สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12

ก.2 สร้างความเข้าใจแก่คณะกรรมการกองทุน ภาคีผู้รับทุน และกระบวนการจัดทำแผนงาน PA (บ้านนา) จ.พัทลุง9 ธันวาคม 2564
9
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย tweet
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เวลา 13.00 น. กลุ่มเป้าหมายลงทะเบียนเข้าประชุม นายมนพพร เขมะวนิช เลขากองทุนเปิดประชุมตามกำหนดการดังนี้
  2. ชี้แจงสร้างความเข้าใจโครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ โดยนายสมนึก นุ่นด้วง
    2.1 ที่มาของโครงการเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายแก้ไขปัญหาภาวะเนือยนิ่งในภาวะโรคโควิดระบาด เพื่อยกระดับการทำแผนที่มีคุณภาพที่ส่วนประกอบของ สถานการณ์ เป้าหมาย แนวทาง งบประมาณ โครงการที่ควรดำเนินการ และกลุ่ม องค์กร หน่วยงานที่จะดำเนินการ และพัฒนาโครงการมุ่งเน้นผลลัพธ์
    2.2 กิจกรรมโครงการ กิจกรรมที่1 ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุน 32 คน/กองทุน เลขา/ผู้แทน พชอ 4 อำเภอ
    กิจกรมที่ 2 ประชุมสร้างความเข้าใจแก่กรรมการกองทุน ภาคีผู้ขอรับทุนในพื้นที่ และปฏิบัติการจัดทำแผน กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการกองทุน เจ้าหน้าผู้รับผิดชอบงานกองทุน ผู้ขอรับทุน ทั้ง 32 กองทุน
    กิจกรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ กระบวนการพัฒนาโครงการ PA ระดับแม่ข่าย 4 กองทุน จำนวน 8 ครั้ง (รวม 32 กองทุน) การปฏิบัติการพัฒนาโครงการ 4 ชั่วโมง เรียนรู้การลงรายงายการติดตามโครงการ 2 ชั่วโมง กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับทุนโครงการ PA เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุน เป็น Fa กลุ่ม
    กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนรายงานติดตามโครงการ 4 ชั่วโมง เรียนรู้การประเมินผล 2 ชั่วโมง กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับทุนโครงการ PA เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุน เป็น Fa กลุ่ม
    กิจกรมที่ 5 ประชุมพี่เลี้ยงโครงการสรุปผลการดำเนินงานคัดเลือกกองทุนต้นแบบ โครงการต้นแบบ
    กิจกรมที่ 6 ประชุมถอดบทเรียน เขียนข้อเสนอเชิงนโยบาย กลุ่มเป้าหมาย พี่เลี้ยงโครงการ 8 คน ผู้รับทุนโครงการ PA ต้นแบบจาก 8เครือข่าย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุนต้นแบบ 8เครือข่าย ผู้แทนกรรมการ พชอ. 4 อำเภอ(ควนขนุน/เขาชัยสน/กงหรา/ศรีนครินทร์)
    2.3 ผลลัพธ์โครงการ
    ระดับ กรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบ และผู้ขอรับทุน

- รู้และเข้าใจการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
- การจัดทำแผนงาน - การพัฒนาโครงการ
- การติดตาม(การรายงานผลโครงการ)
- การประเมินผลโครงการ วิเคราะห์สรุปผล /สังเคราะห์บทเรียน/ ทบทวนปรับแผน /พัฒนางาน
ระดับกองทุน
1. มีแผนกิจกรรมทางกาย (สถานการณ์-เป้าหมาย-โครงการที่ควรจะทำ)
2. มีโครงการเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย(เพิ่มความรู้-เพิ่มการเคลื่อนไหว-เพิ่มการทำงาน-เพิ่มนันทนาการ)
3. มีการติดตามประเมินผล (ในกลุ่มอายุ /โครงการต้นแบบ/นวัตกรรม)
4. มีการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระดับตำบล/อำเภอ
ระดับอำเภอนำร่อง
1. มีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
2. มีแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายมีโครงการเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย( พชอ.มอบนโยบายให้หน่วยงานเขียนโครงการของบกองทุน)
3. มีการติดตามประเมินผล(ในกลุ่มอายุ /โครงการต้นแบบ/นวัตกรรม)
4. มีการติดตามประเมินผล วิเคราะห์แนวโน้มจากสถานการณ์ จากรายงานผลโครงการใน website
2.4 นวัตกรรม มีโครงการต้นแบบ มีกองทุนต้นแบบ
3. ให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยนางกชกานตื คงชู
3.1 เกณฑ์กิจกรรมทางกายเพียงพอ ใน 4 กลุ่มอายุ
3.2 สถานการณ์กิจกรรมทางกายของคนไทย
3.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
3.4 แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลสภานะการกิจกรรมทางกาย

4. ปฏิบัติการทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วิทยากรโดยคณะทำงาน 3 คน >ได้แผนกิจกรรมทางกาย ที่ใช้เป็นต้นแบบในการทำแผนงานอื่นๆ โดยนางธมล มงคลศิลป์ ด้วยกระบวนการดังนี้
4.1 แนะนำเว็บไซต์กองทุน แถบเมนูที่ควรรู้
4.2 การกำหนดข้อมูลสถานการณ์ในแผนงานกิจกรรมทางกาย ทั้ง 8 ประเด็นในแผนงาน
4.3 การได้มาซึ่งข้อมูลสถานการณ์ในแต่ละประเด็น (ข้อมูลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ข้อมูลจาก รพสต. /ข้อมูลจากสถานการณ์ระดับอำเภอหรือจังหวัด )โดยมีพี่เลี้ยงวิทยากรร่วม ช่วยกระตุ้นให้ได้ข้อมูล
4.4 การกำหนดเป้าหมาย ที่ประชุมร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
4.5 การกำหนดวงเงิน
4.6 การกำหนดองค์กร หน่วยงาน กลุ่มคน ผู้ทำโครงการ
4.7 การกำหนดโครงการที่ควรดำเนินการ เพื่อการสื่อสารถึงผู้ที่จะเขียนโครงการได้ตรงไปตรงมา ให้สามารถเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงได้ชัดก่อนตัดสินใจเขียนโครงการ จึงให้ใช้วัตถุประสงค์ในแต่ละประเด็นกำหนดเป็นโครงการ และใช้ระยะห่างระหว่างสถานดการณ์และเป้าหมายเก็นเกณฑ์หลักในการเลือกประเด็นไหน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 23 คน
ผลลัพธ์
กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและให้ความร่วมปฏิบัติการจัดทำแผนงานจนเสร็จ(สถานการณ์ /เป้าหมาย /งบประมาณ /โครงการที่ควรทำ)