สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ พังงา (ตำบลมะรุ่ย)

เวทีขับเคลื่อนแผนงานสู่เป้าหมาย มะรุ่ยแห่งความสุข8 ตุลาคม 2565
8
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย น.ส.จินดา สวัสดิ์ทวี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำเสนอแผนกิจกรรมและคณะทำงานในการทำงานตามแผนกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมนักวิชาการ  (ดร จินดา สวัสดิ์ทวี) ได้อธิบายและชี้แจงกิจกรรมในแต่ละ Phase ของโครงการ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการในแต่ละ Phase โดยเริ่มจากกิจกรรมใน Phase1 ที่จะต้องเริ่มดำเนินการในการรวบรวมและทบทวนรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการภัยพิบัติ และแผนผังทรัพยากรของพื้นที่ การวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้นจากการจัดการท่องเที่ยวที่ผ่านมา การวิเคราะห์จุดเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงทิศทางการทำ Mapping ฐานทรัพยากรของตำบล (ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว จุดเสี่ยงภัยพิบัติและฐานต้นทุนทรัพยากร อื่นๆ) เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรมตามแผนในโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
  ได้ทิศทางในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ มะร่ยแห่งความสุข โดยในการดำเนินงาน จะเริ่มจาก 2 กิจกรรม แรก คือ ฐานข้อมูลทรัพยกรธรรมชาติของตำบล เพื่อทบทวนข้อมูลพื้นฐานในชุมชน รวมไปถึงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติ

ผลลัพธ์   ได้คณะทำงานในการขับเคลื่อน โดยกิจกรรมแรกจะเป็น กิจกรรมการจัดทำแผนที่ฐานทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ของฐานทรัพยากร ในอนาคต สำหรับกิจกรรมที่ 2 เป็นการรวบรวมข้อมูลกลุ่มเปราะบางของพื้นที่ตำบลมะรุ่ย และการจัดเก็บข้อมูลความเปราะบางต่างๆ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

ดร จินดา สวัสดิ์ทวี นักวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต นายไมตรี จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท
นาย มนตรี พลันการ นายกเทศมนตรี ตำบลมะรุ่ย นาย ขยาย ทองหนูนุ้ย ผอ ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน สทร.๖ รวมทั้งภาคประชาสังคมและประชาชนในตำบลมะรุ่ย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ในการจักกิจกรรม ภาคประชาชนและคนในพื้นที่ ยังคงสับสนและให้ความสนใจในกิจกรรมค่อยข้างน้อย
แนวทางในการแก้ไข
    1  ในการดำเนินกิจกรรมครั้งถัดไป จะต้องลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่มากขึ้น       2  ในการดำเนินกิจกรรมจะต้องให้คนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การพัฒนามะรุ่ยแห่งความสุข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

1  จัดกิจกรรมครั้งถัดไป ต้องจัดในพื้นที่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจมากยิ่งขึ้น 2  เพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชน ในชุมชนเห็นความสำคัญของโครงการมากขึ้น เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพการขับเคลื่อนโครงการมากยิ่งขึ้น

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-