สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แผนงานกลางระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา

การประชุมองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 2 / 2561 วันที่ 16 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา16 มิถุนายน 2561
16
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 2 /2561 วันที่ 16 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา
ผู้มาประชุม 1.ผู้บริหารองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 1.1 ศ.กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม ประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ ประธานการประชุม พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 1.2 นายบัญญัติ จันทน์เสนาะ    ประธานมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 1.3 นายอำพล พงศ์สุวรรณ    แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 1.4 นายชิต สง่ากุลพงศ์    ประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา 1.5 นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์    นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา 1.6 นายอภินันท์ ศรีสมานุวัตร    แทนประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา 1.7 นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ    แทนประธานการค้าจังหวัดสงขลา 1.8 ดร.นิวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 1.9 ดร.แสนศักดิ์ ศิริพานิช    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 1.10 รศ.ไพบูลย์ ดวงจันทร์    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ 1.11 ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ    แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1.12 นายชยันต์ สังขไพฑูรย์    ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา

  1. ที่ปรึกษาองค์กร 15 ภาคี บริหารจัดการโครงการเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 2.1 นายสมนึก หนูเงิน    ประธานที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบจังหวัดสงขลา 2.1 นายประนอบ คงสม    ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาในที่ประชุมระดับชาติ

ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายสามารถ วราดิศัย    เลขาธิการมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ 2. นายบัณลือเดช ทองนุ้ย    ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสงขลา 3. ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร    รองผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4.นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี    ผู้ประสานงานวิจัยสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5. นายทรงพล ทองผ่อง    เจ้าหน้าที่สภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา 6. นายสุรินทร์ นุ่นแก้ว    ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ โรงเรียนไทยคอม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอการดำเนินงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ต่อที่ประชุมในระเบียบวาระที่ 3
การขับเคลื่อนแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลามีการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กรอบแนวคิดการทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มี 2 หลัก ประกอบด้วย ปัจจัยกำหนดสุขภาพและสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา โดยมีระบบ /กลไก ภาพแวดล้อม และปัจเจกบุคคลเป็นตัวกำหนด ทำให้เกิดการร่วมมือกัน ซึ่งประกอบด้วย 1.1) พลังวิชาการโดยการประสานงานร่วมสร้างองค์ความรู้ 1.2) พลังสังคมได้จุดประกาย สานพลัง สานความร่วมมือเครือข่าย 1.3) พลังนโยบายเน้นการร่วมประสานและผลักดันนโยบาย     2) แนวทางการดำเนินการแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องสอดคล้องกับร่างยุศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาวจังหวัดสงขลา พ.ศ.2560 (อบจ.), แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ.2561 – 2562 รวมถึงแผนอื่นๆ ของหน่วยงาน เพื่อกำหนดคุณลักษณะ /แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยได้ดำเนินการดังนี้ 2.1) วิเคราะห์เปรียบเทียบยุทธศาสตร์ที่มี 2.2) ร่วมระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องเติมเต็มโครงการกิจกรรมตามร่างยุทธศาสตร์ชาติ 2.3) กำหนดคุณลักษณะของทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการ 2.4) กำหนดแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 5 ช่วงวัย ตั้งแต่ในครรภ์ ถึงวัยสูงอายุ     3) ร่างแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ จากการประชุมระดมความคิดเห็น เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2561 ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีข้อสรุปเป็นแนวทางการพัฒนา ดังนี้

3.1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of Cuiture) ข้อเสนอจากการประชุม (1) จังหวัดสงขลากำหนดนโยบายส่งเสริมการจัดกิจกรรมตามศาสนา ด้านคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนทุกแห่งเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (2) พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนกิจกรรมในเครื่องแบบ เช่น ลูกเสือ เนตรนารี นักศึกษาวิชาทหารฯลฯ         (3) จัดระบบพระสงฆ์ทั้งระบบ กิจพึงปฏิบัติของสงฆ์ และสุขภาวะของพระสงฆ์         (4) ปลูกฝังค่านิยมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ         (5) สร้างวินัยการเงิน ปลูกฝังการออม ในเด็กนักเรียน (เตรียมความพร้อมก่อนสูงอายุ)         (6) ส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มอายุ สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการรวบรวมสังเคราะห์ (Mapping) ค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมของคนสงขลาจำแนกตามบริบทเมืองและชนบท จำแนกตามบริบทศาสนา (2) โครงการออกแบบหลักสูตรทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรม ตลอดจนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เด็ก เยาวชน (3) โครงการพัฒนาศักยภาพให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนค่านิยมร่วมและวัฒนธรรมภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม         (4) โครงการรณรงค์เรื่องธรรมาภิบาลและการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในภาครัฐและภาคธุรกิจ (5) โครงการขับเคลื่อนค่านิยมร่วมและวัฒนาธรรมของคนสงขลา โดยใช้หลักธรรมของศาสนาโดยเฉพาะไทยพุทธและไทยมุสลิม (6) โครงการผลิตสื่อเพื่อการรณรงค์ให้ชุมชนมีความภาคภูมิใจในค่านิยมทางวัฒนธรรมของคนสงขลาโดยเครือข่ายสื่อสารมวลชน

