สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.สงขลา

สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ 31 มกราคม 2561
31
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาสลักษณ์ แก้วบุญเรือง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดสื่อสำหรับประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอดบทเรียนโครงการรับมือภัยพิบัติ “กระแสสินธุ์กับการรับมือภัยพิบัติ”

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • บทความ 1 เรื่อง
    ถอดบทเรียนโครงการรับมือภัยพิบัติ “กระแสสินธุ์กับการรับมือภัยพิบัติ”

‘ตำบลเชิงแส’ กับการรับมือ ‘ภัยพิบัติ’
“พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก” คงเป็นหัวอกอันชอกช้ำของชุมชน  เช่นเดียวกับอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ด้วยสภาพภูมิอากาศหลักเสี่ยงต่อการเกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อน มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้มีฝนตกชุก มีฤดูฝนยาวนาน เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูง  โดยเฉพาะตำบลเชิงแสที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยความเสียหายล่าสุดเกิดขึ้นช่วงเดือนธันวาคม 2559 ถึง เดือนมกราคม 2560 ผลกระทบค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นถึง 2 ระลอก รอบแรกระหว่างวันที่ 4-12 ธ.ค. 2559 สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่ทำให้น้ำระบายไม่ทันและเกิดน้ำท่วมขัง ระดับน้ำสูง 20 ซม. ถึง 1 เมตร รอบที่สอง ระหว่างวันที่ 2-12 ม.ค. 2560 สาเหตุมาจากฝนตกหนักในพื้นที่และน้ำทะเลสาบสงขลาหนุนเข้าท่วมขังในพื้นที่ระดับน้ำสูง 50 ซม. ถึง 2 เมตร มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 2,868 คน บ้านเรือนเสียหาย 1,036 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรเสียหาย 9,010 ไร่ ถนนเสียหาย 19 สาย โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน นอกจากนี้ เมื่อย้อนกลับไปก็พบว่าพื้นที่มีน้ำท่วมหลายครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518, 2538, 2543, 2548, 2553  จากสภาพปัญหา ความเสียหายและความต้องการช่วยเหลือดังกล่าว ภาคีเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ได้แก่ โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์ประสานงานวิชาการเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสงขลา มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ เครือข่ายผ้าสร้างสุข ร่วมดำเนินโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมของชุมชนหลังประสบอุทกภัยพื้นที่ตำบลเชิงแสฯ”
            โดยเบื้องต้นได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน พบว่า ผู้ประสบภัยมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพ ขาดรายได้ รวมทั้ง ต้องแบกรับภาระหนี้สิน พ่วงมาด้วยปัญหาสุขภาพทั้งโรคทั่วไป เช่น โรคไข้หวัด ปวดหัว โรคจากน้ำท่วมขัง เช่น ผดผื่นคัน น้ำกัดเท้า และโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ ตลอดจน ความเสียหายด้านทรัพย์สิน บ้านเรือน เครื่องเรือนของใช้ ยานพาหนะ เครื่องมือทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อีกทั้ง ความเสียหายทางด้านอาชีพ พบว่า มีไร่นาสวนผลไม้เสียหายจำนวนมาก สัตว์เลี้ยงก็ได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้า
          จากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ พบว่า ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต้องการการหนุนเสริม 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเยียวยา ชุมชนต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน คือ ข้าวสารจำนวนมาก เนื่องจาก นาข้าวแปลงผักประมงปศุสัตว์เสียหายหนัก จึงต้องการข้าวสารสำรองไว้จนกว่าจะได้ทำนาและได้ผลผลิตในรอบต่อไป  2) ระยะฟื้นฟู ชุมชนต้องการการสนับสนุนด้านอาชีพ ประกอบด้วย พันธุ์ข้าวสำหรับเริ่มทำนารอบใหม่ พันธุ์ปลา เมล็ดพันธุ์ผักเพื่อการบริโภคและสร้างรายได้เสริม 3) ระยะเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติครั้งต่อไป ชุมชนต้องการการพัฒนาระบบการแจ้งภัย การเตรียมความพร้อมระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน รวมทั้ง การจัดการระบบอาสาสมัคร
          โครงการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่โดยความร่วมมือของอาสาสมัครของชุมชนและเครือข่ายอาสาสมัครจากภายนอกชุมชน ได้แก่ 1) การฟื้นฟูอาชีพ โดยเน้นการทำงานโดยใช้ข้อมูลเป็นฐานผ่านกระบวนการจัดเก็บข้อมูลทั้ง 4 ชุมชน หลังจากนั้น จึงสนับสนุนงบประมาณฟื้นฟูอาชีพและเตรียมรับมือภัยพิบัติ 4 ชุมชนๆ ละ 30,000 บาท และ 2) การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ โดยมีการอบรมศักยภาพอาสาสมัครของชุมชน 2 เวที ได้แก่ เวทีลักษณะภูมิประเทศ ระบบน้ำ และอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น และเวทีการสื่อสารเบื้องต้นและกู้ชีพกู้ภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน
          ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ดำเนินการในพื้นที่ตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2560 เกิดผลผลิตต่างๆ นำมาสู่เวทีถอดบทเรียน “เหลียวหลังแลหน้า” เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 โดยชุมชนทั้ง 4 ชุมชนของตำบลเชิงแสเข้าร่วมสะท้อนผลการดำเนินกิจกรรมร่วมกับโครงการ และให้ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ 5 คน ,โครงการบัณฑิตอาสา  ม.สงขลานครินทร์ ,สภาองค์กรชุมชนตำบลเชิงแส อ.กระแสสินธุ์  จ.สงขลา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี