สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

จัดเวที HIA Screening and Scoping27 มีนาคม 2562
27
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อาจารย์สายสุนีย์ จำรัส
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดการกำหนดขอบเขตของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) ผู้ดำเนินโครงการอธิบายวัตถุประสงค์ ที่มาและความสำคัญ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในโครงการ 2) เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซักถามประเด็นต่างๆ ที่มีข้อสงสัย รวมถึงพิจารณาและทบทวนรายละเอียดกิจกรรมสำคัญของโครงการ 3) ผู้วิจัยชี้แจงรายละเอียดบทบาทหน้าที่ และการประยุกต์ใช้ HIA ในการประเมินโครงการ รวมถึงช่วยเติมเต็มรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ที่เห็นว่ามีความสำคัญ อันจะทำให้โครงการสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในโครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสูบบุหรี่และดื่มเหล้าในกลุ่มนักเรียนมัธยมต้นโดยกองทุนท้องถิ่น อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช พบประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้       4.1 ผลผลิต/ผลลัพธ์ของการมีส่วนร่วม การจัดให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทำให้เกิดแกนคณะทำงานโครงการฯ และผลผลิต/ผลลัพธ์ต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 1 ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการ แสดงดังต่อไปนี้

  • เกิดแกนคณะทำงานโครงการฯ จำนวน 6 คน
  • คณะทำงานโครงการ สามารถบูรณาการประเด็นปัจจัยเสี่ยงเข้ากับงานเดิมที่ดำเนินการอยู่
  • เกิดกลไก/เครือข่าย คือศูนย์ควบคุมปัจจัยเสี่ยง สคล.ใต้บน สพม. 12  เครือข่ายเยาวชนนครศรีธรรมราช พี่เลี้ยงกองทุนตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชมรมผู้สูงอายุ
  • เกิดทีมสนับสนุน จำนวน 2 คน
  • เกิดเครือข่ายเยาวชน จำนวน 12 เครือข่าย
  • เกิดแกนนำ/พี่เลี้ยง เยาวชน จำนวน 20 คน
  • เกิดการนำเสนอประเด็นปัจจัยเสี่ยงต่อฝ่ายนโยบายในจังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การจัดงานโดยไม่มีเหล้าและบุหรี่
  • เกิดมติสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเด็นการปกป้องเด็กและเยาวชนจากเหล้า บุหรี่ แบบบูรณาการ
  • เกิดแกนนำปฏิบัติการหลักระดับกองทุน 6 คน
  • เกิดการสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนฯ จำนวน 6 กองทุน
  • เกิดกองทุนฯ ที่ดำเนินโครงการด้านการลดปัจจัยเสี่ยงนำร่อง จำนวน 10 โครงการ (6 กองทุน)
  • เกิดการดำเนินงานด้านการลดปัจจัยเสี่ยง ขยายผลในระดับคือ จังหวัด อำเภอ ตำบล (อำเภอเมืองอยู่ในขั้นรอการนำเสนอ)
  • เกิดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน
  • มีข้อมูลด้านปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ของเด็กและเยาวชน ระดับมัธยมต้น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากการศึกษาเชิงสำรวจ (survey study) ในเชิงปริมาณและคุณภาพ
  • องค์กร/หน่วยงานให้การยอมรับในฐานข้อมูล เนื่องจากมีการรับรองโดยสถาบันการศึกษาคือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ความร่วมมือด้านการลดปัจจัยเสี่ยงกับสถานศึกษาระดับมัธยมในเขตอำเภอเมือง และ สพม.12
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

1) ผู้ดำเนินโครงการ 2) ทีมผู้วิจัย 3) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ในระบบสุขภาพชุมชน ได้แก่
        3.1) กลุ่มหรือองค์กรประชาชน จํานวน 1 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากจากประชาคมงดเหล้า 3.2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 6 คน ซึ่งเป็นผู้แทนจากกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 6 ตำบล 3.3) องค์กรด้านสุขภาพ จํานวน 1 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 11
3.4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จํานวน 1 คน         3.5) องค์กรทางวิชาการ จํานวน 1 คน ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี