สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12

ประชุมพี่เลี้ยงวางแผนการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าการทำกิจกรรม ระดับจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 322 เมษายน 2565
22
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย ดวงดาว อุปสิทธิ์
  • 1 ประชุมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด 27 กพ 65.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมกิจกรรมประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันทึกประชุมกิจกรรมประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย กองทุนหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธุ์ 2565 เวลา 12.30 -16.00 น. ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (https://localfund.happynetwork.org/zoom)

เวลา กิจกรรม 12.30- 13.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมติดตามและการวางแผนการดำเนินงาน คณะทำงานพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย เขต 12 จังหวัดสงขลา
13.00-13.30 น. ชี้แจงแนวทางการทำแผนและพัฒนาแผนในระดับพื้นที่ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย 13.30-14.00 น สรุปการลงพื้นที่จัดทำแผน
14.00-16.00 น. วางแผนการลงพื้นที่และพัฒนาแผนให้สมบูรณ์ตามแนวคิดของ สนส. มอ


วาระที่ 1 ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมติดตามและการวางแผนการดำเนินงาน คณะทำงานพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย เขต 12 จังหวัดสงขลา คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดสงขลา จำนวน 7 คน ประกอบด้วย
-นายทนงศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
-นางเพียงขวัญ กาญจนเพ็ญ -นายศุภชัย เผือกผ่อง -นายธนพนธ์ จรสุวรรณ -นายอะหมัด หลีขาหรี -นส.ดวงดาว อุปสิทธิ์     -นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี การจัดกิจกรรมประชุมในครั้งนี้เป็นการสรุปการทำงานลงพื้นที่ทำแผนงานกิจกรรมทางกาย ครั้งทื่ 3
วางแผนการดำเนินการติดตามแผนกิจกรรมทางกายและการคัดเลือกกองทุนแม่ในระดับพื้นที่

วาระที่ 2 ชี้แจงแนวทางการทำแผนและพัฒนาแผนในระดับพื้นที่ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย การจัดประชุม ชี้แจงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงให้มีทักษะการทำแผน การเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และติดตามประเมินผลโครงการ เรามาทำความเข้าใจการทำกิจกรรมทางกาย คืออะไร เพื่อให้ตัวแทนกองทุนที่เข้าร่วมมีความเข้าใจกิจกรรมทางกายมีอะไรบ้าง เช่น การเดิน การทำงาน การประกอบอาชีพ การเล่นกีฬา กิจกรรมเรลลี่ กิจกรรมอาสาฯ ตลอดจนการบูรณาการการชับเคลื่อนงานของโครงการที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เช่น โครงการในส่วนของเทศบาล ในส่วนของกองต่างๆ เช่น โครงการส่วนของกองสาธารณสุข กองสวัสดิการ หรือ การทำโครงการโควิดที่ส่งเสริมให้มีกิจกรรมออกกำลังกายในพื้นที่การกักตัว ของผู้ป่วย เพื่อลดภาวะซึมเศร้า และมีการออกกำลัง เคลื่อนไหว ให้ร่างกายแข็งแรง สามารถต่อสู้กับโรค
แนวคิดในการติดตามแผนเราต้องศึกษาทุกมิติทั้งแผนงานกองทุนฯ และแผนของหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ ที่มีรูปแบบกิจกรรมสามารถนำมาใส่ในแผนกิจกรรมทางกายได้ หากกองทุนฯไหนทำระดับ พชอ. สามาระเอาแผนอำเภอและแผนในพื้นที่มาเชื่อมโยงกันได้โดยไม่ใช้งบประมาณของกองทุนฯ เช่นปี นี้ในระดับ พชอ. เอาจะเลือก อำเภอจะนะ และอำเภอบางกล่ำ เช่นในตัวอย่างที่อาจารย์นำเสนอในเวทีประชุม การทำกิจกรรมทางกายระดับประเทส เช่นเด็กเพชร อ่านเมือง เพื่อให้เด็กเรียนรู้วางแผน เป็นแผนภาพที่ชัดเจน การสร้างเมืองสุขภาพด้วยตัวเรา ในประสู่กระบวนการสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมทางกาย การสร้างรูปแบบกิจกรรมทางกายในพื้นที่ โดยสอดคล้องกับศิลปะและวัฒนธรรมของพื้นที่ การค้นหาต้นทุน ในพื้นที่ และการเสริมของทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีกิจกรรมทางกายทุกมิติ
ขอให้พี่เลี้ยงทุกท่านส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับพื้นที่ ทั้ง 3 กลุ่มวัย คือ 1) วัยผู้สูงอายุ 2) วัยทำงาน
3) วัยเด็กและเยาวชน เราสามารถเริ่มต้นจาก การดูโครงสร้างของ อปท. ว่ามีหน่วยงานอะไรบ้าง มีกลุ่มเครือข่ายอะไรบ้าง และไปสอบถามว่าปี งบประมาณ 2565 เขามีกิจกรรมทางกายของแต่ละกลุ่มวัย อะไรบ้างเพื่อใส่เข้าไปในแผนงานด้านกิจกรรมทางกาย ซึ่งหาเป็นเรื่องการก่อสร้าง หาเราใส่ชื่อกิจกรรมเข้าไป อาจจะวงเล็บว่าไม่ใช้งบกองทุนฯ เพื่อให้คนนอกรู้ หรือจะใช้รูปแบบที่น้องดาว ทำคือให้แต่ละกองทุนฯ ไปวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ โดยแบ่งกลุ่มโครงการตามช่วงวัย ต่อไป