        3.2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ข้อเสนอจากการประชุม         (1) ช่วงวัยแรงงาน   (1.1) พัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านแรงงานอาชีพในระดับอาชีวะเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมยางพาราและเศรษฐกิจพิเศษ   (1.2) ส่งเสริมระบบสหกรณ์ ในสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมการออมในกลุ่มแรงงานเช่น สหกรณืออมทรัพย์ /สหกรณ์จังหวัด       (1.3) พัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับอาชีวะและอุดมศึกษา (วัยเรียน)   (1.4) พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดสงขลา เช่น ยางพารา ประมง เกษตร   (1.5) โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านอาชีพอนามัยและความปลอดภัยแบบครบวงจรในกลุ่ม SME (แรงงานที่ไม่เกิน 200 คน ในสถานประกอบการภาคการผลิตกลุ่มสถาบริการและกลุ่มสถานศึกษา)         (2) ช่วงปฐมวัย   (2.1) โครงการส่งเสริมการพัฒนา การจัดการศึกษาด้านปฐมวัยให้กับครูและผู้ดูแลเด็ก   (2.2) พัฒนาการเรียนรู้เตรียมความพร้อมของหญิงวัยเจริญพันธุ์ เช่น โครงการหญิงไทยแก้มแดง (ป้องกันภาวะซีด)   (2.3) อาหารกลางวันที่มีมาตรฐานคุณภาพให้กับศูนย์เด็กเล็ก/ โรงเรียนภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ /โครงการลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย (ลดอัตราตายของมารดา)/ โครงการอาหารแม่เพื่อส่งเสริมโภชนาการในระดับชุมชน         (3) ช่วงวัยเรียน   (3.1) พัฒนาส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือการผลิตและการพัฒนากำลังคนในระดับจังหวัด ด้านภาษา ด้านแรงงานการผลิต และด้านอาชีพ   (3.2) โครงการพัฒนา IQ, EQ ทุกช่วงวัย   (3.3) โครงการพัฒนาการ (ทักษะชีวิต) คุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย เช่น ค่ายกลุ่มสัมพันธ์ เช่นสอนว่ายน้ำ กีฬาประเภทต่างๆ   (3.4) โครงการส่งเสริมสังคมคุณธรรม /กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมต่างๆ เช่น เข้าค่าย /เยี่ยมวัด /เวียนเทียน   (3.5) ส่งเสริมกิจกรรมสภาเด็ก (ด้านจิตอาสา /ทักษะชีวิต /การป้องกันยาเสพติดฯลฯ)   (3.6) STEM ศึกษาในกลุ่มวัยเรียน   (3.7) โครงการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้สมวัย เช่น ส่งเสริมความรู้ให้กับครูปฐมวัย /การจัดการระบบอาหารมาตรฐานสุขาบาล สถานพยาบาลในสถานประกอบการและสถานศึกษา เช่น ความรู้วินัยอุตสาหกรรม สารเคมี อัคคีภัย เครื่องจักร /ความสะอาดของโรงอาหาร ห้องน้ำ /การปฐมพยาบาล /การดูแลสุขภาพ   (3.8) ส่งเสริมแหล่งจำหน่ายอาหารปลอดภัยในสถานประกอบการ         (4) วันผู้สูงอายุ   (4.1) เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในกลุ่มแรงงาน การดูแลสุขภาพ การออม อาชีพสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ไกด์ท้องถิ่น   (4.2) พัฒนาส่งเสริมอาชีพด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น อาสาสมัคร (มีค่าตอบแทนเพื่อยังชีพ) ในกลุ่มผู้สูงอายุ   (4.3) โครงการอารยะสถาปัตย์ (การพัฒนาพื้นที่ร้าง /ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้พิการ เช่น สวนสาธารณะ /ห้องน้ำ ห้องสุขา ห้องอาบน้ำในแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ราชการ หน่วยช่วยเหลือด้านสุขภาพ)   (4.4) พัฒนาจุดบริการด้านสุขภาพของจังหวัดในแหล่งท่องเที่ยว   (4.5) พัฒนาสร้างจุดบริการด้านห้องสุขา /ห้องอาบน้ำ /น้ำดื่มสะอาดในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดสงขลาให้ได้ระดับมาตรฐานสากล
  (4.6) ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญในสงขลา เช่น ทะเลสาบสงขลา /ล่องเรือเลสาบ /ย่านเมืองเก่า /วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นฯลฯ   (4.7) พัฒนากลุ่มโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว /พัฒนาเครือข่ายชุมชนสู่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน   (4.8) พัฒนาระบบขนส่ง การเดินทางอย่างสะดวกไปยังแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดสงขลาและพัทลุง และเอื้อกับกลุ่มคนสูงวัย คนพิการ

สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการโรงเรียนเตรียมพ่อแม่ โดยความร่วมมือของสาธารณสุขจังหวัด สถานศึกษา กับสถานศาสนา เป็นการใช้หลักธรรมและหลักการสาธารณสุข (2) โครงการส่งเสริมนมแม่ในชุมชนและสถานประกอบการ (3) โครงการส่งเสริมโภชนาการตั้งแต่ตั้งครรภ์ ทารก เด็กเล็ก เด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน และผู้สูงอายุ (4) โครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย (5) โครงการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในกลุ่มเด็กเยาวชน (Start up) เพื่อให้เด็กเยาวชนก้าวสู่ Global citizens (6) โครงการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ จำแนกตามแต่ละกลุ่มวัยและแต่ละกลุ่มอาชีพ (7) โครงการส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และใช้มาตรการการลดหย่อนภาษีให้หน่วยงานเอกชนที่มีแผนสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้กับบุคลากรของหน่วยงาน (8) โครงการพัฒนาฝีมือและทักษะให้กับแรงงานทั้งภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม (9) โครงการพัฒนาความพร้อมสู่สังคมสูงวัย (10) โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงวัย

        3.3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformation of Learning) ข้อเสนอจากการประชุม (1) จัดตั้ง /ปรับปรุง ศูนย์บริการเสริมการเรียนรู้เรื่องภาษาต่างประเทศในจังหวัดสงขลา ให้ทุกคนเข้าถึงและใช้บริการ (ทั้งปรับปรุงของเดิม /สร้างใหม่) (2) มีศูนย์ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการจัดการศึกษา (3) ส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาที่มีมาตรฐานเท่าเทียมกันในทุกระดับ (4) โครงการผลิตครูรุ่นใหม่ เก่ง ดี มีคุณธรรม โดยการสรรหาเด็กเก่งในพื้นที่ ให้ทุน กลับมาสอนในสถาบันการศึกษาในพื้นที่ (5) การพัฒนาศักยภาพครู/ ข้าราชการ ในจังหวัดสงขลา ตามหลักสูตร effective personal productivity โดยภาคธุรกิจ

สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการพัฒนาแบบการเรียนรู้ใหม่ (New learning platform) ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบตลอดชีวิต (Life long learning) (2) โครงการพัฒนาระบบการเรียนรู้ดิจิตอลออนไลน์ (Digital online) โดยมีหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาความรู้ทักษะความสามารถในแต่ละช่วงวัยและแต่ละสาขาอาชีพ (3) โครงการจัดตั้งกองทุนและศูนย์วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (4) โครงการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในทุกระดับจัดทำแผนปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (5) โครงการจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ภาษาไทย จีน อังกฤษ มลายู ในพื้นที่พหุวัฒนธรรม (6) โครงการขยายผลการศึกษา Active Learning และ STEM ศึกษาในระดับขั้นพื้นฐานของรัฐ เพื่อพัฒนาบุคลากรแกนนำด้าน Active Learning และ STEM ศึกษาและเป็นการยกระดับคุณภาพผู้เรียน (7) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ในจังหวัดสงขลา ตามหลักสูตร effective personal productivity

