ประชุมเวทีสาธารณะ ศาลาด่านโมเดล สู่ปฎิญญาอ่าวลันตา เส้นทางท่องเที่ยวชาติพันธุ์เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
กิจกรรม : ประชุมเวทีสาธารณะ ศาลาด่านโมเดล สู่ปฎิญญาอ่าวลันตา เส้นทางท่องเที่ยวชาติพันธุ์เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
วันที่ 19/07/2023 - 20/07/2023
งบประมาณที่ตั้งไว้ 123,825.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 60 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย คณะทำงานศาลาด่านโมเดล
อำเภอเกาะลันตา
เทศบาลตำบลศาลาด่าน
สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว
หน่วยงานรัฐ สนง.วัฒนธรรม จ.กระบี่ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กระบี่
ภาคประชาสังคม มูลนิธิอันดามัน
ภาคเอกชน
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ตัวแทนประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาด่าน
ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์
สื่อมวลชน
นักวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
ผู้บริหาร อาจารย์ นักวิชาการ จาก สนส. ม.อ.
ผู้บริหาร สสส
อำเภอเกาะลันตา
เทศบาลตำบลศาลาด่าน
สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว
หน่วยงานรัฐ สนง.วัฒนธรรม จ.กระบี่ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กระบี่
ภาคประชาสังคม มูลนิธิอันดามัน
ภาคเอกชน
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ตัวแทนประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศาลาด่าน
ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์
สื่อมวลชน
นักวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่
ผู้บริหาร อาจารย์ นักวิชาการ จาก สนส. ม.อ.
ผู้บริหาร สสส
รายละเอียดกิจกรรม :
อำเภอเกาะลันตาบูรณาการทุกภาคส่วนขับเคลื่อนพื้นที่ต้นแบบ “ศาลาด่านโมเดล” ชูการท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเกาะลันตา
เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วันที่ (19 ก.ค.66) เวลา 13.30 น. ณ โรงแรมเซาท์เทิร์น ลันตา รีสอร์ท อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา เป็นประธานการแถลงข่าว การบูรณาการร่วมขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน พร้อมด้วยนายกิตติชัย เอ่งฉ้วน รองนายก อบจ กระบี่ นายพงศ์สวัสด์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,นาวาโทมานพ สืบสาย ผบ.หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ ,นายวิชิต ยะลา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา และนายประดิษฐ์ นิ่งไตรรัตน์ จาก สสส เข้าร่วม
ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวว่า สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.) ได้ลงมาทำงานบริการวิชาการในพื้นที่เพื่อหนุนงานการพัฒนา โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการรวบรวมจัดทำฐานทรัพยากรในพื้นที่ ทั้งฐานทรัพยากรธรรมชาติ วิถีวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งภัยคุกคามทางธรรมชาติ สาธารณภัย ภัยพิบัติและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการร่วมคิดร่วมสร้างให้เกิดความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถีวัฒนธรรม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนปฏิญญาอ่าวลันตา ของอำเภอเกาะลันตา มีกระบวนการการรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ และการจัดเวทีการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น มีนักวิจัยจากทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำหลักวิชาการมาวิเคราะห์สรุปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกโซนในตำบลศาลาด่าน เป็นพื้นที่ต้นแบบ ศาลาด่านโมเดล เส้นทางต้นแบบ “การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” และได้นำเสนอเป็นนโยบายสาธารณะให้กับทางเทศบาลตำบลศาลาด่านประกาศเป็นนโยบายการพัฒนาต่อไป
นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา มีความยินดีและขอบคุณทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสสส. และภาคีต่าง ๆ ที่ได้มาขับเคลื่อนกับทางเทศบาลตำบลศาลาด่าน ร่วมกับทางอำเภอเกาะลันตา ทางผู้นำ ท้องที่ ท้องถิ่น ของตำบลศาลาด่าน ถือว่าเป็นโครงการที่สำคัญ ในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของปฏิญญาอ่าวลันตา และเป็นเจตน์จำนงร่วมในการพัฒนาตำบลศาลาด่าน และอำเภอเกาะลันตา ที่น่าสนใจก็คือการที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวกระแสหลักควบคู่กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวโดยวิถีชาติพันธุ์ ในพื้นที่ตำบลศาลาด่าน ซึ่งจะเป็นการสร้างความยั่งยืนในกับพื้นที่ ความยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชน จะทำอย่างไรให้ชุมชนโต๊ะบาหลิว หมู่ที่ 1 บ้านศาลาด่าน ซึ่งเป็นชุมชนของพี่น้องชาวเล ซึ่งมีลักษณะเฉพาะทางชาติพันธุ์ ลักษณะเฉพาะทางวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การทำมาหากิน การประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้านของชาวเล เป็นสิ่งที่น่าอนุรักษ์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
ทั้งหมดทั้งมวล ถูกผูกโยงเพื่อที่จะอนุรักษ์ แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ขยายผลไปยังการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของป่าโกงกางผืนใหญ่ ตั้งแต่หมู่ 1 บ้านศาลาด่าน ไปที่หมู่ 5 บ้านโล๊ะดุหยง และชุมชนท่องเที่ยวสำคัญหมู่ 4 บ้านทุ่งหยีเพ็ง ตรงนี้จะเป็นกิจกรรมที่เป็นอีกไฮไลท์สำคัญที่จะได้ช่วยกันขับเคลื่อนพัฒนา ศาลาด่านโมเดล สอดรับกับปฏิญญาอ่าวลันตา และเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ต่อไป
นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน ได้กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนชาวตำบลศาลาด่านได้อยู่ดีมีสุข มีสิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี มีความปลอดภัย และเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายที่ทางสถาบันการศึกษาได้มานำเสนอ เป็นผลจากกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การพัฒนาของตำบลศาลาด่านมีความรอบด้านมากยิ่งขึ้น ต้องขอบคุณทาง ม.อ. ทาง สสส. และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน สิ่งที่เราได้รับถือว่าเป็นโอกาสที่ดี และจะได้นำเสนอสภาเทศบาล ตามกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ถ้ามันสามารถเกิดขึ้นได้จริง ตามที่เราวางแผนกัน ก็จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ ที่เขารอโอกาส ได้ทำงาน ได้สร้างฐานะด้วยตัวของเขาเอง โดยเฉพาะหมู่ที่ 5 ที่เรากำลังจะพูดถึง ไปเชื่อมโยงกับท่องเที่ยวที่ทุ่งหยีเพ็ง
สำหรับการประกาศแผนพัฒนาในส่วนนี้ เราจะใช้หลักการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล เนื่องจากว่าตำบลศาลาด่านเรามีวิถีชีวิตที่อยู่รวมกันหลายศาสนาวัฒนธรรม เรียกว่าพหุวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องชาวไทยเชื้อสายมุสลิมดั้งเดิม พี่น้องชาวอุรักลาโว้ย รวมถึงพี่น้องชาวจีนโพ้นทะเล และชาวไทยพุทธที่มาในสายของข้าราชการ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ศาลาด่านโมเดลเหล่านี้ เราจะต้องแสดงหรือประชาสัมพันธ์ให้เขาได้รับรู้ว่า วิถีชีวิต อัตลักษณ์ของศาลาด่าน เราเป็นแบบนี้ เราควรจะต้องมีเรื่องราวให้ผู้มาเยือนให้ทราบถึงความเป็นไปและเคารพในความเป็นศาลาด่านโมเดลให้ทราบทั่วกัน
นายวิชิต ยะลา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา ได้ให้มุมมองถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวกระแสหลัก และการท่องเที่ยวกระแสรอง คือการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำเป็นต้องมีการหนุนเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน จะเป็นกลไกสำคัญในการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิถีวัฒนธรรม สำหรับศาลาด่านโมเดล ที่ได้มีการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าด้านการท่องเที่ยวจากกลุ่มนักท่องเที่ยวกระแสหลัก ที่จะมีการพัฒนาการบริการให้มีคุณภาพมาตรฐาน สำหรับในประเด็นเรื่องความปลอดภัย นับว่าจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ จะเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้แก่ชาวเกาะลันตาและนักท่องเที่ยว ในภาคเอกชนก็มีความยินดีอย่างยิ่งในการให้ความร่วมมือ กับทั้งทางอำเภอเกาะลันตาเพื่อหนุนเสริม ปฏิญญาอ่าวลันตา กับทางเทศบาลตำบลศาลาด่าน ในการช่วยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ และกับสถาบันการศึกษาที่นับว่าเป็นคุณูปการกับพื้นที่ในการยกระดับด้านความรู้ศักยภาพต่าง ๆ ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ จาก สำนักพัฒนาภาคสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทุนในการขับเคลื่อนงานในครั้งนี้ ได้กล่าวถึง ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ภารกิจของ สสส. เป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีใน 4 มิติ ทั้งกาย จิต สังคม ปัญญา ซึ่งการขับเคลื่อนงาน ศาลาด่านโมเดลนับว่า เป็นการทำงานของภาควิชาการควบคู่กับท้องถิ่น ท้องที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ประเด็นหลักคือความมั่นคงด้านฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงไปถึงด้านเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม เหล่านี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเกาะลันตาโดยภาพรวม ซึ่งทาง สสส. ก็รู้สึกยินดี และพร้อมจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งให้คนเกาะลันตาและผู้มาเยือนเกาะลันตาได้มีโอกาสในการได้รับการพัฒนาที่ดี เป็นสังคมสุขภาวะ เท่าทันโลกของความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
เวทีสาธารณะ “ศาลาด่านโมเดล สู่ปฏิญญาอ่าวลันตา” เส้นทางท่องเที่ยวชาติพันธุ์ (Ethnic Tourism) เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism) “การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”
???? วันที่ 20 ก.ค. 66 เริ่มเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมเซาท์เทิร์น ลันตา รีสอร์ท นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตตา กล่าวเปิดการประชุม “ศาลาด่านโมเดล” กับปฏิญญาอ่าวลันตา นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน กล่าวรายงานความก้าวหน้างานศาลาด่านโมเดล การทำงานร่วมกับภาควิชาการ สมส.ม.อ. และ ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม หัวหน้าทีมวิชาการการวิจัยการจัดการภัยพิบัติและการท่องเที่ยวโดยชุมชนอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติควบคู่การท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย (ศาลาด่านโมเดล) ทำหน้าที่พิธีกรดำเนินรายการ ดังนี้
???? ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงบทบาทสถาบันการศึกษากับความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่
???? ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ สนส.ม.อ. กล่าวถึงการทำงาน 4 ประเด็นหลัก ในภาคใต้
???? นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ สำนักงานพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการหนุนเสริมภาคีเครือข่ายการทำงานสู่สังคมสุขภาวะ
???? ดร.อดิเรก มากผล นักวิชาการสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความเสี่ยงและโอกาสการพัฒนาต่อบริบทความเปลี่ยนแปลงของเกาะลันตา
???? ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม นักวิชาการผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงาน “ศาลาด่านโมเดล”
???? ตัวแทนจาก 3 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 นายโอ้น ช้างน้ำ ตัวแทนชุมชนโต๊ะบาหลิว หมู่ที่ 5 นายบัญญัติ ก๊กใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านโล๊ะดุหยง และหมู่ที่ 4 นายนราธร หงส์ทอง แกนำชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง นำเสนอโอกาสและความท้าทาย การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เชื่อมโยง การท่องเที่ยวชาติพันธุ์ (Ethnic Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism และ Low Carbon Tourism)
???? นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน และคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลศาลาด่าน นำเสนอแนวทางการประกาศ “ศาลาด่านโมเดล” โดยนำร่องพื้นที่ต้นแบบ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 4 มาตรการคุ้มครองพื้นที่เปราะบาง “เกาะแร้ง” เพื่ออนุรักษ์ปะการัง โดยสงวนสิทธิ์การนำเที่ยวด้วยวิถีชาวเล เพื่อความปลอดภัย การอนุรักษ์ และสร้างการตลาดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ (Ethnic Tourism) เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism)
???? ปิดท้ายโดยการร่วมแสดงความคิดเห็น และหน่วยงานภาคีต่างๆ ร่วมแสดงเจตจำนงในการส่งเสริม หรือสนับสนุนการขับเคลื่อนงานศาลาด่านโมเดล ได้แก่ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และอื่นๆ ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เข้าร่วม และการบอกเล่ามุมมองจากการได้ลงพื้นที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมปิดการประชุมโดยนายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน
อำเภอเกาะลันตาบูรณาการทุกภาคส่วนขับเคลื่อนพื้นที่ต้นแบบ “ศาลาด่านโมเดล” ชูการท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเกาะลันตา
เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วันที่ (19 ก.ค.66) เวลา 13.30 น. ณ โรงแรมเซาท์เทิร์น ลันตา รีสอร์ท อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา เป็นประธานการแถลงข่าว การบูรณาการร่วมขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน พร้อมด้วยนายกิตติชัย เอ่งฉ้วน รองนายก อบจ กระบี่ นายพงศ์สวัสด์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,นาวาโทมานพ สืบสาย ผบ.หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ ,นายวิชิต ยะลา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา และนายประดิษฐ์ นิ่งไตรรัตน์ จาก สสส เข้าร่วม
ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวว่า สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.) ได้ลงมาทำงานบริการวิชาการในพื้นที่เพื่อหนุนงานการพัฒนา โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการรวบรวมจัดทำฐานทรัพยากรในพื้นที่ ทั้งฐานทรัพยากรธรรมชาติ วิถีวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งภัยคุกคามทางธรรมชาติ สาธารณภัย ภัยพิบัติและความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการร่วมคิดร่วมสร้างให้เกิดความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถีวัฒนธรรม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนปฏิญญาอ่าวลันตา ของอำเภอเกาะลันตา มีกระบวนการการรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ และการจัดเวทีการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น มีนักวิจัยจากทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำหลักวิชาการมาวิเคราะห์สรุปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกโซนในตำบลศาลาด่าน เป็นพื้นที่ต้นแบบ ศาลาด่านโมเดล เส้นทางต้นแบบ “การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” และได้นำเสนอเป็นนโยบายสาธารณะให้กับทางเทศบาลตำบลศาลาด่านประกาศเป็นนโยบายการพัฒนาต่อไป
นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา มีความยินดีและขอบคุณทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสสส. และภาคีต่าง ๆ ที่ได้มาขับเคลื่อนกับทางเทศบาลตำบลศาลาด่าน ร่วมกับทางอำเภอเกาะลันตา ทางผู้นำ ท้องที่ ท้องถิ่น ของตำบลศาลาด่าน ถือว่าเป็นโครงการที่สำคัญ ในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของปฏิญญาอ่าวลันตา และเป็นเจตน์จำนงร่วมในการพัฒนาตำบลศาลาด่าน และอำเภอเกาะลันตา ที่น่าสนใจก็คือการที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวกระแสหลักควบคู่กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวโดยวิถีชาติพันธุ์ ในพื้นที่ตำบลศาลาด่าน ซึ่งจะเป็นการสร้างความยั่งยืนในกับพื้นที่ ความยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชน จะทำอย่างไรให้ชุมชนโต๊ะบาหลิว หมู่ที่ 1 บ้านศาลาด่าน ซึ่งเป็นชุมชนของพี่น้องชาวเล ซึ่งมีลักษณะเฉพาะทางชาติพันธุ์ ลักษณะเฉพาะทางวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การทำมาหากิน การประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้านของชาวเล เป็นสิ่งที่น่าอนุรักษ์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
ทั้งหมดทั้งมวล ถูกผูกโยงเพื่อที่จะอนุรักษ์ แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ขยายผลไปยังการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของป่าโกงกางผืนใหญ่ ตั้งแต่หมู่ 1 บ้านศาลาด่าน ไปที่หมู่ 5 บ้านโล๊ะดุหยง และชุมชนท่องเที่ยวสำคัญหมู่ 4 บ้านทุ่งหยีเพ็ง ตรงนี้จะเป็นกิจกรรมที่เป็นอีกไฮไลท์สำคัญที่จะได้ช่วยกันขับเคลื่อนพัฒนา ศาลาด่านโมเดล สอดรับกับปฏิญญาอ่าวลันตา และเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ต่อไป
นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน ได้กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนชาวตำบลศาลาด่านได้อยู่ดีมีสุข มีสิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี มีความปลอดภัย และเท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายที่ทางสถาบันการศึกษาได้มานำเสนอ เป็นผลจากกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การพัฒนาของตำบลศาลาด่านมีความรอบด้านมากยิ่งขึ้น ต้องขอบคุณทาง ม.อ. ทาง สสส. และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน สิ่งที่เราได้รับถือว่าเป็นโอกาสที่ดี และจะได้นำเสนอสภาเทศบาล ตามกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ถ้ามันสามารถเกิดขึ้นได้จริง ตามที่เราวางแผนกัน ก็จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ ที่เขารอโอกาส ได้ทำงาน ได้สร้างฐานะด้วยตัวของเขาเอง โดยเฉพาะหมู่ที่ 5 ที่เรากำลังจะพูดถึง ไปเชื่อมโยงกับท่องเที่ยวที่ทุ่งหยีเพ็ง
สำหรับการประกาศแผนพัฒนาในส่วนนี้ เราจะใช้หลักการมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล เนื่องจากว่าตำบลศาลาด่านเรามีวิถีชีวิตที่อยู่รวมกันหลายศาสนาวัฒนธรรม เรียกว่าพหุวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องชาวไทยเชื้อสายมุสลิมดั้งเดิม พี่น้องชาวอุรักลาโว้ย รวมถึงพี่น้องชาวจีนโพ้นทะเล และชาวไทยพุทธที่มาในสายของข้าราชการ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ศาลาด่านโมเดลเหล่านี้ เราจะต้องแสดงหรือประชาสัมพันธ์ให้เขาได้รับรู้ว่า วิถีชีวิต อัตลักษณ์ของศาลาด่าน เราเป็นแบบนี้ เราควรจะต้องมีเรื่องราวให้ผู้มาเยือนให้ทราบถึงความเป็นไปและเคารพในความเป็นศาลาด่านโมเดลให้ทราบทั่วกัน
นายวิชิต ยะลา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา ได้ให้มุมมองถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวกระแสหลัก และการท่องเที่ยวกระแสรอง คือการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำเป็นต้องมีการหนุนเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ การท่องเที่ยวโดยชุมชน จะเป็นกลไกสำคัญในการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิถีวัฒนธรรม สำหรับศาลาด่านโมเดล ที่ได้มีการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยง นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าด้านการท่องเที่ยวจากกลุ่มนักท่องเที่ยวกระแสหลัก ที่จะมีการพัฒนาการบริการให้มีคุณภาพมาตรฐาน สำหรับในประเด็นเรื่องความปลอดภัย นับว่าจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ จะเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้แก่ชาวเกาะลันตาและนักท่องเที่ยว ในภาคเอกชนก็มีความยินดีอย่างยิ่งในการให้ความร่วมมือ กับทั้งทางอำเภอเกาะลันตาเพื่อหนุนเสริม ปฏิญญาอ่าวลันตา กับทางเทศบาลตำบลศาลาด่าน ในการช่วยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ และกับสถาบันการศึกษาที่นับว่าเป็นคุณูปการกับพื้นที่ในการยกระดับด้านความรู้ศักยภาพต่าง ๆ ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ จาก สำนักพัฒนาภาคสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทุนในการขับเคลื่อนงานในครั้งนี้ ได้กล่าวถึง ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ภารกิจของ สสส. เป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีใน 4 มิติ ทั้งกาย จิต สังคม ปัญญา ซึ่งการขับเคลื่อนงาน ศาลาด่านโมเดลนับว่า เป็นการทำงานของภาควิชาการควบคู่กับท้องถิ่น ท้องที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ประเด็นหลักคือความมั่นคงด้านฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงไปถึงด้านเศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม เหล่านี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเกาะลันตาโดยภาพรวม ซึ่งทาง สสส. ก็รู้สึกยินดี และพร้อมจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งให้คนเกาะลันตาและผู้มาเยือนเกาะลันตาได้มีโอกาสในการได้รับการพัฒนาที่ดี เป็นสังคมสุขภาวะ เท่าทันโลกของความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
