สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แผนงานกลางระบบอาหารประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา

ประชุมเวทีระดมทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช 18 ธันวาคม 2560
18
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ประเด็น อาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และโภชนาการสูงวัย ในระดับจังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • 09.30 - 09.10 แนะนำหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม
  • 09.10 - 09.30 นำเสนอตัวอย่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สจรส.ม.อ.
  • 09.30 - 10.00 นายแพทย์ สสจ.กล่าวต้อนรับและกล่าวความร่วมมือในการทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนครศรีฯ
  • 10.00 - 11.30 แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มีพี่เลี้ยง อ.ชุติมา รอดเนียม หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย สำนักงานประมง สำนักงานเกษตร และภาคประชาชน
  • กลุ่มที่ 2 ประเด็นอาหารปลอดภัย มีพี่เลี้ยง ดร.เพ็ญ สุขมาก หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.นครศรีฯ
  • กลุ่มที่ 3 ประเด็นโภชนาการสมวัย มีพี่เลี้ยง นายยุทธนา เกตุชุม และ อ.นัยนา หนูนิล หน่วยงานที่อยู่กลุ่มนี้ ประกอบด้วย ฝ่ายส่งเสริมและโภชนาการ สสจ. และ สนอ.ทุ่งใหญ่
  • 11.30 - 12.00 น. นำเสนอร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารในแต่ละประเด็น
  • 12.00 - 12.30 น. สรุปการประชุม และแนวทางการขับเคลื่อน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ทั้ง 3 ประเด็น มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  1. ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย ข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร (พื้นที่การทำเกษตร การทำประมง จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้ และการส่งเสริมทางด้านการเกษตรของภาครัฐ) มีกรอบยุทธศาสตร์ 8 ด้าน คือ 1) มีการคุ้มครองพื้นที่การเกษตรเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตโดยการจัดทำแผนผังแม่บท (โซนนิ่ง) ผังเมือง พื้นที่ที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ และเขตฟาร์มทะเล 2) ชุมชนพึ่งตนเองด้านอาหารในระดับชุมชน ครอบครัว 3) การฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน อาหารและสมุนไพรเป็นยา 4) ยกระดับ เพิ่มมูลค่าอาหารไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 5) บูรณาการเรื่องอาหารพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน ให้อยู่ในแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดและแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์/แผนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน 6) จัดตั้งเป็น “ศูนย์การจัดการฐานทรัพยากรเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย” ขึ้น ทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 7) จัดระบบเพื่อรองรับความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤต 8) จัดระบบการสื่อสารสาธารณะทั้งภายในและภายนอกในการรณรงค์และขยายผลความมั่นคงทางอาหาร
  2. ประเด็นอาหารปลอดภัย มีกรอบยุทธศาสตร์ 7 ด้าน คือ 1) ทบทวนและร่วมกันผลักดันคณะกรรมการอาหารปลอดภัยของจังหวัด 2) ผลักดันมาตรฐาน GAP ที่เหมาะสมให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย และเป็นข้อตกลงของชุมชนโดยเน้นระบบตลาดภายในจังหวัด ตลาดในห้างสรรพสินค้า และตลาดส่งออก 3) ผลักดันให้เกิดตลาดและร้านอาหารปลอดภัยและโภชนาการเพื่อสุขภาพ 4) รณรงค์สร้างกระแสให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของอาหารปลอดภัย และโภชนาการที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าวที่เกี่ยวข้อง 5) สร้างต้นแบบสำหรับการผลิตที่ได้มาตรฐานในระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดการปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบการ เกษตร ผู้ผลิต และผู้บริโภค 6) พัฒนากลไกการติดตามเฝ้าระวัง และคุ้มครองผู้บริโภคระดับท้องถิ่นที่เน้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภค 7) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลติดตามเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย (Information Center) ระดับจัง
  3. ประเด็นโภชนาการสมวัย มีกรอบยุทธศาสตร์ 10 ด้าน คือ 1) พัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการและสุขภาพในทุกพื้นที่ ทั้งระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 2) ผลักดันให้เกิดขับเคลื่อนเรื่องโภชนาการสมวัยเข้าสู่แผนชุมชนและแผนท้องถิ่น 3)พัฒนารูปแบบการใช้นวัตกรรมด้านอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ 4)  ประกาศให้ เรื่องอาหารของแม่ เป็นวาระของจังหวัด เพื่อให้เด็กได้รับการโภชนาการที่ดีและเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัว 5) ส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการจัดการเรื่องโภชนาการในทุกกลุ่มอายุ 6) มีการพัฒนาเครื่องชี้วัดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประเมินภาวะโภชนาการอันเป็นผลของพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการที่ไม่ปกติ 7) สร้างและยกระดับบุคลากรรวมถึงอาสาสมัครต่างๆให้ทำงานด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และ โภชนาการสมวัย 8) ประกาศให้เรื่องอาหารของหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เป็นวาระของจังหวัด 9) ผลักดันการแก้ปัญหาสารปรุงรส (โซเดียม น้ำตาล สารปรุงแต่งรส) เข้าสู่การจัดการในระดับชุมชน 10) บูรณาการงานวิจัยกับการสร้างเสริมภาวะโภชนาการในแต่ละกลุ่มวัย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน ทีม สสจ.นครศรีฯ ประกอบด้วย นายแพทย์ สสจ. หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและโภชนาการ รวมทั้งคณะทำงานทั้ง 3 ฝ่าย
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน จ.นครศรีฯ ทั้งภาคราชการ และภาคประชาชน
  • ทีมวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
  • ทีม สจรส.ม.อ.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การประสานงานที่เร่งด่วน ทำให้ที่หน่วยงานตอบรับเข้าร่วมน้อย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-