แผนงานกลางระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา
ประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา วันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุมสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพได้ระดมความคิดเห็นกับสำนักงานจังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา สำนักงานศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ สำนักงานแรงงานจังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยจัดทำร่างยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดเพิ่มเติมในประเด็นที่ยังไม่ดำเนินการ จำนวน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง
1. การจัดการบุคลากรด้านการจัดการสาธารณภัย ก่อน ระหว่าง หลัง เกิดเหตุ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ ความสะอาด คุณภาพน้ำ ระบบนิเวศน์ พฤติกรรมชุมชนโดยรอบร่วมกันจัดการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน การมีส่วนร่วม (การบูรณาการ หนุนเสริม)
3. ควบคุมการจับสัตว์น้ำ มีมาตรกร กฎ กติกา สร้างความตระหนักในการใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำ (ทบทวนมาตรการทางกฎหมายการใช้เครื่องมือการจับสัตว์น้ำที่ไม่เหมาะสม)
4. ปัญหายาเสพติด พฤติกรรมเด็ก เยาวชน ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยี
5. แผนที่เขตชายแดนไทย มาเลเซีย (ความมั่นคงชายแดน) จัดการขอบเขตให้ชัดเจน ป้องกันการหลบหนีเข้าเมือง ติดตาม ตรวจสอบ เข้มงวด
6. แรงงานต่างด้าว แรงงานนอกระบบ ควบคุม กาจัดการด้านสาธารณสุข การควบคุมโรค (กฎหมายแรงงานต่างด้าว แรงงานนอกระบบ)
7. ศูนย์ควบคุมแรงงานประมงจังหวัดสงขลา ให้ความรู้แก่แรงงาน พัฒนาศักยภาพแรงงานนอกระบบ (การจับสัตว์น้ำ สุขภาพ)
8. ควบคุม กำกับ รณรงค์ให้สถานประกอบการ (แรงงานต่างด้าว) พัฒนาศักยภาพแรงงาน ควบคุม ดูแล จัดการด้านสุขภาพ
9. แรงงานผิดกฎหมาย จัดการให้ลงทะเบียน เข้าสู่ระบบให้ครอบคลุม
10. ความมั่นคงทางอาหาร
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
1. การแข่งขันภาคการเกษตร ได้แก่
- การทำเกษตรผสมผสาน
- การจัดตั้งศูนย์ตลาดเกษตร /ตลาดพืชผล
- การแปรรูปสินค้าเกษตร /การสร้างตลาดวิถีชุมชน
- การจัดทำผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่
- พัฒนาองค์ความรู้ด้านการตลาด
- พัฒนาศักยภาพให้กับเกษตรกรด้าน การดึงคนรุ่นใหม่สานต่องานเกษตรกรรม
- พัฒนาศักยภาพด้านการรวมกลุ่มในชุมชน เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่ม แม่บ้าน /การแปรรูปสินค้าเกษตร /การจัดหาตลาด /กลุ่ม Smart Farmer
- สร้างกระบวนการจัดการผลผลิตการเกษตร ตั้งแต่ต้นทาง (ผลผลิต) กลางทาง (ตลาด การแปรรูป การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างแพ็คเกต) และปลายทาง (ผู้บริโภค)
- การหาพื้นที่รวบรวมและขายสินค้าเกษตร
- สร้างการเรียนรู้ให้การเกษตรแบบครบวงจร ตั้งแต่หน่วยผลิต การส่งเสริม และช่องทางการจำหน่าย การแปรรูป และการบรรจุภัณฑ์
- ส่งเสริมบทบาท (ศบกต.) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ให้มีการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริง และมีการทำงานอย่างจริงจัง ซึ่งมีการจัดตั้งทุกตำบล และมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ที่ดำเนินงานพัฒนาเกษตรในพื้นที่ระดับท้องถิ่น มีงบสนับสนุนจาก อบท. และหนุนเสริมงาน ศบกต. ด้านการบริหารจัดการ (การจัดทำตลาด การหนุนเสริมชาวบ้านในพื้นที่ การจัดการงบการเงิน) เพื่อให้เป็นแบบอย่างดับตำบลอื่น
- จัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตรใน จ.สงขลา เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำเลสาบ พื้นที่ชายแดน พื้นที่เกษตร (นาข้าว ผลไม้) พื้นที่เศรษฐกิจ และหนุนเสริมการจัดทำโครงการให้เหมาะสมกับบริบทของโซน
- ส่งเสริมสร้างตลาดผลไม้ท้องถิ่น (ทุเรียน มังคุด มะม่วง) ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดน เช่น มาเลเชีย สิงคโปร์
- จัดทำเอกลักษณ์ตลาดพื้นบ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการเกิดตลาดชุมชน เช่น ตลาดผลไม้
- จัดทำข้อมูลสถานการณ์ สังเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อทำแผนส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดผลไม้ท้องถิ่นและอื่น ๆ
- พัฒนาส่งเสริมระบบอาหารเกษตรอินทรีย์ เช่น พัฒนาอาหารฮาลาลที่ ครบวงจร และอาหารที่ปลอดสารพิษ
- สร้างทัศนคติที่ดีต่อแนวคิดการทำเกษตร เช่น กล้าทดลองสิ่งใหม่ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง เทคนิคทางการเกษตร เทคนิคการสร้างคุณภาพให้ผลผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
- การฟื้นฟูภูมิปัญญาการทำเกษตรดั้งเดิม
- ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้เกษตรกรจากอาชีพเสริมได้แก่ โครงการแก้จนเกษตรกร 4.0 ให้กับกลุ่มชาวสวนยางปลูกผักเพิ่มรายได้
2. การแข่งขันและสร้างเอกลักษณ์การท่องเที่ยว
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เชิงอนุรักษ์ที่เข้ากับอัตลักษณ์ของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
- พัฒนาการคมนาคมการท่องเที่ยว เช่น รถโดยสารที่เข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยว
- พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสร้างให้เกิดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กิจกรรมอาหาร กิจกรรมอีเว้น ให้กับชาวต่างชาติ และระบบบริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวกับต่างชาติ
- ส่งเสริม ปรับปรุง พัฒนา แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐาน (เส้นทาง ความสะอาด)
- จัดหมวดแหล่งท่องเที่ยวในสงขลา เช่น แหล่งธรรมชาติ แหล่งสปา (นวดผ่อนคลาย) แหล่งฟิตเนส ตลาดเอกลักษณ์ ห้าง แหล่งเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม แหล่งความรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรม
- ศึกษาข้อมูลจุดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจัดทำแผนการแข่งขันการท่องเที่ยว
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดัน ดูแล ดำเนินการ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดให้ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
- พัฒนาหมู่บ้านที่มีเอกลักษณ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม
- สร้างมูลค่าผ้าเกาะยอ ผ้าทอกระแสสินธ์ ให้หน่วยงาน /นักวิชาการให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบลายผ้าให้ทันสมัย หลากหลาย ให้มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ของสงขลา และสร้างงานหัตกรรมอื่น ๆ เช่น กระเป๋า ของใช้ ของที่ระลึก เป็นต้น
- จัดทำประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการใช้ผ้าเกาะยอและผ้าพื้นบ้านอื่น ๆ
- ต่อยอดรณรงค์การใช้ผ้าทอท้องถิ่น ให้เป็นชุดแต่งกายประจำจังหวัด
- มีการแนะแนวอาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษาเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพให้ตรงกับตลาดแรงงาน
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
- หน่วยงานส่งเสริมอาชีพในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
- โครงการติดตามเด็กด้อยโอกาสให้เข้าสู่ระบบตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การติดตาม จัดเก็บข้อมูลของนักเรียนเพื่อให้เข้าถึงระบบการศึกษาทั้งในระบบ และ กศน. โดย สนง.เขตพื้นที่การศึกษา (ใช้หลักสตูลโมเดล)
- พม.มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กนอกระบบ (เด็กพิการ) นำร่องในตำบลบ่อยางและ ต.เขารูปช้าง เพื่อนำไปทำแผนฟื้นฟูช่วยเหลือและมอบให้หน่วยงานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ไขดำเนินการ ในภาคใต้นำร่องใน จ.สงขลา และชุมพร
- โครงการพัฒนาอาชีพ ของ พม.ช่วยผู้มีรายได้น้อย
- โครงการพิเศษ ของ พม.สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพสำหรับผู้มีรายได้น้อย ในวงเงิน 15,000 บาท
- ส่งเสริมกลุ่มสตรี (สตรีหม้าย) มีศูนย์ฝึกอาชีพสตรีภาคใต้ใน จ.สงขลา ตามหลักสูตรตั้งไว้
