สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.นครศรีธรรมราช

เวทีสาธารณะ “ย้อนรอย 470 วัน น้ำท่วมใหญ่ : การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน20 เมษายน 2561
20
เมษายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อรำลึกและสรุปบทเรียนจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่กับการการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน    2.สร้างความร่วมมือในการจัดการภัยพิบัติร่วมกับภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดนิทรรศการเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ 2.การแสดงมโนราห์c]tการแสดงอะคลูติค 3.พิธีการทางศสาสนา  ทำบุญเลี้ยงพระ และสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
4.การเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้การเเตียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติ ตำบลชะอวด 5.เวทีสาธารณะ "บทเรียนน้ำท่วมใหญ่กับการจัดการภัยพิบัติ"  มีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้       -  ปภ.จังหวัดนครศรีธรรมราช       - ชลประทาน       - นักวิชาการการจัดการภัยพิบัติ       - นายอำเภอชะอวด       - เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติภาคใต้       - ตัวแทนชุมชน       - มูลนิธิชุมนไทย       - ปลัดอำเภอชะอวด ดำเนินการโดยนายอานนท์  มีศรี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เสวนา 470 วัน มีความหมายกับคนชะอวดอย่างไร? "ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ชาวบ้านมีการเตรียมตัวหรือตั้งรับอย่างไรบ้าง"     ปลัดฯจันทร์ฉาย  วันที่ 28 ธันวาคม 2560 เหตุการณ์น้ำท่วมชะอวด การเตรียมตัวของหน่วยงานราชการ ขาดประสบการณ์ การอพยพเป็นเรื่องยากของชาวบ้าน ไม่เชื่อ คิดว่าคงท่วมไม่มาก ห่วงบ้าน ห่วงข้าวของ  เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงๆสิ่งที่เราเห็นคือการพร้อมใจกันช่วยเหลือของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  ระยะเวลาแค่ 4 ชม.น้ำขึ้นสูงสุดถือว่าเร็วมาก  การที่ชาวบ้านชินกับฤดูน้ำหลาก ความเชื่อว่าอย่างไรก็ท่วมไม่มากหรือไม่ถึงชั้น 2 ของบ้านแน่นอน  ทุกคนที่เข้ามาช่วยเหลือถือว่าเป็นผู้มีประสบการทั้งสิ้น  วันที่น้ำลดระดับสิ่งที่ทำได้คือ การขอความช่วยเหลือข้างสาร อาหารแห้งให้กับพี่น้องผู้ที่ประสบภัย100%  สิ่งที่อยากให้ตระหนักมากที่สุดคือ การแจ้งเตือนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด  ขอให้ชาวบ้านช่วยกันเพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด  ให้ชุมชนได้เรียนรู้เรื่องการประสบภัยให้ได้มากที่สุด นายวัชระ  เกตุชู  ปัญหาอยู่ที่ความเสียหายที่มีมากกว่าปกติ  ปี 60 น้ำมาแรงและเร็วการเตรียมตัวของชาวบ้านไม่ทัน  ปกติน้ำใช้เวลาเดินทางมาจากห้วยน้ำใส  มาจากตะวันออกไปตะวันตก  ครั้งแรก5 ธ.ค.59 ครั้งที่ 2 วันที่ 6 ม.ค.60  ข้อดีคือมีเรืออยู่ในหมู่บ้านหลายลำ  แต่ไม่สามารถติดต่อกับภายนอกได้  ต้องใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการติดต่อกับภายนอกในเรื่องของข้าวสารอาหารแห้งมาให้กับชาวบ้านในพื้นที่  การเตรียมความพร้อมของชาวบ้านพอมีอยู่บ้างแต่ไม่มากพอ     นายไมตรี  จงไกรจักร  วันนี้เรามีปภ.มาร่วมรับฟังและร่วมเสวนาด้วยจะได้มองไกลไปถึงความร่วมมือในภาคหน้า  หน่วยงานจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับชาวบ้านหรือหน่วยงานเอกชนมากขึ้น  ธรรมดาในพื้นที่ชะอวดน้ำท่วมเป็นเรื่องปกติคือ น้ำจะมาเรื่อยๆ  ชาวบ้านมีวิถีในการดำรงชีวิตอยู่กับน้ำ  แต่ครั้งที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่หนักสำหรับชาวบ้าน น้ำมาเร็วและแรงมาก  เหมือนกับคำที่พูดว่า “น้ำเพ”และ“เลเพ” พื้นที่ที่น้ำไม่ท่วมจะมีน้อยมากเรียกว่าท่วม 100% ก็ว่าได้  สิ่งที่เป็นปัญหากับบ้านเรามาช้านาน คือ ระบบกฎหมายของบ้านเรา คือ มีการจัดการเฉพาะวิกฤติเท่านั้น ไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า  ชาวบ้านต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเอง หาทางช่วยเหลือกันเองก่อน  ความเหมือนกับความต่างระหว่างชะอวดกับที่อื่นๆ ถือว่า ชะอวดล้มเหลวเกี่ยวกับระบบรัฐ  มีการประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป  การสื่อสารเรื่องระบบเตือนภัยล้มเหลว  ประกอบกับชาวบ้านมีความเชื่อว่าไม่รุนแรง เกิดทุกปี  ข้อมูลไม่สอดรับกับความจริง ชาวบ้านไม่เชื่อ หน่วยงานไม่เชื่อ  470 วันหลังจากเกิดภัยพิบัติ ทุกชุมชนมีการเตรียมพร้อมเรื่องการจัดการด้านภัยพิบัติ ประกาศตัวตนว่าเป็นชุมชนจัดการภัยพิบัติ  รัฐเป็นตัวช่วยเสริมกำลังให้กับชุมชนเท่านั้น "การจัดการตนเองเมื่อช่วยเหลือตนเองได้แล้วต้องหันกลับมาช่วยเพื่อนด้วย  เราทำอย่างไร"     รต.สุภาพร  ปราบราย เหตุการณ์ย้อนรอยกับบทบาทที่เข้ามาเป็นอาสาจัดการภัยพิบัติ  แนวคิดถ้าพี่น้องในชุมชนไม่ลุกขึ้นมาจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ตนเองแล้วจะหวังให้ใครมาช่วยเหลือ  ถ้าระบบรัฐกับชุมชนไม่ได้ร่วมมือหรือกอดกันในการแก้ปัญหาไม่มีวันที่ปัญหาจะสามารถแก้ได้  จึงคิดว่าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราต้องหันมาร่วมมือกันให้มากขึ้น ยอมรับกันให้มากขึ้น เพิ่มภาคีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มากขึ้น
    ดร.สมพร  ช่วยอารี  เทคโนโลยีไม่ว่าจะทันสมัยแค่ไหนก็ต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้อง ถึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ  น้ำเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เคยประสบและต้องประสบต่อไปในอนาคตข้างหน้า  เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ การปรับตัว การปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้เข้ากับสถานการณ์  อยู่กับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นให้ได้  อีกอย่างที่เราต้องปรับคือการใช้ประโยชน์ที่ดินของเราเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  การจัดการภัยพิบัตินอกจากมีการจัดการเรื่องการวางแผน เรื่องแผนที่ ต้องมีการจัดการเรื่องอาหารไว้รองรับด้วย พลังงานที่เราต้องใช้  แผนที่ภัยพิบัติสิ่งที่เราต้องรู้ คือ รู้น้ำคือรู้ทางน้ำ รู้ลม คือรู้ทางลม ช่องลม รู้ไฟคือรู้ทางไฟ ชุมชนต้องชี้เป้าให้กับหน่วยงานได้รับรู้ด้วย ที่สำคัญข้อมูลต้องมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ  เมื่อถึงภาวะที่เกิดภัยทำอย่างไรให้เราเป็นกู้ภัยในตัวเราเอง คือ ช่วยเหลือตนเองให้ได้ก่อน แล้วค่อยช่วยเหลือคนอื่น
