สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

นโยบายสวนยางยั่งยืน

ประชุมจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน (5รูปแบบ) สวนยางยั่งยืน รูปแบบสหกรณ์17 มีนาคม 2566
17
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • กำหนดการรายงานสหกรณ์คอคอดกระ.docx
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการจัดทำสวนยางยั่งยืน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานทีมและรวบรวมข้อมูลการขับเคลื่อนงานทำหนังสือเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องจัดประชุมตามกำหนดการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1)ผลงาน เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานของสหกรณ์ฯ  ซึ่งมีสมาชิก 700 ราย และมีสมาชิกผู้ที่ร่วมธุรกิจกับสหกรณ์ฯ จำนวน 400 ราย    ซึ่งดำเนินธุรกิจดังนี้ 1)รวบรวมผลผลิต ทั้งยางพารา (ยางแผ่น โดยใช้ระบบประมูลผ่านอิเล็คโทรนิค  และยางก้นถ้วย)  และลานเทปาล์มน้ำมัน  2)จัดการและจำหน่ายปัจจัยการผลิต ทั้งปุ๋ยผสม  น้ำกรดยางพารา  และปัจจัยการผลิตอื่น  3)ร้านค้าสหกรณ์  3)สินเชื่อเพื่อการผลิต  โดยมีสินทรัพย์หมุนเวียน  23.5 ล้านบาทต่อปี      และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง  ภายใต้โครงการโรงรวบรวมยางก้นถ้วย  และการผลิตน้ำกรดยาง  และโครงการพืชร่วมยาง เมื่อปี 2565 คณะกรรมการสหกรณ์ฯ  มีมติเห็นชอบในการดำเนินงานเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งต้องมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน และนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 66 นี้ จะได้แผนปฏิบัติการและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนต่อไป  รวมทั้ง 2) การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน:สวนยางยั่งยืน ผ่านกลไกสหกรณ์กองทุนสวนยางคอคอดกระ มีแนวทางสำคัญ โดยข้อสรุปที่ต้องขับเคลื่อนต่อ 1)พัฒนาระบบกลไกสหกรณ์ฯ ให้มีแผนแม่บทการพัฒนาการเกษตร  แผนปฏิบัติการ. เตรียมโครงการสำคัญ เช่น การแปรรูปยางพารา. ต่อยอดจากกิจการรวบรวมยางแผ่น/ยางก้นถ้วย.  ฯ และการมีผู้ประสานงาน/พี่เลี้ยงเกษตรกร. ที่จะทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. กยท.-กษ....ยกร่างแผนงาน เพื่อนำเข้าสู่การประชุมสามัญประจำปีอีก 3 เดือนข้างหน้า 2)เกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืน กับมวลสมาชิก 700 ราย  กับ  2 กลุ่มตามเงื่อนไขการสนับสนุน กยท.    กลุ่มที่ขอสนับสนุนปลูกแทน. กยท.3 สวนยางยั่งยืน.  ไร่ละ 16,000 บาท. และกลุ่มที่ทำพืชร่วมยาง (ไม่โค่นแต่ปลูกพืช ไม้เสริม ร่วมกับประมง/ปศุสัตว์  สร้างอาหารในครัวเรือน
3) การเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานจัดการสวนยางยั่งยืน ffc  และมาตรฐานอื่นๆ  เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร. เชื่อมโยงการตลาด 3)รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนสมัยใหม่  (แปลงเกษตร นายอุดม  คำแป้น) คือจัดการผังแปลงและพืชให้เหมาะสม ลดความเสี่ยง. หลากหลายพืชพรรณ และการผลิตพืชสัตว์ด้วยการ
1)ออกแบบวางผังแปลง และสร้างแหล่งน้ำ (สระน้ำ/บาดาล/ลำห้วย-ลำน้ำ. ทำฝายชะลอน้ำ)
2)ขุดคลองใส้ไก่หรือ ร่องน้ำตักตะกอน ซ่วยดูดซับน้ำและตะกอนดิน โดยเฉพาะพื้นที่ลาดชัน
3)ใช้กล้วยปลูกนำ รักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มอินทรีย์วัตถุ กับหญ้า 4)ปลูกพืชหลัก. พืชรอง. พืชเสริม. แปลงนี้ ทุเรียนปลูกคู่แบบระยอง. คั่นระหว่างด้วยมะพร้าว. และโกโก้ ทิศทางการรับแสง
5)ลดต้นทุนด้วยผลิตปุ๋ยหมัก คอก จากขึ้หมูหลุม และเป็นรายได้ให้เป็นค่าใช้จ่ายแก่แรงงานในแปลง ปัจจุบัน อ.อุดม คำแป้น. มีรายได้จากกล้วย. และโกโก้. เริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้ว พัฒนาการแปรรูปด้วยคนรุ่นใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 16 คน
ประกอบด้วย

ผอ.กยท.ระนอง/เจ้าหน้าที่เกษตรระนองและคณะทำงานสหกรณ์สวนยางคอคอดกระ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่