่ 1, 5, 8, 9 จำนวน 20 คน โดยนำความรู้ที่มีมาทำสารชีวภัณฑ์ไตโครเดอร์มา ไว้ใช้เอง และต้องการที่ขยายผู้ใช้สารชีวภัณฑ์ในการทำเกษตรให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นการทำการเกษตรปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ผลิตและผู้บริโภค และขยายทำชนิดสารชีวภัณฑ์บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม ให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในการประสานสมาชิกลุ่มได้แก่ นายคนึง จันดา นายไพบูลย์ นุ้ยพิน และพี่เลี้ยงกลุ่ม นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี คอยให้คำปรึกษา
จาการสำรวจวิเคราะห์ทำให้ได้กลุ่มที่จะพัฒนาได้จำนวน 3 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น เพื่อที่จะนำไปสู่แผนในขั้นตอนต่อไป คือการพัฒนากลุ่มเพื่อยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้ให้มีคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยขับเคลื่อนจากการผลิต (ต้นน้ำ) การแปรรูป (กลางน้ำ) และการตลาด (ปลายน้ำ) เพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนของพื้นที่ชุมชน
3.แผนกิจกรรมใน 3 กลุ่ม คือกลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงผึ้ง กลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงไส้เดือน และกลุ่มเครือข่ายสารชีวภัณฑ์
-กลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงผึ้ง มีความต้องการอบรมการเลี้ยงผึ้ง การพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และรังผึ้งเพื่อขยายการผลิต จำนวน 50 รัง โดยคาดว่าจะมีกิจกรรมนี้ประมาณช่วงเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน 2566
-กลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงไส้เดือน มีความต้องการอบรมการเลี้ยงไส้เดือน การพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ นำไปสู่มูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีกิจกรรมนี้ประมาณช่วงเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน 2566
กลุ่มเครือข่ายสารชีวภัณฑ์ มีความต้องการอบรมการทำสารชีวภัณฑ์นำไปใช้ในการทำเกษตร และสามารถนำความรู้นี้ไปขยายต่อในพื้นที่ได้ เพื่อนำไปสู่ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ และต้องการที่จะสร้างรายได้จากสารชีวภัณฑ์
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ปลัด อบต.คณะทำงาน แกนนำและกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่และใกล้เคียง