สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

นโยบายสวนยางยั่งยืน

ประชุมความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานสวนยางยั่งยืนภาคใต้5 มีนาคม 2566
5
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • กำหนดการรายงานพื้นที่ถ้ำพรรณรา.docx
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการจัดทำสวนยางยั่งยืน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานคณะทำงานระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดหรือ  เขต กยท. (ใต้บน-ใต้กลาง-ใต้ล่าง)  ปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนความร่วมมือเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด
ทั้งนี้บางจังหวัดหรือเขตพื้นที่ กยท.  อาจบูรณาการร่วมกับกิจกรรมตามแผนงานของหน่วยงานในพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดข้อมูลการขับเคลื่อนงานและเรียนรู้ระบบการจัดการสวนยางสวนยางยั่งยืน หรือการเปลี่ยนสวนยางเชิงเดี่ยวให้มีความสมดุลนิเวศ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ปลูกพืช-ทำปศุสัตว์ร่วมการปลูกยาง ซึ่งเป็นการแก้ไขอย่างยั่งยืน อีกทั้งก็ไม่ใช่ประเด็นใหม่ ทว่า จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนที่มีความเข้าใจทำให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่าง “เกษตรกร” ต้องไม่นิ่งเฉย การปลูกพืชแซมยาง อาทิ ผักพื้นบ้าน กาแฟสายพันธุ์ต่างๆ  พืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ อาทิ ไม้สัก จำปาทอง ตะเคียนทอง รวมทั้งหันมาทำเกษตรผสมผสาน เช่น เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงแพะ ทำฟาร์มเห็ด ฯลฯ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความอยู่รอด การทำการเกษตรต้องดูความเหมาะสมของพื้นที่ซึ่งทางภาคใต้ควรทำ 3 สิ่ง คือ ปลูกยาง/ปาล์ม/ผลไม้ เพื่อสร้างความมั่นคง โดยการใช้ยางเป็นรายได้รายวัน ปาล์มรายเดือน/ผลไม้รายปี คำว่าเกษตรกรรมยั่งยืนไม่ใช่แค่สวนยางแต่ต้องมีอย่างอื่นเพื่อให้เกิดการพึ่งพิง การทำสวนยางลงทุนครั้งเดียวมีรายได้ตลอดยางคือพืชมหัศจรรย์ในการแก้ปัญหาครอบครัว เช่น หากเรามียางสามารถกรีดขายได้เงินทันทีและขายได้เกือบทุกส่วน ทำอะไรก็ตามให้เขามาขอซื้อ เราอย่าไปขอให้เค้าซื้อ
บำนาญชีวิตของเกษตรกร ต้องเริ่มวางแผนชีวิต ทำอย่างไร อะไรคือความยั่งยืนของชีวิตหากถึงเวลาที่เราอายุมากขึ้นจะได้มีเงิน มีผลตอบแทนจากสิ่งที่ทำ ดุลภาพชีวิตกับธรรมชาติ  ในโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงจึงต้องมี 3 ส่วน คือ  ประสบการณ์/วิชาการ/เทคโนโลยี  การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง คือ การมีแผนที่เป็นของตัวเองและสำคัญคือ การอย่าทำตามกระแส  จริธรรม จริยศาสตร์ ของการดำรงชีวิต
  ยางพาราจะมีราคาไม่คงที่บางครั้งราคาตกต่ำเกษตรกรจึงต้องปลูกพืชผสมผสานโดยได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในพื้นที่ปลูกยางพารา  การปลูกพืชผสมผสานทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องและการทำผสมผสานต้องมีทั้งเรื่องพืช ประมง ปศุสัตว์ ต้องทำร่วมกันทั้งหมดจึงจะอยู่ได้ หากเอาเฉพาะแต่พืช หรือ ปศุสัตว์หรือ ประมง เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ ต้องนำมาผสมผสานทั้งหมดเป็นสวนยาง ปลูกพืชร่วมยาง ทั้งไม้ไผ่  ผักเหรียง และพืช หลายชนิด ผสมผสานกัน ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ ให้มากที่สุด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

เกษตรกรผู้ทำแผนแม่บทยางพารา/แกนนำเกษตรกรถ้ำพรรณราและทีมวิชาการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่