สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12

กส.3 ประชุมคณะทำงาน จังหวัดพัทลุง2 เมษายน 2565
2
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย tweet
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูทักษะคณะทำงาน

08.30-09.00 ผู้เข้าประชุมลงทะเบียน
09.00-11.00 ทบทวนผลการดำเนินงานตามแผน และแนวพิจารณาโครงการ /กองทุนเด่น
  นายสมนึก นุ่นด้วง ประธานคณะทำงาน/วิทยากร ชวนที่ประชุมติดตามแผนงาน/โครงการ PA ทุกกองทุน ชี้แนะส่วนที่ต้องปรับปรุง และให้ปรับปรุงแก้วไขให้แล้วเสร็จ (เสิร์ฟอาหารว่าง ในห้องประชุม)
11.00-12.00 ฟื้นฟูทักษะการบันทึกติดตามโครงการ และประเมินผล (ฝึกทำตามที่สอน)
  นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ (พี่เลี้ยงโครงการชุมชนน่าอยู่/Node Flag Ship สสส. หน่วยจัดการ จ.พัทลุง) วิทยากร สอนหลักการบันทึกกิจกรรมรายงานผลโครงการ แนะนำเมนูรายละเอียด/ เมนูกิจกรรม > กิจกรรมที่ปฏิบัติให้บันทึกรายละเอียด ในประเด็นใคร ทำอะไรที่ไหน อย่างไร โดยเขียนบรรยายให้ละเอียด/ > ผลที่เกิดขึ้น : ผลผลิต คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ทำ ซึ่งอาจเขียนแยกเป็นข้อๆ (ให้ดูรายละเอียดในกิจกรรมโครงการว่า ทำอะไร ได้อะไร) ผลลัพธ์: คือความเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังให้เกิด /การลงรายละเอียดการเงิน การแยกหมวดการเงิน / และการแนบภาพถ่าย การบันทึกรายละเอียดใต้ภาพ

12.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 ฟื้นฟูทักษะการบันทึกติดตามโครงการ และประเมินผล (ฝึกทำตามที่สอน)
  นายสมนึก นุ่นด้วง แนะนำสร้างความเข้าใจการใช้เมนูสรุปโครงการ เฉพาะการประเมินคุณค่าตามแบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้ -ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน -การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ -การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ -ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน กระบวนการชุมชน -มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
(เสิร์ฟอาหารว่าง ในห้องประชุม)
14.30-15.30 นายสมนึก นุ่นด้วง ดำเนินการให้มีการแลกเปลี่ยน ซักถาม
  และตามด้วยการกำหนดแผนการทำกิจกรรมที่ 6 ติดตามและประเมินผลโครงการ 8 เครือข่าย ตามพี่เลี้ยงและกองทุนแม่ข่าย โดยให้พี่เลี้ยงประสานงานกับเจ้าหน้าที่กองทุนให้คัดเลือกโครงการเด่นของปี 2563/2564/2565 แผนงานใดก็ได้ ให้เลือก 1-3 โครงการ และแจ้งรายชื่อโครงการพร้อมชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ผู้ประสานงาน เพื่อจะได้ทำทะเบียนและนัดหมายการจัดกิจกรรม ติดตาม ประเมินผลดดยเร็วต่อไป / ปิดการประชุมเวลา 15.30 น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1. คณะทำงานเข้าร่วมประชุมทุกคน
2. การประชุมดำเนินการตามแผน/ตามวาระ ผลลัพธ์
1. แผนงาน/โครงการได้รับการปรับปรุงทั้ง 32 กองทุน
2. คณะทำงานเข้าใจ และสามารถ ลงบันทึกรายงานการติดตามและประเมินผลได้จากการปฏิบัติไปพร้อมกัน 3. ได้ข้อตกลงที่จะไปประสานงานกองทุนให้ได้โครงการเด่น มาเรียนรู้การติดตามประเมินผลในกิจกรรมที่ 6