เวทีสาธารณะ “ศาลาด่านโมเดล สู่ปฏิญญาอ่าวลันตา” เส้นทางท่องเที่ยวชาติพันธุ์ (Ethnic Tourism) เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism) “การท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”
???? วันที่ 20 ก.ค. 66 เริ่มเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมเซาท์เทิร์น ลันตา รีสอร์ท นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตตา กล่าวเปิดการประชุม “ศาลาด่านโมเดล” กับปฏิญญาอ่าวลันตา นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน กล่าวรายงานความก้าวหน้างานศาลาด่านโมเดล การทำงานร่วมกับภาควิชาการ สมส.ม.อ. และ ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม หัวหน้าทีมวิชาการการวิจัยการจัดการภัยพิบัติและการท่องเที่ยวโดยชุมชนอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติควบคู่การท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย (ศาลาด่านโมเดล) ทำหน้าที่พิธีกรดำเนินรายการ ดังนี้
???? ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงบทบาทสถาบันการศึกษากับความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่
???? ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ สนส.ม.อ. กล่าวถึงการทำงาน 4 ประเด็นหลัก ในภาคใต้
???? นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ สำนักงานพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการหนุนเสริมภาคีเครือข่ายการทำงานสู่สังคมสุขภาวะ
???? ดร.อดิเรก มากผล นักวิชาการสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความเสี่ยงและโอกาสการพัฒนาต่อบริบทความเปลี่ยนแปลงของเกาะลันตา
???? ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม นักวิชาการผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงาน “ศาลาด่านโมเดล”
???? ตัวแทนจาก 3 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 นายโอ้น ช้างน้ำ ตัวแทนชุมชนโต๊ะบาหลิว หมู่ที่ 5 นายบัญญัติ ก๊กใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านโล๊ะดุหยง และหมู่ที่ 4 นายนราธร หงส์ทอง แกนำชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง นำเสนอโอกาสและความท้าทาย การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เชื่อมโยง การท่องเที่ยวชาติพันธุ์ (Ethnic Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism และ Low Carbon Tourism)
???? นายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน และคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลศาลาด่าน นำเสนอแนวทางการประกาศ “ศาลาด่านโมเดล” โดยนำร่องพื้นที่ต้นแบบ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 4 มาตรการคุ้มครองพื้นที่เปราะบาง “เกาะแร้ง” เพื่ออนุรักษ์ปะการัง โดยสงวนสิทธิ์การนำเที่ยวด้วยวิถีชาวเล เพื่อความปลอดภัย การอนุรักษ์ และสร้างการตลาดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ (Ethnic Tourism) เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism)
???? ปิดท้ายโดยการร่วมแสดงความคิดเห็น และหน่วยงานภาคีต่างๆ ร่วมแสดงเจตจำนงในการส่งเสริม หรือสนับสนุนการขับเคลื่อนงานศาลาด่านโมเดล ได้แก่ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และอื่นๆ ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เข้าร่วม และการบอกเล่ามุมมองจากการได้ลงพื้นที่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมปิดการประชุมโดยนายพงศ์สวัสดิ์ ดำรงอ่องตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลศาลาด่าน
project version 4.4.01 release 2022-02-13. ช่วยเหลือ