โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12
ประชุมคณะทำงานพี่เลี้ยงสรุป และแลกเปลี่ยนการทำงานกิจกรรมทางกาย จังหวัดสงขลา
วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 เวลา 19.00-21.30 น.
ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (https://localfund.happynetwork.org/zoom)
เวลา กิจกรรม
19.00 – 20.00. ชี้แจงการดำเนินงานกิจกรรมทางกายระดับพื้นที่
20.00 – 21.00 น. สรุปการทำงานระดับพื้นที่ จ สงขลา
21.00-21.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
การจัดทำแผนกิจกรรมทางกายจังหวัดสงขลา มีทีมพี่เลี้ยงทั้งหมด 6 ทีมด้วยกัน ลำดับที่ 1 อำเภอระโนด อำเภอระโนดรายงานว่าจากการทำกิจกรรม แผนกิจกรรมทางกายมีผู้ให้ความสนใจและทำการพัฒนาแผนกิจกรรมทางกาย อบต ท่าบอน ไม่มีปัญหาอุปสรรในการทำกิจกรรม โครงการกิจกรรมทางกายบางกองทุนฯ ยังดำเนินหารอยู่ ลำดับที่ 2 อำเภอหาดใหญ่ อำเภอควนเนียง รูปแบบกิจกรรมเป็นการจัดกิจกรรมรวม 9 กองทุนฯ มี วางแผนว่าจะติดตาม แผนงานโครงการ 2 รูปแบบคือ ผ่าน ZOOM และลงพื้นที่ โครงการกิจกรรมทางกายบางกองทุนฯ ยังดำเนินหารอยู่
ลำดับที่ 3 กองทุนสทิงพระ ไม่มีปัญหาอุปสรรในการทำกิจกรรมโครงการกิจกรรมทางกายบางกองทุนฯ ยังดำเนินหารอยู่
ลำดับที่ 4 อำเภอนาทวี มีการเลือกกองทุนฯ ทำแผนกิจกรรมทางกายจำนวน 6 กองทุนฯ ไม่มีปัญหาในการดำเนินกิจกรรมโครงการกิจกรรมทางกายบางกองทุนฯ ยังดำเนินหารอยู่
ลำดับที่ 5 อำเภอจะนะ เทพา ในการลงพื้นที่จัดทำแผนไม่มีปัญหาอุปสรรค เจ้าหน้าที่ให้ความร่วมมือประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี โครงการกิจกรรมทางกายบางกองทุนฯ ยังดำเนินหารอยู่
ลำดับที่ 6 อำเภอบางกล่ำ เป็นกองทุนฯ ที่ขอทำกิจกรรมทางกายในเดือนธันวาคม ทำให้กิจกรรมล่าช้ากว่ากองทุนอื่นที่เข้าโครงการตั้งแต่เริ่มแรก แต่ไม่มีปัญหาอุปสรรคในการทำงานโครงการกิจกรรมทางกายบางกองทุนฯ ยังดำเนินหารอยู่
สรุปการทำกิจกรรม พื้นที่อำเภอบางกล่ำจังหวัดสงขลา
กลุ่มเป้าหมาย กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ในอำเภอบางกล่ำ โดยกลไกกองทุนตำบล เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบงานกองทุน และผู้ขอโครงการ ไปดำเนินการเพิ่มกิจกรรมทางกายPA ให้กับประชาชนในพื้นที่โดยครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนมี PAเพิ่มขึ้น มีความรอบรู้ มีการจัดสภาพแวดล้อม พื้นที่สุขภาวะPA.ในชุมชนและมีกลไกขับเคลื่อนPA ประกอบด้วย กองทุนตำบล เครือข่ายกลุ่มต่างๆ
โดยใช้แนวทางในการของบประมาณกองทุนฯ ได้ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพปี 2556 การพัฒนาโครงการด้านกิจกรรมทางกายสามารถทำได้ทุกกลุ่มวัยและสามารถ เพิ่มเติมกิจกรรมในโครงการต่างๆ ให้คนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้นเช่น กิจกรรมก่อนการอบรมควรเพิ่มเติมการ ขยับร่างกาย ก่อนการอบรม หรือหลังพักเที่ยง เพื่อเป็นการผ่อนคลายและได้เรื่องสุขภาพ หรืออย่างเช่นของเทศบาสลตำบลท่าช้างมีแนวคิด เพิ่มกิจกรรมทางกายในศูนย์กักตัวคนที่ติดเชื้อ covid – 19 หรือตัวอย่างของโณงเรียนต่างๆ ที่ทำกิจกรรมทางกายก่อนเข้าห้องเรียน เช่นพื้นมหาสนุก โดยให้เด็กนักเรียนวาด หรือใช้ภาพ ที่น่าสนใจในการทำกิจกรรม ตาราง 9 ช่อง หรือ เป็นอักษร ให้เด็กได้อ่านและเล่น ก่อนเข้าเรียน โดยสามารถอนุมัติโครงการได้ตาม ประเภทผู้ขอรับทุน ดังนี้
การถอดบทเรียนวิเคราะห์ปัญหาพื้นที่ ครอบคลุมมิติกิจกรรมทางกายในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ
สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่เทศบาลตำบลท่าช้าง มีอัตราการฆ่าตัวตายของประชาชนในพื้นที่เกินเกณฑ์ที่กำหนดของกระทรวงสาธารณสุข สาเหตุเกิดเนื่องจากภาวะเครียด ด้านเศรษฐกิจ หนี้สิน และสถานการณ์โรคโควิด-19
ด้านสังคมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เทศบาลตำบลท่าช้างเป็นสังคมพาหุวัฒนธรรม วิถีไทยพุทธ และไทยมุสลิม มีกลุ่มเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย เครือข่ายแอโรบิคตำบลท่าช้าง (กลุ่มวัยทำงาน) เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ (13ชุมชน) เครือข่ายทูบีนัมเบอร์วัน (เด็ก-เยาวชนในโรงเรียน) เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อสร.)
ด้านองค์กร หน่วยงานในพื้นที่ ประกอบด้วย อปท. อำเภอบางกล่ำ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ (มหาวิทยาลัยทักษิณ) คลีนิคให้คำปรึกษาสุขภาพจิต ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต โรงเรียนผู้สูงอายุ และบริษัทซีพีฮอล์
ประเภทของการมีกิจกรรมทางกาย ประกอบด้วย การรำไม้พลอง แอโรบิค คีตะมวยไทย โนราบิค ลิเกฮูลู การเดินออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน การออกำลังกายด้วยยางยืด กีฬาประจำปี (บานไม่รู้โรยเกมส์) การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านของผู้สูงอายุ การปลูกผักสวนครัวของครัวเรือน และการยืดเหยียด หยุดพักในที่ทำงาน ของพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาล มาผ่อนคลายโดยการเต้นเพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ช่วยสร้างพลังในการทำงาน
ด้านสภาพแลดล้อม มีพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนในพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ถนนปันสุข มีการจัดภูมิทัศน์ 2ข้างทาง มีการปลูกต้นทองอุไร อย่างน้อย 500ต้น ในช่วงที่มีการออกดอกบานสพรั่ง จะเป็นจุดเชคอิน ถ่ายภาพ ของคนที่ไปเดินออกกำลังกาย และปั่นจักรยาน
ประเมินคุณค่าโครงการ การป้องกันโรคไข้เลือดออกและการป้องโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 ปีพ.ศ.2564 มีการบูรณาการกิจกรรมทางกายในการดำเนินโครงการ เช่น การเดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ชุมชนทุกชุมชน การทำความสะอาด Big Cleanning Day การออกกำลังกายภายในศูนย์กักตัวผู้ป่วยโควิด-19 การใช้กิจกรรมPA เข้ามากระตุ้นด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อลดภาวะเนือยนิ่ง เครียด ภาวะซึมเศร้า และลดการฆ่าตัวตายของประชาชนในพื้นที่