วาระที่ 3 สรุปทีมการทำงานกองทุนฯ ด้านกิจกรรมทางกายเขต 12 สงขลา
การจัดทำแผนกิจกรรมทางกายจังหวัดสงขลา มีทีมพี่เลี้ยงทั้งหมด 6 ทีมด้วยกัน ลำดับที่ 1 อำเภอระโนด อำเภอระโนดรายงานว่าจากการทำกิจกรรม แผนกิจกรรมทางกายมีผู้ให้ความสนใจและทำการพัฒนาแผนกิจกรรมทางกาย อบต ท่าบอน ไม่มีปัญหาอุปสรรในการทำกิจกรรม ลำดับที่ 2 อำเภอหาดใหญ่ อำเภอควนเนียง รูปแบบกิจกรรมเป็นการจัดกิจกรรมรวม 9 กองทุนฯ มี วางแผนว่าจะติดตาม แผนงานโครงการ 2 รูปแบบคือ ผ่าน ZOOM และลงพื้นที่
ลำดับที่ 3 กองทุนสทิงพระ ไม่มีปัญหาอุปสรรในการทำกิจกรรม ลำดับที่ 4 อำเภอนาทวี มีการเลือกกองทุนฯ ทำแผนกิจกรรมทางกายจำนวน 6 กองทุนฯ ไม่มีปัญหาในการติดตามแผน ลำดับที่ 5 อำเภอจะนะ เทพา ในการลงพื้นที่จัดทำแผนไม่มีปัญหาอุปสรรค เจ้าหน้าที่ให้ความร่วมมือประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
ลำดับที่ 6 อำเภอบางกล่ำ เป็นกองทุนฯ ที่ขอทำกิจกนนมทางกายในเดือนธันวาคม ทำให้กิจกรรมล่าช้ากว่ากองทุนอื่นที่เข้าโครงการตั้งแต่เริ่มแรก แต่ไม่มีปัญหาอุปสรรคในการทำงาน

วาระที่ 4 วางแผนการลงพื้นที่พัฒนาแผนให้สมบูรณ์ พี่เลี้ยงต้องลงพื้นที่ให้เกิดแผนกิจกรรมทางกาย 1 แผน มีโครงการกองทุนฯ อนุมัติอย่างน้อย 2 โครงการ และเกิดกองทุนฯแม่ และการติดตามโรงการในกองทุนฯแม่อย่างน้อย 1 โครงการ