สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 12

กิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอควนเนียง ปี 2564 เขต 12 โดยนางดวงใจ อ่อนแก้ว นางสาวอารี สุวรรณชาตรี และนางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์6 พฤศจิกายน 2564
6
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ดวงดาว อุปสิทธิ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ

08.00 -08.30 น.  ลงทะเบียนและรับเอกสาร

08.30-09.30 น.  ชี้แจงวัตถุประสงค์ที่มาและความสำคัญ แนะนำตัวผู้เข้าร่วม โดย นางดวงใจ อ่อนแก้ว พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล สปสช. เขต 12

09.30-11.00 น.  ระเบียบกองทุนและแนวทางการจัดทำแผนและเขียนโครงการในสถานการณ์โควิด-19 โดย ทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล สปสช. เขต 12

11.00-12.00 น.  แนวทางการจัดทำแผนสุขภาพตำบล โดย ทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล สปสช. เขต 12

12.00-13.00 น.  พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00-16.00 น.  การจัดทำแผนกิจกรรมทางกาย เขียนได้มากกว่าการออกกำลังกาย ของบผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดย ทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล สปสช. เขต 12

16.00-16.30 น.  แลกเปลี่ยน-ข้อสักถาม

16.00-16.30 น.  สรุปปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชี้แจงวัตถุประสงค์ที่มาและความสำคัญ แนะนำตัวผู้เข้าร่วม โดย นางดวงใจ อ่อนแก้ว พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล สปสช. เขต 12

ผลผลิตจากการทำกิจกรรม

  • เกิดการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม

  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 39 คน

  • เกิดแผนงานกิจกรรมทางกาย 9 แผน

สรุปการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

ด้วยที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา (สปสช.) ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่(PA) ปี ๒๕๖๕ เขต ๑๒ สงขลาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำร่องพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เนื่องด้วยพบว่า ภาวการณ์ระบาดของโควิด-๑๙ ทำให้คนไทยมีภาวะเฉื่อยนิ่งนานขึ้น อันส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วนและโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา โดยสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การมุ่งเน้นยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย

กลุ่มเป้าหมาย คือ การเพิ่มคณะกรรมการกองทุน การเพิ่มศักยภาพพี่เลี้ยง การเพิ่มความรู้เท่าทันประเด็นกิจกรรมทางกาย และให้มีการทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการเพื่อรับเงินผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีการคัดเลือกกองทุน ในอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอควนเนียง ดังนี้

อำเภอหาดใหญ่

 เทศบาลเมืองคลองแห

 เทศบาลเมืองควนลัง

 เทศบาลตำบลบ้านพรุ

 เทศบาลตำบลบ้านไร่

 เทศบาลตำบลพะตง

 เทศบาลตำบลน้ำน้อย

อำเภอควนเนียง

 เทศบาลตำบลควนเนียง

 เทศบาลตำบลบางเหรียง

 องค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ


กิจกรรมในครั้งนี้จัดเป็นกิจกรรมครั้งที่ 1 ทางทีมพี่เลี้ยงเชิญกองทุนฯและกลุ่มเครือข่ายเพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและทบทวนแผนกิจกรรมทางกาย พัฒนาโครงการ ผ่าน website กองทุนสุขภาพตำบล ในวันที่เสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมหาดใหญ่ ซิกเนเจอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการจัดกิจกรรมตลอดปีงบประมาณ จะมีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้

6 พฤศจิกายน 2564  ลงพื้นที่ ทำแผน 1 ครั้ง

.......ธันวาคม 2564  ลงพื้นที่พัฒนากองทุนละ โครงการ 1 ครั้ง

.......พฤษภาคม 2565  ลงพื้นที่ แนะนำการบันทึกกิจกรรม

.......กรกฎาคม 2565  ลงพื้นที่ แนะนำการประเมินคุณค่าโครงการ

.......สิงหาคม 2565  ติดตามประเมินผลโครงการระดับจังหวัด ผ่าน ZOOM (นำเสนอโครงการเด่นระดับพื้นที่/คลิปสั้นนำเสนอกิจกรรม)

การแนะนำระเบียบกองทุนและแนวทางการจัดทำแผนและเขียนโครงการในสถานการณ์โควิด-19 โดย ทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ สปสช. เขต 12

ประกาศข้อ 10 หลักเกณฑ์การบริหารกองทุนฯ พ.ศ.2561

กำหนดดังนี้ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่าย ตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ คณะกรรมการมีอำนาจทางปกครอง/ออกคำสั่งทางปกครอง(อนุมัติ/ไม่อนุมัติ)

  • ประชุมต้องชอบด้วยกฎหมาย(มากกว่าครึ่งของจำนวนกรรมการ เช่น มี ก.ก. 15คน ต้องประชุมอย่างน้อย 8 คน อนุมัติโครงการเสียงเกินกึ่งหนึ่ง)

  • โครงการที่ทำก่อน คณะกรรมการอนุมัติ

    (ไม่ผ่านกรรมการ โครงการมิชอบ เป็นโมฆะ)

หลักเกณฑ์พิจารณาโครงการ

1.วัตถุประสงค์เกี่ยวกับสุขภาพ (ไม่สร้างรายได้ นันทนาการ ศาสนา ประเพณี)

2.ไม่ซ้ำซ้อนงบปกติหน่วยงาน

3.ค่าใช้จ่ายต้องเหมาะสมคุ้มค่า(ไม่ฟุ่มเฟือย) กรณีศึกษา ห้ามแจกของรางวัลถ้วนหน้า

  แจกรางวัลผ้าขาวม้าในกิจกรรมขลิบอวัยวะ /ผ้าถุงคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซื้อเสื้อคณะกรรมการกองทุน - ห้ามให้เงินเป็นรางวัล (มอบโล่รางวัล ประกาศนียบัตรได้) - ดูงานอย่างเดียว ไม่เห็นกระบวนการทำงานต่อ - อบรมพัฒนาศักยภาพอย่างเดียว( อบรม อสม.) แต่หากมีอบรม ให้มีการปฏิบัติการชุมชนด้วย - จัดงานสร้างกระแสครั้งเดียวจบ เช่น จัดแรลลี่จักรยาน วิ่งมาลาทอน เป็นต้น - แข่งขันกีฬานักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คนสูงอายุ - ซื้อของหรือครุภัณฑ์อย่างเดียวไม่มีกิจกรรมด้านสร้างเสริมสุขภาพ

การจัดทำแผนกิจกรรมทางกาย เขียนได้มากกว่าการออกกำลังกาย ของบผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดย ทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล สปสช. เขต 12 การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ จัดทำแผนสุขภาพตำบลของกองทุน ประจำปี ก.ย.-ต.ค. ขั้นตอนการจัดทำแผนสุขภาพ
1.คณะทำงานจัดทำแผน รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพจาก รพ.สต. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน จปฐ. 2.จัดลำดับความสำคัญปัญหาสุขภาพ 3.เลือกแผนสุขภาพตามประเด็น เพิ่มข้อมูล 3.1 สถานการณ์ปัญหา 3.2 เป้าหมาย 3.3 วิธีการ กิจกรรม 3.4 งบประมาณ 3.5 โครงการที่ควรดำเนินการ หน่วยงาน จำนวนเงิน โดยสามารถทำแผนสุขภาพผ่านระบบกองทุนฯ (https://localfund.happynetwork.org/) และค้าหาตัวอย่างโครงการได้

ตัวอย่างการทำแผนกิจกรรมทางกาย

เช่น แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2565 กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุประจำปีงบประมาณ 2565
สถานการณ์ปัญหา •
สถานการณ์ปัญหา ขนาด

1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 75.20
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 56.42
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 72.45

4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 68.40


5 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 15.60

6 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 65.80

7 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) 58.60
8 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน 25.40

รายละเอียดเพิ่มเติมระบุรายละเอียดภาพรวมของสถานการณ์ปัญหา

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ขนาด เป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) 75.20 78.00

2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) 56.42 60.00

3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) 72.45 75.00

4 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 68.40 70.00
5 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 15.60 20.00

6 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 65.80 70.00

7 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) 58.60 60.00

8 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน 25.40 30.00

โครงการที่ควรพัฒนา
ชื่อโครงการย่อย ผู้รับผิดชอบ งบประมาณที่ตั้งไว้ (บาท)
1 โครงการชีวิตวิถีใหม่ กินอาหารดี มีขยับกาย ร่างกายแข็งแรง ประธาน อสม.ชุมชนเขต 6 9,000.00 พัฒนาโครงการ


รายชื่อพัฒนาโครงการ ปีงบประมาณ ชื่อพัฒนาโครงการ งบประมาณ (บาท)

1 2565 โครงการชีวิตวิถีใหม่ กินอาหารดี มีขยับกาย ร่างกายแข็งแรง 9,000.00 รวม 9,000.00

ตัวอย่างโครงการ พัฒนา ในพื้นที่ เทศบาลตำบลบ้านพรุ

ชื่อโครงการโครงการชีวิตวิถีใหม่ กินอาหารดี มีขยับกาย ร่างกายแข็งแรง

ชื่อกองทุน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

ชื่อองค์กร/หน่วยงานเสนอโครงการประธาน อสม. เขต6

ชื่อกลุ่มคน (5 คน)

1.นางนิตยา ชุมละออ

2.นางสายชล หนูอุไร

3.นางอรทัย เชยกาญจน์

4.นางหวล บุญกาพันธ์

5.นางอัญญา อาษาพันธ์

พื้นที่ดำเนินการ

พื้นที่ชุมชนเขต 6

  1. ความสอดคล้องกับแผนงาน

    แผนงานกิจกรรมทางกาย

  2. สถานการณ์

    สถานการณ์ปัญหา ขนาด

1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) (25.80)

2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) (30.45)

3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) (10.26)

4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน (15.46)

5 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน (20.25)

6 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน (18.48)

วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จ ขนาด เป้าหมาย 1 ปี

1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) 25.80 30.00

2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) 30.45 35.00

3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) 10.26 20.00

4 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 15.46 20.00

5 เพิ่มการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 18.48 20.00

6 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 20.25 25.00
ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนและทบทวนแผนกิจกรรมทางกายระดับพื้นที่ ผ่าน website กองทุนสุขภาพตำบล วันเสาร์ ที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖4 เวลา 08.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมหาดใหญ่ ซิกเนเจอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีผู้เข้าร่วมโครงการจากตัวแทน 9 กองทุนฯ กิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เกิดแผนด้านกิจกรรมทางกานจำนวน 9 แผน จากพื้นที่นำร่องและเกิดโครงร่างโครงการ อยู่ในการพัฒนา ตามความสนใจในพื้นที่ โดยทำการสมัครสมาชิกให้เพื่อเขียนโครงการขอรับทุนโดยกลุ่มเครือข่าย มีพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำ มีภาพกิจกรรมดังนี้