        3.4) การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) ข้อเสนอจากการประชุม (1) โครงการพัฒนาช้างเผือก (2) หอศิลปะวัฒนธรรมมีการส่งเสริมกิจกรรมท้องถิ่น /ระดับประเทศ เช่น หนังตะลุง มโนราห์ /การแสดงในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ในกลุ่มคนที่เก่งด้านการแสดง (3) โครงการพัฒนาขีดความสามารถ และศักยภาพของผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ เช่น ศิลปะ /กีฬา /การแสดง (4) จัดทำฐานข้อมูลรวบรวมผู้ที่มีความสามารถในด้านต่างๆ (5) ส่งเสริมให้ทุนการศึกษาผู้ที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ เช่น กีฬา วิทยาศาสตร์ ศิลปะ การแสดง ภาษาต่างประเทศ สรุปโครงการ 4 ปี
(1) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งความเป็นเลิศ เป็นโครงการรวบรวมและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและรักษากลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ ในด้านต่างๆ ในระดับตำบล (2) โครงการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนการสร้างกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ (3) โครงการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวศึกษา และโรงเรียน มีกองทุนส่งเสริมการพัฒนานักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ (4) โครงการจัดทำ Human Mapping ซึ่งเป็นแผนที่แสดงถึงศักยภาพของคนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ ในแต่ละพื้นที่

        3.5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ข้อเสนอจากการประชุม (1) โครงการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ สสจ. 3.5.1 (กลุ่มแม่ค้า ครอบครัว ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน) โครงการศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนลดเกลือและน้ำตาล (2) โครงการพัฒนา application การคัดกรอง การดูแลตนเองจากภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง HL กลุ่ม สาธารณสุข ศึกษา ผู้นำชุมชน (กิจกรรมทางกาย อาหาร) หลักสูตร /application การจัดการความโกรธที่นำไปสู่การลดการใช้ความรุนแรง (3) พัฒนาโปรแกรมเครื่องมือส่งเสริมกิจกรรมทางกายในมือถือหรือคอมพิวเตอร์ (4) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย ในโรงเรียน สถาที่ทำงาน สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพชุมชน ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) โดยเฉพาะการส่งเสริมป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยชุมชน (2) โครงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมร่วมของชุมชนในการจัดการปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะเรื่องสุรา บุหรี่ สารเสพติด (3) โครงการส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งสามารถจัดการระบสุขภาพชุมชนได้โดยชุมชนเอง โดยเฉพาะเรื่องการจัดการระบบข้อมูลสุขภาพชุมชน การจัดทำแผนสุขภาพของชุมชน และการเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (4) โครงการสร้างและพัฒนาศักยภาพของกลไกอาสาสมัครด้านสุขภาพ เช่น มีอาสาสมัครด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าว มีอาสาสมัครสุขภาพของศาสนสถาน มีการจัดทำเครือข่ายอาสาสมัครสุขภาพของชุมชน (5) โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพ เช่น การจัดทำธรรมนูญสุขภาพในระดับตำบล ในระดับอำเภอ และในระดับจังหวัด การจัดให้มีสมัชชาสุขภาพเพื่อเป็นพื้นที่ของการพัฒนานโยบายสาธารณะสุขภาพ ตลอดจนการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนนโยบายทุกนโยบายที่เอื้อต่อสุขภาพ

        3.6) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ข้อเสนอจากการประชุม (1) การเสริมสร้างเรื่องวินัยการเงินในคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่น (2) สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมการฝึกอาชีพ/ ทำงานในช่วงหยุดภาคเรียนให้กับนักเรียน นักศึกษา (3) โครงการโรงเรียนพ่อแม่ (4) โครงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น สรุปโครงการ 4 ปี (1) โครงการส่งเสริมให้ครัวเรือนใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางสำคัญในการวางแผนการดำเนินชีวิตและมีการใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือในการว่างแผนเศรษฐกิจของครัวเรือน (2) โครงการอาหารของแม่ เป็นการส่งเสริมให้ครอบครัวมีการจัดหาอาหาร มีการปรุงอาหาร และมีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้อาหารเป็นสื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก ศาสตราจารย์กิตติกุล ดร.วิษณุ เครืองาม ประธานมูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีข้อสังเกตว่า แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรเน้นพิจารณา 6 ด้าน เป็นองค์ประกอบ คือ สุขภาพอนามัยตามช่วงวัย การศึกษา การกีฬา การอาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และความด้อยโอกาส (ปัญหาของทรัพยากรมนุษย์บางประเภทที่เกิดกับวัยต่างๆ ทำให้ชาติต้องเสียทรัพย์) โดยใช้ศักยภาพความพร้อมในด้านวิชาการ (มหาวิทยาลัย) และองค์กรภาคีเครือข่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

9999

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

(0)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่