ปภ.  บทบาทของปภ.มีตั้งแต่ ก่อนเกิด ขณะเกิด หลังเกิด  ที่ผ่านมาความเสียหายมักจะเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ที่เราคาดไม่ถึง  การร้องขอทรัพยากรต่างๆ  ปภ.จังหวัดจะไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติการในพื้นที่  เนื่องจากอุปกรณ์ ทรัพยากรมีน้อย  ซึ่งทรัพยากรในการใช้ช่วยเหลือจะอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่  การสร้างกระบวนการให้ชุมชนสามารถจัดการตัวเองได้จึงเป็นจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน 1 ตำบล 1 ศูนย์ภัยพิบัติ  ตอนนี้เราสามารถบอกได้ว่าในตำบลจะตั้งศูนย์ได้ที่ไหน  หรือถ้าชุมชนมีศูนย์อยู่แล้วก็จะเข้ามาสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น  แนวคิดผู้ว่าฯประธานศูนย์สามารถเป็นใครก็ได้ที่ชาวบ้านให้ความเชื่อถือ     นายยรรยงค์  โกศลการ ชลประทาน  กรมชลทำในเรื่องน้ำทุกระบบทุกภาคส่วน  ข้อมูลผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน  บทบาทหน้าที่บริหารจัดการน้ำ จัดหาแหล่งน้ำ  พัฒนาแหล่งน้ำ เป็นต้น  มีการคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า 3 เดือน  และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง  มีกลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มผู้บริหารจัดการน้ำ แต่มีเฉพาะในเขตชลประทานเท่านั้น  กรมชลฯยังมี ... นายวิชัย  สุวรรณโณ ผอ.พอช.ภาคใต้  แนวโน้มการจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  มีเป้าหมายส่งเสริมสนับนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น โดยผ่านสภา หรือกองทุนสวัสดิการ  ก่อนเกิดเหตุแบ่งเป็น3ส่วน พอช.มีภารกิจสนับสนุนเรื่องที่ชุมชนประสบ มีการแลกเปลี่ยน มีกลไกของชุมชน ขณะประสบเหตุ ช่วยเหลือตามเหตุการณ์ที่เกิด หลังประสบเหตุ  ร่วมกับกลไกของชุมชน มีการทำแผนและแก้ปัญหาร่วมกัน เช่นเรื่องที่อยู่อาศัย สร้างกระบวนการให้เกิดการพูดคุยของชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง  ปัญหาต่อไปจะอยู่ที่พื้นที่ยังไม่เคยประสวบเหตุจะไม่มีการเตรียมรับมือ  เราต้องมีการเข้าไปช่วยกันสร้างกระบวนการในพื้นที่  ที่ผ่านมาปัญหาการจัดการภัยพิบัติ อยู่ที่ น้ำมากจริง หรือการจัดการไม่ดี  ไม่รู้จะประสานใครหรือหน่วยงานไหน สิ่งที่ชาวบ้านพึ่งได้มากที่สุดจึงเป็นสื่อฯในพื้นที่หรือสื่อที่เข้ามาจากข้างนอก  เรื่องสำคัญอีกเรื่องที่ทำให้ภัยพิบัติรุนแรงเพิ่มขึ้น คือ ผังเมือง  เนื่องจากการวางผังเมืองไม่เป็นระบบ หรือมีการจัดการที่ไม่ดี  เรื่องกฎหมาย ต้องเปิดช่องที่สามารถเอื้อให้มากที่สุด  เรื่องของภาวะภัยพิบัติเป็นเรื่องที่แก้ที่ปลายทาง สภาวะอากาศที่เปลี่ยนไป การแก้ไขปัญหาต้องช่วยกันรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่มากที่สุด "การก่อตัวกับพื้นที่กลาง เริ่มต้นอย่างไร"     นายวัชระ เกตุชู  มีวงพูดคุยในระดับหมู่บ้าน  มีกองทุนหลายๆกองทุนเกิดขึ้น  เพื่อรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน  ให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น กฏหมายกพ. การบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร การทำงานร่วมกันเพื่อลดภาวะภัยพิบัติ     นายไมตรี  จงไกรจักร  การทำงานเสริมกับชุมชนพร้อมรับมือภัยพิบัติ  ถ้านครทำเรื่องนี้ให้เกิดจริงๆ โดยให้ปภ.ตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้น1ชุดที่มาจากทุกภาคส่วน  รวมถึงต้องมีสภาองค์กรชุมชนด้วย มีประกาศจังหวัด เช่นระบุว่าทุกปีจะต้องมีการซ้อมแผนภัยพิบัติปีละ1 ครั้ง  พอช.ต้องมีหน้าที่ส่งเสริมเรื่องการจัดการภัยพิบัติด้วย ปภ.มีหน้าที่ส่งเสริมชุมชนอย่างชัดเจน
    ดร.สมพร  ช่วยอารี  มองว่ากฎของธรรมชาติเป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นเรื่องที่กลมกลืน  เราทำอย่างไรให้กระบวนการบริหารจัดการเป็นไปอย่างกลมกลืน  การจัดการภัยพิบัติระดับครัวเรือน ครัวเรือนจัดการได้ทุกอย่างจัดการได้  ครัวเรือน 5 โรง ไฟฟ้า  ประปา  แก๊สชีวภาพ  อาหาร  โรงเรียน เป็นหน่วยการเรียนรู้ครัวเรือน  เปลี่ยนจากศูนย์ให้เป็นหนึ่ง  แต่ถ้าจะเป็น 4.0 ต้องรู้ล่วงหน้า รู้เท่าทัน ช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยเหลือคนอื่นได้  เพราะในอนาคตเราต้องอยู่กับสิ่งเหล่านี้อย่างยาวนาน  เพราะฉะนั้น พร้อมหรือเปล่า?  พ=พาหนะ ร=ยานพาหนะทางน้ำ อ=โอ่ง ม=ยานพาหนะทางบก     นายวิชัย  สุวรรณโณ ผอ.พอช. ภาคใต้  การจัดการภัยพิบัติที่ควรจะเป็น คือให้ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการด้วยตนเอง  ต้องที่ครัวเรือน สภาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นที่รวมของกลุ่มองค์กรในชุมชน นั่นหมายถึง ศักยภาพของคนในชุมชนได้มารวมอยู่ในที่เดี่ยวกัน  ความเป็นจริงในตำบล 3 กับ 3 รวมตัวกัน คือ ชุมชน(สภาองค์กรฯ) ท้องถิ่น ท้องที่  โอกาสที่จะทำศูนย์ให้เต็มทังล้อจังหวัด  2. ติดที่นโยบาย ระบบ โครงสร้างที่ยังไม่เอื้อ ไม่เปิดโอกาส  เราต้องทำทั้ง3 ระดับ และต่อเนื่อง  ล่าง บน นโยบายรัฐเป็นถ้าทำแล้วกระทบในพื้นที่ในหลายๆเรื่อง วิถี สภาแวดล้อม ก็ต้องมีการทบทวน     นายมานะ ยะสะนพ ตัวแทนตำบลบ้านตูล 1.การจัดการภัยพิบัติของพื้นที่  ถือว่าเป็นศูนย์รวมน้ำใจ  ที่คนในพื้นที่ หน่วยงาน ได้มารวมตัวกัน  ธารน้ำใจต้องหลั่งไหลได้ทุกเวลาไม่ใช่เฉพาะยามวิกฤติเท่านั้น  ที่ยกระดับจากการจัดการภัยพิบัติเฉพาะอย่างมาเป็น     รต.สุภาพร  ปราบราย  นครศรีธรรมราชจะมีการจัดทำแผนพัฒนาทั้งจังหวัดในปี 61 คาดหวัง 50 ตำบลมีแผนที่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีข้อเสนอเชิงนโยบาย 42 ตำบล 1ตำบล1 ศูนย์เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติเกิดทุกอำเภอ
"การหนุนเสริมให้เกิดความเป็นจริงทำได้อย่างไร"
    ปภ.  ในแนวราบจะประสานทุกเครือข่าย  ข้อมูล ขาดแต่เรื่องคำสั่ง นำไปสู่การปฏิบัติ  เราจะทำทุกเรื่องที่เกี่ยวกับสาธารณะภัย  ประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการให้ความร่วมมือ ชลประทาน  จะกลับไปศึกษาเรื่องสภาองค์กรชุมชนเพิ่มเติมซึ่งถือว่าจะเป็นประโยชน์และเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งได้ในอนาคต  ค้นหาผู้นำที่เป็นผู้นำจริงๆ สรุปภาพรวม โดย ดร.ดำรงค์  โยธารักษ์
มี 2 กระบวนทัศน์ ที่ใช้มอง 1)วิธีคิดแบบเอาชนะธรรมชาติ  นำไปสู่การจัดการแบบรวมศูนย์ การจัดการน้ำให้สอดคล้องกับอาชีพที่หน่วยงานรัฐกำหนด 2)วิธีคิดแบบอยู่กับธรรมชาติ เป็นการกระจาย  จัดการอาชีพให้สอดคล้องกับระบบและธรรมชาติ 3จัดการอาชีพให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
ภาคปฏิบัติ  เสนอให้การการปฏิบัติการยังไม่มีภาพฝันร่วมกัน การนำเสนอต้องฉายภาพให้เห็นทั้ง 2 ด้านคือ ทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง  ปัญหาที่เกิดน้ำท่วมหนักเกิดจากอะไร  วิธีการทางความคิดไปสู่ฝันมีกระบวนการอย่างไร  ต่อจากนี้เราจะใช้กระบวนการเวทีประชาเข้าใจเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่ถูกที่ถูกทาง  อันประกอบด้วย 1. ความสุข 2. คิด เขียน พูด 3. ถ้ามีหลายแนวทางแต่ห้ามโหวต 4. ทุกคนสามารถเขียนโครงการได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

1.สภาองค์กรชุมชนตำบลชะอวด 2.เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล  อำเภอชะอวด 3.สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้  นครศรีธรรมราช 4.เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 5.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) 6.มูลนิธิชุมชนไท 7.สมาคมดับบ้านดับเมือง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี