สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

วิจัยการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศยั่งยืนภูมินิเวศน์เขา ป่า นา เล จังหวัดตรัง

สรุปภาพกิจกรรมลงพื้นที่แนะนำตัวต่อชุมชน 4 พื้นที22 กรกฎาคม 2559
22
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย เชภาดร
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความรู้จักกับแกนนำชุมชน และได้ทำความเข้าใจที่มาแนวทางการวิจัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทีมวิจัยฯลงพื้นที่บ้านลำขนุน แนะนำตัว และที่มาที่ไป เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานวิจัยฯ
  • ผู้ใหญ่และแกนนำชุมชนได้เล่าถึงรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชน  ปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาที่เกิดขึ้น
  • ผู้ใหญ่บ้านพาทีมวิจัยลงชมแปลงศูนย์เรียนรู้เกษตร ซึ่งเป็นฐานเรียนรู้สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ศึกษาดูงาน
  • ลงพื้นที่ชมแปลงเกษตรมะนาว ของแกนนำชุมชน และพบหัวหน้าคณะโนรา ฐานเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำชุมชนชุดเล็กที่ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและแกนนำกลุ่มมีความเข้าใจเป้าหมาย วิธีการดำเนินงานวิจัยมากขึ้น
  • คณะวิจัย ได้รู้จักแกนนำชุมชนมากขึ้น
  • ลงเยี่ยมชมฐานเรียนรู้
  • ได้ข้อมูลการจัดการท่องเที่ยวชุมชนพื้นที่ลำขนุนเบื้องต้น
    ซึ่งมีต้นทุนที่สำคัญคือ จากทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มคนความร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชน ปัจจุบันรูปแบบการท่องเที่ยวประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ คือ
    รูปแบบการศึกษาดูงานเชิงฐานเรียนรู้ ประกอบด้วย
    1) กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงฐานเรียนรู้
  • ฐานเรียนรู้ด้านเกษตร
  • ฐานรู้พลังงาน ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เตาถ่าน และแก๊สชีวภาพ
    2)กิจกรรมเดินป่าขึ้นภูผาหมอก
    3)ด้านศิลปวัฒนธรรม มี โนรา และโนราโกลน(แห่งเดียวในจังหวัดตรัง)
    4) กิจกรรมพายเรือล่องคลองลำพิกุล
    ปัญหาอุปสรรค ที่พบ คือ คณะศึกษาดูงานส่วนมากที่มาจาก 3 จังหวัดที่เป็นไทยมุสลิม จะไม่รับประทานอาหารในชุมชนเนื่องจากบ้านลำขนุนเป็นชุมชนพุทธ
    ทำให้รายได้ที่ควรเข้ามาในพื้นที่ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
  • ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าบ้านลำขนุน ควรมีเมนู welcome drink ของบ้านลำขนุน เช่น น้ำอัญชัญผสมน้ำผึ้งมะนาว ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่แล้วในชุมชนเป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 8 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทีมวิจัยฯ 4 คน
  • แกนนำชุมชน ทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าร่วมอีก 4 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่