สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประชุมเชิงปฎิบัติการออกแบบการพัฒนาจากฐานทรัพยากรธรรมชาติสู่ความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรม : ประชุมเชิงปฎิบัติการออกแบบการพัฒนาจากฐานทรัพยากรธรรมชาติสู่ความมั่นคงทางอาหาร
วันที่ 08/06/2023 - 08/06/2023
งบประมาณที่ตั้งไว้ 40,000.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 35 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย ปลัดอำเภอเกาะลันตา
ผู้บริหารเกาะลันตาน้อย
ตัวแทนจากชุมชน 6 หมู่บ้านในตำบลเกาะลันตาน้อย
สื่อมวลชน
ตัวแทนภาคเอกชน
ประชาสังคม
นักวิชาการ
รายละเอียดกิจกรรม :
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม อบต. เกาะลันตาน้อย
องค์การบริหารส่วนตําบลเกาะลันตาน้อย ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ(สนส.มอ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
จัดเวที กําหนดแผนปฏิบัติงานการบูรณาการประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
เชื่อมโยงสู่การขับเคลื่อนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารในพื้นที่
ตําบลเกาะลันตาน้อย
กล่าวเปิด โดย พ.จ.อ.พรพจน์ ปานแดง ปลัดอำเภอเกาะลันตา
กล่าวรายงานโดย นายสุกิจ ยงกิจ นายก อบต.เกาะลันตาน้อย
พร้อมด้วยรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย
และนักวิจัยจากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดร.ฐิติชญาน์ บุญโสม ดร.อดิเรก มากผล และ คุณวรรณา สุวรรณชาตรี
โดยจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคณะทํางานได้ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่าในตําบลเกาะลันตาน้อย เป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการพึ่งพาด้านอาหารที่คนในชุมชนยังมีวิถีชีวิตการเพาะปลูกเพื่อเป็นอาหารและสร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นจากการทําเกษตรพืชสวน การทํานาและการประมง นอกจากนั้นเป็นการประกอบอาชีพที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว แต่แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับบริบทความเป็นพื้นที่เกาะยังคงมีความเปราะบางและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดผลกระทบส่งผลให้ เกิดความสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากภัยธรรมชาติ หรือภัยสังคม รวมทั้งภัยทางเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
จากที่ทางสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงมาทํางานวิชาการในพื้นที่ตําบลเกาะลันตาน้อย จึงนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการทํางานพัฒนาของท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จะเป็นการระดมความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมจาก 6 หมู่บ้าน จํานวน 30 คน ได้เห็นข้อมูลและวิเคราะห์ร่วมกัน จัดกระบวนการการมีส่วนร่วมให้ ร่วมคิดร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวตําบลเกาะลันตาน้อย
ผลที่ได้รับจะเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะลันตาน้อย สําหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนกําหนดนโยบายการพัฒนาต่อไป
#กินดีอยู่ดีที่เกาะลันตาน้อย
#องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย
#สนสมอ