โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
-
ประชุมพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย พชอ. บางกล่ำ
เวลา กิจกรรม
12.40 -13.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมติดตามและการวางแผนการดำเนินงาน คณะทำงานพี่เลี้ยงกิจกรรมทางกาย เขต 12 จังหวัดสงขลา
13.00 -14.00 น. ชี้แจงโครงการกิจกรรมทางกาย เขต 12 จังหวัดสงขลา
14.00 -15.00 น วางแผนการลงพื้นที่และการบริหารจัดการโครงการ
เกิดกลไกคณะทำงานการขับเคลื่อนโครงการกิจกรรมทางกาย
คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดสงขลา จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1. นางดวงใจ อ่อนแก้ว
2. นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
3. นางสกุลศิริ ศิริสงคราม
เกิดคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ กิจกรรมทางกาย พชอ.บางกล่ำ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
1. น.ส.กฤษณพร ไพบูลย์เกษมสุทธิ อบต. บางกล่ำ
2. นางธัญชนก สุขยะฤกษ์ อบต. แม่ทอม
3. นางสาวสุลียพร ศรีประไพ เทศบาลตำบลบ้านหาร
4. นางสาวสุพรรษา อุไรพันธ์ เทศบาลตำบลท่าช้าง
- จากการติดตามและการเผ้าระวังสถานการณ์กิจกรรมทางกายของคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงปลายปี2562 สถานการณ์มลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละออง PM 2.5 และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทำให้สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยลดลง ร้อยละ 11.6 ผลจากการสำรวจพบว่าคนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากในชีวิตประจำวัน เช่น การนั่งหรือนอนดูโทรทัศน์ (ร้อยละ50 ) คุยคุยหรือประชุม (ร้อยละ 28.4) นั่งทำงานหรือนั่งเรียน (ร้อยละ 27.0) และนั่งเล่นเกม/นั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ20.1) องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในแต่ละปีมีการเสียชีวิตของประชากรโลก 1.9ล้านคน มาจากการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอสัมพันธ์กับการอ้วนภาวะลงพุง และการเจ็บป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ(NCDS)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา (สปสช.) ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่(PA) ปี 2565 เขต 12 สงขลาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำร่องพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มุ่งเน้นยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย เกณฑ์ในการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
กิจกรรมทางกายเป็นการเคลื่อนไหว หรือการออกแรงของร่างกายในการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานบ้าน การเดินทาง การสันทนาการ และกีฬา การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ มีเกณฑ์ในการพิจารณา 2ประการ ได้แก่ (1) ระดับความหนักเบา (2) ระยะเวลาของการมีกิจกรรมทางกาย
กิจกรรมทางกายแบ่งระดับความหนักเบา หรือความแรง ได้ 3 ระดับ
- ระดับเบา เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อย เช่น การยืน การเดินระยะสั้นๆ การทำงานบ้าน
- ระดับปานกลาง เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงที่ทำให้รู้สึกเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว จับชีพจรได้ 120-150 ครั้ง/นาที เช่น การปั่นจักรยาน เดินเร็ว การเดินขึ้นลงบันได
- ระดับหนัก เป็นการเคลื่อนไหวหรือการออกแรงที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก จนไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ หัวใจเต้นเร็ว จับชีพจรได้มากกว่า 150ครั้งต่อนาที เช่น การยกของหนัก การขุดดินปลูกพืช การแบกหาม การเต้นแอโรบิค การวิ่งเร็ว เป็นต้น
การวางแผนการทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในพื้นที่ โดย นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์ พี่เลี้ยงกิจกรรมทางกายระดับจังหวัดสงขลา
กลุ่มเป้าหมาย กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ในอำเภอบางกล่ำ โดยกลไกกองทุนตำบล เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบงานกองทุน และผู้ขอโครงการ ไปดำเนินการเพิ่มกิจกรรมทางกายPA ให้กับประชาชนในพื้นที่โดยครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ส่งเสริมสนับสนุนให้คนในชุมชนมี PAเพิ่มขึ้น มีความรอบรู้ มีการจัดสภาพแวดล้อม พื้นที่สุขภาวะPA.ในชุมชนและมีกลไกขับเคลื่อนPA ประกอบด้วย กองทุนตำบล เครือข่ายกลุ่มต่างๆ
การดำเนินโครงการ/กิจกรรมกองทุนนำร่อง พื้นที่อำเภอบางกล่ำการดำเนินกิจกรรมตลอดปีงบประมาณ จะมีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 6 ครั้ง
ประชุมคณะทำงานวางแผนการดำเนินกิจกรรม
ลงพื้นที่ ทำแผน 1 ครั้ง
ลงพื้นที่พัฒนากองทุนละ โครงการ 1 ครั้ง ลงพื้นที่ แนะนำการบันทึกกิจกรรม
ลงพื้นที่ แนะนำการประเมินคุณค่าโครงการ
ติดตามประเมินผลโครงการระดับจังหวัด ผ่าน ZOOM (นำเสนอโครงการเด่นระดับพื้นที่/คลิปสั้นนำเสนอ
เรื่องอื่นๆ นัดประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย PA พชอ.บางกล่ำ วันที่ 23 ธันวาคม 2564