ชุมชนสีเขียว
เพื่อหาแนวทางการจัดทำสมัชชาชุมชนสีเขียวระดับประเทศ
17.00 – 17.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม
โดย นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่
ที่มาของการจัดทำนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมด้านความความมั่นคงทางอาหาร ประเด็น ชุมชนสีเขียว
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
17.30 – 17.45 น. การดำเนินงานด้านความมั่นคงทางอาหารบนฐานคิดชุมชนสีเขียว เกษตรทฤษฎีใหม่และ เศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
17.45 – 18.45 น. การหารือแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านความมั่นคงทางอาหาร ประเด็น ชุมชนสีเขียว โดย เครือข่ายผู้เข้าร่วมประชุม 4 ภาค
• กลไกคณะทำงานในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
• การจัดทำสมัชชาเชิงประเด็นชุมชนสีเขียว
• รูปแบบการปฏิบัติการในพื้นที่
ดำเนินกระบวนการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
18.30 – 19.00 น. สรุปแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านความมั่นคงทางอาหาร
ประเด็นชุมชนสีเขียว
โดย สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เครือข่ายผู้เข้าร่วมประชุม 4 ภาค
สรุปแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การจัดทำสมัชชาเชิงประเด็นชุมชนสีเขียว การขับเคลื่อนเรื่องชุมชนสีเขียวในระดับนโยบายใช้กลไกสมัชชาสุขภาพผลักดันผ่านนโยบายแห่งชาติเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) และเข้าสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายในระดับต่อไป โดยมีแนวทาง 1) ทาง สช.ตั้งคณะกรรมการสมัชชาขึ้นมา 1 ชุด มี นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์) เป็นประธาน และมีฝ่าย สช.เป็นเลขานุการ กรรมการมีตัวแทนที่มาจากทุกภาค (สสส. สปสช.กระทรวงหน่วยงานภาครัฐ) และตั้งอนุกรรมการ 3 อนุ ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่จะทำนโยบายสาธารณะขับเคลื่อนทั้งประเทศ
จัดตั้งคณะกรรมการเชิงประเด็นชุมชนสีเขียว (คณกรรมการกลาง)
• ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธาน
• ผู้แทน 6 ภาค ภาคละ 2 คน กรรมการ
• หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรรมการ
• คณะอนุวิชาการ กรรมการ
• อนุจัดสมัชชาสุขภาพ กรรมการ
• คณะอนุสื่อสาร กรรมการ
• เลขาคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กรรมการ
คณะอนุกรรมการมีผู้แทนภาคละ 3 คน
• คณะอนุวิชาการ
• คณะอนุจัดสมัชชาสุขภาพ
• คณะอนุสื่อสาร
2) มีคณะทำงานด้านวิชาการเข้ามาช่วยปรับขอบเขตงานให้ชัดขึ้น
3) สรุปมุมมองชุมชนสีเขียวของทุกคนที่ให้ข้อมูลมาในเบื้องต้น และจัดทำภาพฝัน หรือภาพอนาคต เรื่องชุมชนสีเขียวที่ทำอยู่ในตอนนี้จะมีภาพฝันที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ขับเคลื่อนร่วมกัน คือ สีเขียว และคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน เริ่มต้นจากหมู่บ้านเล็กๆก่อนขยายไปยังตำบล
4) อยากให้เห็นภาพการปฏิบัติโดยใช้ประสบการณ์ เช่น บ้านมาบเอื้อง หมู่บ้านที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา ซึ่งจะได้ตัวแบบชุมชนสีเขียวที่มาบเอื้อง สิ่งที่จะขับเคลื่อนต่อไปเป็นข้อมูล เรื่องมิติต่าง ๆ และเก็บข้อมูลให้ครบชุดรวมไปถึงโคกหนองนาโมเดล เรื่องการลดเลิกสารเคมี อันนี้เป็นข้อมูลที่นำไปสู่เกษตรยั่งยืนให้ดู โคกหนองนาโมเดล เกษตรทฤษฎี และวนเกษตรธรรมชาติ และอยู่ภายใต้ BCG โมเดลให้บรรลุเป้าหมาย SDG
5) กระบวนการเรียนรู้ทำ 3 เรื่อง คือ 1) การพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้ฐานทรัพยากร ซึ่งได้ทำกระบวนการเรียนรู้ในระดับครอบครัวที่ผ่านมามีรูปธรรมเกิดขึ้นมากมาย โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ความยั่งยืนในเรื่องความมั่นคงทางอาหารที่พยายามขับเคลื่อนการพัฒนาที่มีกระบวนการมากขึ้น ตอนนี้มีเครือข่าย 4 ภาค และมีเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงแห่งประเทศไทย และพยายามขับเคลื่อนไปเชื่อมโยงกับชุมชนสีเขียว 2) มองเครือข่ายให้เข้มแข็ง และ 3) มองเรื่องชุมชนสีเขียว
และมีประเด็นที่ทำร่วมกันใน 3 เรื่อง คือ การใช้ดิจิตอลเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรผ่านสื่อในการพัฒนา การสร้างรูปธรรมของรูปแบบเกษตรต่าง ๆ และการประกอบการในวิถีเกษตรและกิจการที่เกี่ยวเนื่อง
6) ถ้ามองภาพเดียวกันได้คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน คือ การไม่ใช่สารเคมีอันนี้ตัวประเมินชุมชนสีเขียวของเกษตรยั่งยืน และเป็นชุมชนสีเขียว และโจทย์การผลิตมีที่ขายต้องมีตลาด มีการพึ่งพาและตัวชี้วัดสำคัญต้องลดสารเคมีลงไป
()
ประกอบด้วย
- นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์)
- สมัชชาสุขภาพ 4 ภาค
- เครือข่ายเกษตรกรรม 4 ภาค
- ผู้ประสานงานโหนดเฟรสซิบ 4 ภาค
- คณะทำงานชุมชนสีเขียวภาคใต้
- สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
- สำนักงานกองทุนสน้บสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
- สถาบันนโยบายสาธารณะ
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี