สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แผนงานกลางระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา

การประชุมคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช18 กันยายน 2561
18
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมคณะทำงานโครงการบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ประธานได้ทบทวนรายชื่อคณะทำงานและมีมติให้แก้ไขคำสั่งโดยเพิ่มคณะทำงานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านอาหารปลอดภัย
  • วาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม  ไม่มี
  • วาระที่ ๓ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ เรื่องความร่วมมือในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วาระที่ ๔ เรื่องที่เสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณา มี 2 เรื่อง คือ การทบทวนและเพิ่มเติมคณะทำงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และการทบทวนแก้ไขร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารฯ
  • วาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช
    ประธานคณะทำงานได้มีมติให้แก้ไขคำสั่งโดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติม ดังนี้ ๑) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานคณะทำงาน ๒) ให้สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยเลขานุการ ๓) เพิ่มประธานชมรมร้านอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคณะทำงาน ๔) เพิ่มสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้เป็นคณะทำงาน ๕) เพิ่มมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นคณะทำงาน ๖) เพิ่มนายอำเภอทุกอำเภอเป็นคณะทำงาน ๗) เพิ่มบริษัทประชารัฐเป็นคณะทำงาน และมีข้อเสนอจากที่ประชุมต่อการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ดังนี้ ๑) ให้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการระบบอาหารชุดเล็ก ๓ ด้าน คือ อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย และความมั่นคงทางอาหาร ๒) การทบทวนองค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานเรื่องอาหาร เช่น การกำจัดศัตรูพืช การจัดหาตลาด ยกตัวอย่างการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดสงขลา จะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินงาน เช่น ประเด็นโภชนาการสมวัยร่วมกับสำนักงานท้องถิ่นจัดอบรมโปรแกรมเมน Thai School Lunch ให้กับโรงเรียนสังกัดท้องถิ่น ประเด็นความมั่นคงทางอาหารร่วมกับคณะทรัพยากรธรรมชาติและ สนง.เกษตรและสหกรณ์ หนุนเสริมการปลูกพืชร่วมยางและเกษตร ๑ ไร่ ๑ แสน ในกลุ่มเกษตรกรเป็นต้น และมีมติให้แก้ไขชื่อคณะกรรมการในคำสั่ง โดยแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนี้ ๑) ปรับชื่อคณะกรรมการ จาก คณะทำงานบูรณาการระบบบริหารจัดการอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “คณะทำงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช” ๒) สภาหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช”
    ๓) สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช” ๔) สภาการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช” ๕) สภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช แก้เป็น “ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช”
    ๖) เจ้าของบริษัทซิลเวอร์เบเกอรี่แอนด์ฟู้ด จำกัด (ตัวแทนโรงงานผลิตอาหาร) แก้เป็น “ผู้จัดการบริษัทซิลเวอร์เบเกอรี่แอนด์ฟู้ด จำกัด” ๗) เจ้าของร้านอาหารครัวน้ำชุบ (ตัวแทนร้านอาหาร) แก้เป็น “ผู้จัดการร้านอาหารครัวน้ำชุบ” ๘) เจ้าของตลาดปิ่มเพชร (ผู้แทนเจ้าของตลาดเอกชน) แก้เป็น “ผู้จัดการตลาดปิ่มเพชร”

2.ทบทวนร่าง (๑) ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ ประธานคณะทำงานทบทวนร่างยุทธศาสตร์ มีข้อเสนอต่อการดำเนินงานต่อร่างยุทธศาสตร์ ดังนี้ ๑) ปรับ พ.ศ.ในร่างยุทธศาสตร์จากเดิม พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕ แก้เป็น “ร่าง (๑) ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๖” ๒) ให้เพิ่มข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหาร ก่อนจะเข้าหมวดยุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็น ๓) ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร (หน้าที่ ๑) ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร หัวข้อสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ตรวจสอบข้อมูลตัวเลขให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน โดยเอาข้อมูลล่าสุดมาปรับใส่ในร่างยุทธศาสตร์ ๔) ข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร ให้เพิ่มเติมข้อมูล การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ๕) แก้ไขข้อมูลหน้าที่ ๕ หัวข้อกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องหลักคิดในการทำยุทธศาสตร์ ข้อที่ ๒ วางยุทธศาสตร์อาหารใน ๓ระดับ แก้ไขเป็น “วางยุทธศาสตร์อาหารใน ๔ ระดับ คือ ๑.ระดับครัวเรือน ๒.ระดับชุมชนท้องถิ่น ๓.ระดับอำเภอ และ ๔.ระดับจังหวัด” ๖) แก้ไขข้อมูลหน้าที่ ๖ เป้าประสงค์ของระบบอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพิ่มข้อที่ “๒๑ ตั้งองค์กรและหน่วยงานติดตามตรวจสอบสารปนเปื้อนและอาหารปลอดภัย” และ ให้ปรับการเขียนใหม่โดยคงเนื้อหาไว้ทั้ง ๒๑ ข้อ แต่ทำเป็นระบบตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ๗) แก้ไขข้อมูลหน้าที่ ๙ หัวข้อยุทธศาสตร์ที่ ๒ ด้านอาหารปลอดภัย ให้ตัด ข้อที่ ๑ ทบทวนและร่วมกันผลักดันคณะกรรมการอาหารปลอดภัยของจังหวัด ตัดออกไม่ต้องใส่ ๘) ให้คณะกรรมการชุดใหญ่เป็นแกนหลักในการประสานงาน และติดตามข้อมูลสถานการณ์ของทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีการเชื่อมโยงและบูรณาการทำงานร่วมกัน ๙) มีข้อเสนอให้ทำเรื่องระบบอาหารให้เป็นทางการตลาด และเพิ่มยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์การตลาด โดยใส่ไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการ ในหัวข้อ เรื่อง กลยุทธ์หนึ่งของการตลาด ๑๐) เพิ่มเติมกระบวนการในยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการ หน้าที่ ๑๑ ดังนี้ a. มีการทบแผนยุทธศาสตร์ในการประชุมทุกครั้ง b. แผนงานกิจกรรมมอบหมายให้ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) เข้ามาช่วยรวมทั้งงานด้านวิชาการ ๑๑) ให้มีระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่
a. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ด้านความมั่นคงทางอาหาร b. ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ด้านอาหารปลอดภัย c. ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ด้านโภชนาการสมวัย d. ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการ

3.การประชุมในครั้งต่อไปเป็นวันที่ ๒๔ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ ณ โรงแรมทวินโลตัส โดยเชิญคณะทำงานชุดใหม่ และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ประเด็นยุทธศาสตร์เข้าร่วมประชุม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งฯ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-