ผู้สูงอายุ - สนับสนุนเงินกู้ให้กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มด้อยโอกาส เพื่อส่งเสริมอาชีพโดยไม่มีดอกเบี้ย กลุ่มคนพิการ
- สนับสนุนทุนกู้ยืมประกอบอาชีพในวงเงิน 60,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย
- ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ความเสมอภาค ตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทางเลือกทั้ง 2 เพศ ในการดำเนินชีวิต เช่น การสมัครงานที่ระบุเพศชาย
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (คน = ความรู้ในการจัดการ) (ชุมชน = มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการ) (นโยบายสาธารณะ กฎ กติกาชุมชน กฎหมาย อปท.) (โครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัย)
- ขยะฐานศูนย์ สร้างค่านิยมร่วม สร้างจิตสำนึกในการจัดการสิ่งแวดล้อม คัดแยกขยะครัวเรือน จัดหลักสูตรการจัดการขยะในเด็ก เช่น ท้องถิ่นกับการจัดการขยะ ผ้าป่าขยะ ลดขยะโดยนำภาชนะไปเอ
- ทะเลสาบตื้นเขิน อนุรักษ์จัดการป่าต้นน้ำ (ลดการใช้สารเคมี) ลดการตัดไม้ทำลายป่า
- ควบคุม ดูแล การจัดการโพงพาง โฮมเสตย์ (การบังคับใช้กฎหมาย สร้างกฎ กติกา ข้อตกลง) การเมืองเกี่ยวข้อง จัดระเบียบ การจัดการการปล่อยน้ำเสีย ของเสียลงสู่แหล่งน้ำของโฮมเสตย์
- การจัดการการท่องเที่ยว water front การท่องเที่ยววิถีชุมชน ท่องเที่ยวทางน้ำ (คูเต่า)
- การบำบัดน้ำเสีย (ริมชายฝั่ง) บำบัดน้ำเสียทั้งระบบ น้ำเสียจากครัวเรือน
- พลังงานทดแทน ทบทวนกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซล ความร่วมมือกับ กฟฝ. ลดขั้นตอนการขอติดตั้งโซล่าเซล การติดตั้งโซล่าเซลมีข้อจำกัดมาก
- การใช้พลังงานโซล่าเซลในครัวเรือน
- การศึกษาความคุ้มค่า คุ้มทุนในการใช้พลังงานทดแทน (โซล่าเซล) ระเบียบการใช้พลังงานทดแทน (ศาลากลางมีโซล่าเซล)
- หน้าบ้าน่ามอง ทุกครัวเรือน จัดประกวด อปท.จัดรางวัล
- การใช้พื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว เพื่อสุขภาวะ (ออกกำลังกาย)
- แต่งตั้ง อาสาสมัคร ดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้
- พัฒนาศักยภาพคน สร้างผลิตภัณฑ์จากขยะ ประกวด ให้รางวัล ครอบคลุมทุกระดับ
- สร้างจิตสำนึก ปรับพฤติกรรม โดยการประกวด ให้รางวัล ทั้งในสถานศึกษา หน่วยบริกานสาธารณสุข ตลาด
- การจัดการขยะในทะล แหล่งน้ำต่าง ๆ
- ควบคุม ดูแล การจัดการโพงพาง โฮมเสตย์ (การบังคับใช้กฎหมาย สร้างกฎ กติกา ข้อตกลง) การเมืองเกี่ยวข้อง จัดระเบียบ การจัดการการปล่อยน้ำเสีย ของเสียลงสู่แหล่งน้ำของโฮมเสตย์
- พลังงานทดแทน ทบทวนกฎหมายการติดตั้งโซล่าเซล ความร่วมมือกับ กฟฝ. ลดขั้นตอนการขอติดตั้งโซล่าเซล การติดตั้งโซล่าเซลมีข้อจำกัดมาก
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
- ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แสดงความคิดเห็น ต่อการแผนพัฒนาของภาครัฐ ที่จัดขึ้นในเวทีต่าง ๆ
- ใช้ระบบ IT ทันสมัยเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เช่น การบริการประชาชนรวดเร็ว ได้มาตรฐานสากล และข้อมูลเชื่อมโยงกันทุกจังหวัด
- จัดมาตรฐานระบบบริการในแต่ละงาน เพื่อบริการประชาชนได้ดี กระจายแหล่งบริการลงไปในพื้นที่ชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
- พัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ด้านการทำงาน มีเป้าหมายภาระงานที่ชัดเจน มีการนำระบบอำนวยความสะดวกเข้ามาใช้
- พัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ และสะท้อนการทำงานเพื่อพัฒนาคนทำงานให้ดีขึ้น
- มีหน่วยตรวจสอบการติดตามประเมินผลการทำงานของบุคลากร
- สร้างมาตรฐานการประเมินของหน่วยงานให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้ามาประเมินเพื่อปรับปรุงได้
- การบริหารจัดการประเมินผลในองค์กรเพื่อปรับปรุงระบบบริหารภาครัฐ ซึ่งสถาบันฯจะนำข้อเสนอสรุปเป็นโครงการที่จะต้องดำเนินการต่อไป
พัฒนาแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา โดยใช้กรอบยุทธศาสตร์ชาติเป็นหัวข้อหลักในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ การประชุมในครั้งนี้ใช้การระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
(0)