สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564

ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลฯ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย24 กันยายน 2564
24
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
  • สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการพี่เลี้ยงกองทุน ล่าสุด 24 กย 64.pdf
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลฯ
สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564 เวลา 09.00-16.30 น. ประชุมผ่านระบบออนไลน์ ZOOM https://zoom.us/j/9019029101 สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล

วันที่ 24 กันยายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)

การดำเนินงานที่ผ่านมา
การทำงานพัฒนาศักยภาพกองทุนสุขภาพตำบล/กองทุนตำบล เพื่อช่วยให้กระบวนการการดำเนินงานของกองทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น กองทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็จะพิจารณาจากการเขียนแผนที่ดี ซึ่งที่ผ่านมาทางสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. จึงได้ลงไปช่วยในเรื่องของวิธีการ การทำแผนของกองทุน แล้วพิจารณาดูว่าโครงการที่อยู่ในแผนค่อนข้างดีหรือไม่ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ตอบโจทย์หรือไม่ และมีความสอดคล้องกับแผนหรือไม่ จากนั้นจึงลงไปให้แต่ละกองทุนพัฒนาโครงการ (ซึ่งอาจไม่ทั้งหมด) และเมื่อทำแผนเป็น เขียนโครงการเป็น ได้รับการสนับสนุนแล้วก็จะต้องมีกระบวนการติดตามประเมินผล โดยที่ผ่านมาได้พยายามดำเนินการในเรื่องของกระบวนการติดตามประเมินผล ซึ่งพบจุดอ่อนที่ว่า เมื่อ training แผน 1-2 ครั้งแล้วจบไป ไม่ได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่กองทุนตำบลนำกระบวนการไปทำแผนอย่างต่อเนื่องจึงไม่น้อยมาก (กรณีของเขต 12 ค่อนข้างใช่เยอะ โดยเฉพาะในเรื่องของการเงิน) เช่นเดียวกับการพัฒนาโครงการ
แผนการดำเนินงานในปี 2564 ดำเนินการในเฉพาะบางเขตพื้นที่เท่านั้น ได้แก่ ภาคเหนือ เลือกเขต 1 ภาคอีสานเลือกเขต 10 ภาคกลางเลือกเขต 4 และภาคใต้เลือกเขต 12 เหตุผลที่ไม่ได้ทำทุกเขตเนื่องจากเมื่อพิจารณาศักยภาพของพี่เลี้ยงและบริบทแต่ละเขต โดยเฉพาะข้อจำกัดงบประมาณที่ทำให้การทำงานค่อนข้างทำได้ไม่เต็มที่ จึงจำเป็นต้องลดพื้นที่การทำงานลง เพื่อให้งบประมาณการทำงานในแต่ละเขตเป้าหมายเพิ่มขึ้น ส่วนประเด็นของเรื่องที่จะทำในแผนกองทุนจะไม่ทำทุกเรื่อง แต่จะเน้นในเรื่องของกิจกรรมทางกาย (PA) เป็นหลัก
ทำไมต้องทำแผนกองทุนตำบล เรื่องกิจกรรมทางกาย (PA)
จากแผนภูมิภาพข้างต้น จะเห็นว่าเป้าหมายสูงสุดของการมีสุขภาพที่ดี คือ การมีสุขภาพดีทั้ง 4 มิติ หมายถึง สุขภาพเรื่องกาย จิต สังคม และปัญญา (สุขภาวะทั้ง 4 มิติ) ในระยะเวลา 10 ถ้าจะทำให้สุขภาพทั้ง 4 มิติดี จะต้องลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ยาสูบ การบริโภคเหล้าและสารเสพติด สร้างความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น (อุบัติเหตุลดลง) มีการบริโภคอาหารที่ดี (ความมั่นคงทางอาหาร จะต้องมีอาหารที่เพียงพอและประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารได้ และจะต้องมีการบริโภคที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการ) กิจกรรมทางการต้องเพิ่มมากขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น มลพิษทางอากาศต้องลดลง (PM 2.5) และเหตุอุบัติใหม่และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ (Covid-19) ต้องลดลง
หากพิจารณาจากสาเหตุปัจจัยของการทำให้มีสุขภาพดีทั้ง 4 มิติแล้ว จะเห็นว่า เรื่องหลักๆ ที่ต้องดำเนินการมีทั้งหมด 8 เรื่อง ที่สสส. จะทำใน 10 ปี ข้างหน้า โดยที่ผ่านมาแผนกองทุนที่ได้ทำไปจะมีในเรื่องของ ยาสูบ สุราและสิ่งเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย และ Covid – 19 และในโครงการของการทำงานในปีนี้ จะเน้นการทำเรื่อง PA ซึ่งก็จะเป็นการไปเติมเต็มอีก 1 ตัวชี้วัดของ สสส. ซึ่งยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ PA เพิ่มขึ้น จะพิจารณาจากวิสัยทัศน์ของ สสส. เป็นหลัก คือ “ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีวิถีชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อสุขภาวะ” ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คือ ยุทธศาสตร์ไตรพลังและยุทธศาสตร์เฉพาะ 5 ด้าน
สถานการณ์กิจกรรมทางกายในปัจจุบัน (PA) ในปี พ.ศ. 2555 คนไทยมีกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 66.3 ในปี พ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.6 ค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ในปี พ.ศ. 2563 และ ปี พ.ศ. 2564 พบว่า กิจกรรมทางกายลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งลดลงมาเหลือประมาณร้อยละ 50 จึงเป้าหมายหลักหรือวัตถุประสงค์ของการที่จะทำให้ มี PA เพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ในการเพิ่ม PA เดิมทีใช้ยุทธศาสตร์ 2 เพิ่ม 1 ลด แต่ตอนนี้ใช้เรื่องของ 3 active ซึ่งได้แก่ 1. Active People ทำอย่างไรทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย (วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง) เป็นคนที่ active ในขณะเดียวกันถ้าหากจะทำให้ active people ได้ ก็จะต้องมี Active Environment 2. Active Environment เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม/สร้างการ active (ลดภาวะเนือยนิ่ง) ยุทธศาสตร์ของการดำเนินงานเรื่องของ Active Environment จึงจะต้องไปเพิ่ม Health Space และ Built Environment 3. Active Society เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงประสบการณ์การมีกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกาย และกีฬา ให้เป็นค่านิยมในการให้ความสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง หากทำทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นได้ ก็จะเป็น “Active Nation”  ประเทศไทยจะเป็นชาติที่มีความกระตือรือร้น หรือเป็นชาติที่ active ซึ่งการเกิด Active Nation ก็จะนำไปถึงเรื่องของการพัฒนาประเทศ เป้าหมายหลักของการทำ PA คือ ทำให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่ม ซึ่งจะต้องทำให้คนมี PA literacy ทำให้คนมีความรอบรู้ เข้าใจว่า PA คืออะไร ต้องทำให้เกิดสภาพแวดล้อม (ทำอย่างไรให้มีพื้นที่สุขภาวะ เอื้อต่อ PA) ต้องมีกลไกในการขับเคลื่อนเรื่อง PA (กลไกอะไร อาจมองในเรื่องของหน่วยงาน เช่น ท้องถิ่น  กองทุนตำบล)
ผลพลอยได้จากการทำให้มี PA เพิ่มขึ้นจะทำให้โรคเรื้อรัง (NCD) ลดลง แต่การที่ NCD ลด ไม่ได้มีปัจจัยมาจากการเพิ่ม PA อย่างเดียว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาหารด้วย ในขณะเดียวกัน PA ก็มีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่นกัน เช่น ยาสูบ สุรา ความปลอดภัยทางถนน กล่าวคือ กิจกรรมทางกายก็ยังขึ้นอยู่กับสุขภาพจิต มลพิษ และอุบัติภัยต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้นการจะทำในเรื่องของ PA จะต้องไม่มองเพียงส่วนๆ/แยกส่วน จะต้องบูรณาการกับเรื่องอื่นๆ ด้วย
สิ่งที่จะทำให้งาน PA ขับเคลื่อนได้ ก็จะมีในเรื่องของกลไก กลไกกองทุนตำบล จะต้องเป็นกลไกหลักในการทำเรื่อง PA โดยกลไกกองทุนประกอบด้วย 1. กรรมการกองทุน 2. ผู้รับผิดชอบกองทุน (เจ้าหน้าที่) 3. ผู้ขอการสนับสนุนจากโครงการ  นับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะนำไปทำต่อประชาชนในพื้นที่ เพื่อเพิ่ม PA  ประชาชนจะต้องมีความรู้ ต้องจัดสภาพแวดล้อมพื้นที่สุขภาวะ และกลไกของชุมชนเอง เช่น เครือข่าย กลุ่มต่างๆ อาทิ เครือข่ายผู้สูงอายุ จักรยาน เดินวิ่ง  นั้นแสดงว่า เป้าหมายของการดำเนินงาน PA คือ 1. ทำให้เกิดกลไกกองทุนตำบล 2. ประชาชนในพื้นที่มี PA เพิ่มขึ้น 3. เกิดกิจกรรมต่างๆ และ 4. เกิดเครือข่ายต่างๆ โดยการจะทำให้เกิดผลลัพธ์หรือผลผลิตทั้ง 4 ข้อ ก็จะต้องมีพี่เลี้ยง จะไปช่วยให้การดำเนินการของกองทุนมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 3 ส่วน (กรรมการ ผู้รับผิดชอบ และผู้ขอการสนับสนุน) มี PA literacy มีทักษะในการบริหารแผน/โครงการ (การทำแผน PA) สามารถพัฒนา/ออกแบบโครงการที่เพิ่ม PA ได้ สามารถติดตามประเมินผลเพื่อทบทวนแผน โครงการของกองทุน ทักษะในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายของพื้นที่ (พชอ. ทำให้เกิดแผน PA ระดับอำเภอ)
คุณสมบัติของพี่เลี้ยงที่จะไปช่วยให้กองทุนมีประสิทธิภาพ คือ 1. จะต้องมีความรู้เรื่อง PA (PA literacy) 2. รู้วิธีการทำแผน โครงการ ติดตาม และประเมินผล
ข้อคำถาม: - ทำไมต้องไปเกี่ยวข้องกับกองทุนสุขภาพตำบล ทั้งที่เป็นงานของสสส.
ตอบ ด้วยงบประมาณของสสส. ที่น้อย ไม่อาจลงไปทำเรื่อง NCD ให้ลดลงได้ (PA เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยลด NCD) แต่งบประมาณของสปสช. ที่มีเพื่อสนับสนุนให้กับสธ.ดำเนินการเป็นหลัก ค่อนข้างมีมากกว่า ดังนั้น สสส. จึงมีหน้าที่ในการที่จะไปหนุนเสริมให้คนมีขีดความสามารถมากขึ้น/มีกลไกเกิดขึ้น ที่มีอยู่ให้เกิดขึ้น เพื่อลดปัญหา (ตามเป้าประสงค์) ต่างๆ ให้ได้
ทิศทางปฎิรูปประเทศ ตำบลเป็นจุดชี้ขาดของการปฏิรูปประเทศ (ชุมชนท้องถิ่นจะต้องจัดการตนเอง)