งานบริหารกลาง ศวนส. ติดตาม/สนับสนุนโครงการ
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563
13.00 – 13.30 น. ชี้แจงเป้าหมายและตัวชี้วัดโครงการศูนย์วิชาการนโยบายสาธารณะ
เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (ศวสน.)
โดย ผศ.ดร พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
13.30 – 15.00 น. นำเสนอความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการ
• ผลการดำเนินงานโครงการ ศวนส. ระยะที่ 1
โดย ทีมขับเคลื่อนประเด็น
o ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ
โดย นพ.มาหะมะ เมาะมูลา
การจัดการระบบสร้างเสริมสุขภาพแบบพหุวัฒนธรรม
โดย นางสาวซูวารี มอซู
การจัดการปัจจัยเสี่ยงตามแนวทางสันติสุขภาวะ
o ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
โดย นายทวีวัตร เครือสาย / นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี / นางสาวซูวารี มอซู
o ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์
โดย สปสช. เขต 11 และ เขต 12
o ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การจัดการภัยพิบัติภาคใต้ โดย นายไมตรี จงไกรจักร์
ดร.อิบรอฮิม สารีมาแซ
- การท่องเที่ยวโดยชุมชน โดย ดร.จตุรงค์ คงแก้ว
o ประเด็นสื่อสาธารณะเพื่อสุขภาวะ
โดย นายอานนท์ มีศรี
ให้ข้อเสนอแนะ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ / ดร.เพ็ญ สุขมาก
15.00 - 18.30 น. แบ่งกลุ่มตามรายประเด็นเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนงานระยะที่ 2
(ทีมขับเคลื่อน ทีมประเมิน และทีมสื่อสารสาธารณะ)
1. ความมั่นคงทางสุขภาพ
2. ความมั่นคงทางมนุษย์
3. ความมั่นคงทางอาหาร
4. ความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. สื่อสาธารณะเพื่อสุขภาวะ
18.30 น. รับประทานอาหารเย็น
วันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2563
09.00 - 09.30 น. นำเสนอรูปแบบ การสื่อสารเพื่อการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ทั้ง 6 ประเด็น
โดย ทีมสื่อสารสาธารณะ
ให้ข้อเสนอแนะ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ / ดร.เพ็ญ สุขมาก
09.30 - 11.00 น. นำเสนอแผนการดำเนินงาน ระยะที่ 2 ทั้ง 4 ประเด็น
โดย ทีมขับเคลื่อนประเด็น ทั้ง 4 ประเด็น
ให้ข้อเสนอแนะ
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ / ดร.เพ็ญ สุขมาก
11.00 - 12.00 น. การรายงานกิจกรรม และรายงานการเงิน แบบออนไลน์ และการบริหารจัดการโครงการ
โดย นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี
นายสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงและเดินทางกลับ
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน สื่อ
ปัญหา คือ เริ่มไม่พร้อมกัน ไม่มีเนื้อหานำเสนอ
Set ทีมประเด็นแต่ละประเด็นให้ได้มาซึ่งเนื้อหาร่วมกัน สู่ช่องทาง online (set ข้อคำถาม-ตอบ ประเมินการนำผลไปปฏิบัติการ) สุดท้ายต้องถอดบทเรียน และมีชุดความรู้ –> สร้าง content ร่วมกันที่จะให้สื่อนำเสนอ สถานที่ เวลา
รูปแบบการดำเนินการแบ่ง 3 โซน และครอบคลุมแต่ละประเด็นในพื้นที่ เช่น อันดามัน ใต้ล่าง (แกะรอยวิถีอันดามัน 2 ประเด็น, พี่ตั้ม สุภาวะใต้ล่าง ใน 3 จังหวัดภาคใต้และสงขลา) ใต้บน (ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี) ใต้กลาง (ทีมพี่อานนท์ดูแลภาพรวม) ซึ่งมีทั้ง 4 ประเด็นอยู่แล้ว
ผลการดำเนินงาน ระบบอาหาร
1. นราธิวาส
- ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ยังไม่ได้ขยับมาก mapping คือ อำเภอรือเสาะ 10 ท้องถิ่น (แลกเปลี่ยนร่วมกับตำบลควนรู และตำบลชะแล้) รวบรวมข้อมูลสถานการณ์เพื่อจัดทำแผน ผ่านการ training ทำแผน พิจารณาแผนเพื่อดูว่าเข้างบในหมวดใด จากนั้นนำขยายผลต่อ
- พืชร่วมยาง มีเกษตรกร 10 ราย (เชิญ อ.ปราโมทย์ นำเสนอ model) พาดูงานที่สงขลา พื้นที่ที่จะร่วมส่วนใหญ่พท ไม้ผล กยท. เห็นด้วย ส่วนที่ยังเป็นปัญหา คือ เกษตรกรที่จะต้องมีการกระตุ้นการพัมนาศักยภาพตนเอง
2. ระบบอาหาร
- พืชร่วมยางประชุมกับ กยท. พื้นที่ต้นแบบ ท่าแซะ ละแม และหลังสวน เกษตรกรเข้าร่วม 18 ราย (เพิ่มเรื่องโซล่าเซล)
- ยุทธศาตร์จังหวัด นำเสนอร่างแรกสู่สมัชชาพลเมือง (เวทีวันที่ 9)
- ตำบลบูรณาการระบบอาหาร ทำความเข้าใจในเวทีแรก รวบรวมข้อมูลจากพื้นที่เพื่อทำร่างแผน
- ระนอง: แผนเรื่องแปลงต้นแบบ ผ่านทาง กยท.
3. ท่องเที่ยว
- Phase 1 ศึกษาสถานการณ์ข้อมูลเบื้องต้น phase 2 กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชน phase 3 เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น หลัง covid – 19 ใน 3 ระดับ
4. ภัยพิบัติ
นราธิวาส
- ประชุมทีม ศึกษาข้อมูลภัยพิบัติจาก ปพ.
พังงา
- พื้นที่ 6 จังหวัด ใหม่ สตูล ตรัง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง ปูพื้น (ภูเก็ต ระนอง)
ข้อมูลสถานการณ์ จ.สตูล มีคณะกรรมการระดับจังหวัด, จังหวัดตรัง ยังไม่สามารถให้ผู้ว่าราชการ
จัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดได้, กระบี่ มีความร่วมมือกับอบจ. และมีศูนย์อาสาภัยพิบัติของอบจ., ระนอง, พังงา กำลังยกร่างคำสั่งให้กับ….
เมื่อลงพื้นที่ครบจัดทำร่างยุทธศาสตร์ขึ้นมา
สิ่งที่จะต้องทำต่อในแต่ละประเด็น
1. ศึกษาตัวแบบ phase 1 และ 2 ร่วมกับปรากฎการณ์ในพื้นที่ (เช่น บาง model อาจจะไม่ได้ถูกประเมินในพื้นที่) บูรณาการจากพื้นที่และชุดความรู้ที่มีอยู่
2. ออกแบบให้เหมาะกับพื้นที่ จากนั้นทดลองขยายผลในพื้นที่
3. ประเมินผล (เช่น พืชร่วมยางในพท. เป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร) ซึ่งจะต้องได้ข้อเสนอเชิงนโยบายออกมา (ทีมประเมินผล)
4. พัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย (ทีมประเมินผล)
5. ทำให้หน่วยงานทั้งส่วนกลาง/พื้นที่ มีนโยบาย/มาตรการ (ทีมสื่อ) ซึ่งต้องมีเจ้าของหลักของแต่ลประเด็นร่วมด้วย
6. ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ (ทีมสื่อ)
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
1. ระดับ policy maker: ค้นหาภาคีหลัก ภาคียุทธศาสตร์
ทำให้รับรู้: สถานการณ์ ข้อเสนอเชิงนโยบายเป็นทางเลือก (มาจากการทดลอง/ปฏิบัติการ) นโยบาย แผน โครงการ คาดการณ์ผลที่จะเกิด แก้ปัญหา/พัฒนา
2. ระดับปฏิบัติการ
2.1) การสร้างการยอมรับ - เหตุผล
- ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ
- วิธีการที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ
- กลไกสนับสนุน
- ช่องทางนโยบาย Top down/bottom up
2.2) การแปลงนโยบายไปสู่แผน โครงการ กิจกรรม
- หน่วยงาน เครือข่าย ผู้รับผิดชอบ
- ผู้ได้รับผลกระทบ/ผลประโยชน์
- พื้นที่ปฏิบัติการ
- แหล่งงบประมาณ
ประชุมสื่อและทีมประเมิน วันที่ 15 ธันวาคม 2563
ปัญหาของการสื่อสารที่ผ่านมา 3 เรื่อง คือ การสื่อสารเกินจริง การสื่อสารที่คลาดเคลื่อน การละเมิดสิทธิ์ในการสื่อสารทุกช่องทาง (ทุก platform) และการสื่อสารเนื้อหาที่ไม่ครบถ้วน ทั้งในสื่อกระแสหลัก สื่อโซเชียล หรือสื่อบุคคล เมื่อเกิดการสื่อสารไปยังสาธารณะแล้วจะเกิดผลเสีย ทำให้เกิดความเข้าใจผิด การแบ่งพรรคแบ่งพวก และการแตกแยกสามัคคี ยกตัวอย่าง เช่น การสื่อสารในช่วงสถานการณ์โควิด ที่เกิด Fake new อย่างมากมาย ผู้รับสารเกิดความวิตกกังวล ไม่สบายใจ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีจริยธรรมสื่อเป็นตัวกำหนดเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น
ความคาดหวังของเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ในเฟส 3 จึงจะต้องยกระดับในการทำงานในเชิงประจักษ์และเห็นรูปแบบในการทำงานภายใต้กรอบจริยธรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาพ ยกระดับการสื่อสารของทีมสื่อร่วมกับทีมขับเคลื่อนประเด็น ให้เห็นเรื่องของการสื่อสารทางด้านสุขภาพ โดยใช้นโยบายสาธารณะในการขับเคลื่อนสังคม
โจทย์ของเครือข่ายสื่อสร้างสุข คือ การสื่อสารภายใต้ประเด็นนโยบายสาธารณะทั้ง 4 ประเด็น ที่ขับเคลื่อนในภาคใต้ ออกแบบ platform ต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ ในเรื่องของการแก้ปัญหา Fake new ที่เกิดขึ้น ซึ่งเน้นในเรื่องการสื่อสารทางด้านสุขภาพ
แผน/การปรับตัวของเครือข่ายสื่อ คือ การใช้การสื่อสารตามสถานการณ์ ซึ่งจะต้องค้นหาข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อลดปัญหา Fake new ปรับตัวโดยแบ่งการทำงานเป็น 3 Zone 4 กลุ่มทำงาน เช่น อันดามันทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ในเรื่องของการสื่อสาร ลด Fake new จากสถานการณ์โควิด และทำงานอย่างต่อเนื่องกับประเด็นที่จะขับเคลื่อนทั้ง 4 ประเด็น การท่องเที่ยว (พี่หมุยและพี่โจ้) ทำทั้งสื่อและประเด็น ใต้ล่าง (ตั้ม) ทำในประเด็นของภัยพิบัติ ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางสุขภาพ และทีมกลาง (พี่อานนท์) ให้การสนับสนุนประเด็นของการจัดเวทีสาธารณะ สมัชชาออนไลน์ และ plate form ที่ทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสื่อ ในเรื่องของการสื่อสาร ลดปัญหา Fake new และเน้นการสื่อสารนโยบายสาธารณะ
ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นจากที่ประชุม
1. แพททีวี ในส่วนของจังหวัดพังงา ได้ปรับวิธีการทำงานจาก announcer อย่างเดียว เป็น How-to ปรับวิธีการทำงานเป็นขั้นตอนและหาข้อมูลมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเข้าไปทำรายการให้กับชาวบ้านที่ทำเกษตรวิถีใหม่ ในสวนปาล์ม สู่สถานที่ท่องเที่ยว ได้ทำการหาข้อมูลและร่วมหาวิธีการทำงานร่วมกันในการนำเสนอ ทำให้ผู้รับสารสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ในส่วนของงานที่ได้ทำไปแล้ว ในส่วนของ live สดค่อนข้างใช้เวลาต้องพยายามกระชับให้เหลือเวลา 20-30 นาทีต่อ live และตัดช่วง Highlights มา re-run และนำเสนอใน platform อื่นด้วย
2. ทดลองใช้เวทีสมัชชาออนไลน์ event ของเขต 11 ได้มีการพูดคุยทั้ง 3 รูปแบบ ทั้งออนแอร์ ออนไลน์ และออนกราวน์ โดยใช้ประเด็นทางนโยบายที่ขับเคลื่อนทั้ง 4 ประเด็น ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ คนที่อยู่ในระบบได้รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ผลที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายอย่างไร โดยเชิญภาคีในพื้นที่ ภาคียุทธศาสตร์ ผู้ที่รับผิดชอบแต่ละประเด็น ได้ร่วมพูดคุยและเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การขยายผลการจัดการขยะที่เกาะยาวผ่านสื่อจากภายในเกาะสู่นอกเกาะ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดเรื่องของระบบเทคโนโลยี (อินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์)
3. เครือข่ายสื่อชุมพร สื่อชุมพรทำงานคู่ขนานกับเครือข่ายตามประเด็นอาหารปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่อง ให้ข้อเสนอว่า การทำสื่อเพื่อดึงดูดเนื้อหานอกจากเสียงชัด ภาพสวย จะต้องมีผู้ดำเนินรายการที่กระชับเนื้อหาเข้าประเด็นเป็นตัวดึงดูดที่สำคัญเช่นกัน จึงร่วมกันปรึกษากับทีมกลางในการพัฒนายูทูป (กระชับเนื้อหาและความคมชัดเป็น 4K) ควบคู่กับ Facebook เพื่อเพิ่มช่องทาง ทางสื่อชุมพรจึงปรับตัวโดยทำสื่อคู่ขนาดคลิป วิดีโอ ถ่ายทอดสด ควบคู่ยูทูปและ Facebook
4. 1 platform ที่กำลังปรับใน Phase 3 คือ จะมีนักเขียนมืออาชีพเข้ามาเขียนงานร่วมด้วย เขียนในประเด็นสังคมและสุขภาพ ในส่วนของภาคใต้ใช้ทิพโฟกัสเน้นรูปแบบออนไลน์ ของ (ตั้ม) ประเด็นออนไลน์ใน content “รู้เรื่องเพื่อน”
5. การเพิ่มช่องทางการสื่อสารในประเด็นต่างๆ อาจจะมีช่องทางเพิ่ม 1 ช่องทาง คือ podcast เป็นรายการเฉพาะของทีมสื่อสารประเด็น
แนวความคิด/กรอบแนวคิด อ.พงค์เทพ
สถานการณ์สื่อหลัง covid-19
1) คนไทยใช้สื่อมากขึ้น -->shop ท่องเที่ยว การช่วยเหลือของรัฐ --> ผลประโยชน์
2) เสนอข้อมูลข่าวสารมากขึ้น --> ตรงกับความต้องการ
3) Platform ใหม่ๆ /สื่อมวลชนหน้าใหม่/ Youtuber/ Blocker/ Influencer --> เข้าถึงง่าย/สะดวก/เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน --> line และการกระจาย/เผยแพร่ข้อมูล --> แชร์ (ประเด็นนี้สำคัญ)
4) วัตถุประสงค์ คือ สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการขับเคลื่อนสังคม/การตลาด เพื่อการขายของ
5) Fake news เพราะต้องการให้คนเชื่อและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถัวน/การเอารัดเอาเปรียบ
6) ความต้องการสื่อของผู้บริโภค: Content/ ความรวดเร็ว/ได้ประโยชน์/ความแม่นยำ/ความเป็นส่วนตัว (จริยธรรมสื่อ/ความรับผิดชอบ จะตามมา ไม่กระทบสิทธิต่อผู้อื่นและมีความเป็นส่วนตัวของข้อมูล)
จากกระบวนการนโยบาย ประเด็นของ Stakeholder Analysis จะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าใครเป็นคนที่เราจะสื่อสาร ความต้องการของกลุ่มคนเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และในขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้เกิดการขับเคลื่อนสังคม/การเปลี่ยนแปลง เช่น สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางความมั่นคงทางอาหาร ทางทรัพยากร ทางสุขภาพ และความมั่นคงทางมนุษย์ จะสื่อสารอะไรบ้าง (content ที่จะสื่อสารและตรงกับความต้องการ) และเมื่อสื่อสารแล้วผู้รับสารใช้ประโยชน์ได้หรือไม่/พัฒนางาน/แก้ปัญหาได้หรือไม่ และทำอย่างไรให้สื่อของเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เข้าถึงได้ง่าย สะดวก และกระจายได้เยอะ
ยุทธศาสตร์สื่อ
ต้นน้ำ: 1. พัฒนาศักยภาพคนทำงานเพื่อการเท่าทันสถานการณ์ (การจัดการความรู้)
2. จัดระบบข้อมูลประเด็นนโยบาย
3. Mapping เครือข่าย
4. Matching ประเด็นร่วม
กลางน้ำ:1. พัฒนารูปแบบ/ออกแบบเนื้อหา ร่วมกับทีมประเด็น ทีมขับเคลื่อนแต่ละประเด็น และทีม
วิชาการ
2. สร้างปฏิบัติการสื่อสารกับทุกช่องทาง เช่น
- สมัชชา online กับ 4 ประเด็น* ที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ผลิตคลิป
- งานเขียนทั้ง online offline
- One page (Keyword)
- สื่อสารเพื่อการรับรู้ Live วิทยุ ตามกิจกรรมสำคัญ
*ทุกประเด็นจะต้องดำเนินการ 6 ขั้นตอน ทีมสื่อจะสนับสนุนด้านการสื่อสารและร่วมออกแบบเนื้อหา ออกแบบการสื่อสาร ใช้ช่องทาง ทีมประเมินจะต้องประเมินตลอดระยะเวลาดำเนินการ
ปลายน้ำ: 1. สื่อสารเพื่อการติดตามผลการดำเนินการตามนโยบาย (ถอดบทเรียนร่วมกัน)
2. ชุดความรู้
ผลลัพธ์/ผลกระทบ
1) เกิดคนทำสื่อด้านสุขภาพจากการขยายเครือข่าย
2) ประเด็นทางนโยบายมีการเสนอต่อ CEO โดยเครือข่ายสื่อสร้างสุข
3) ความเชื่อมั่นต่อสาธารณะ
4) แนวปฏิบัติทางจริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะเป็นที่รู้จักและถูกนำไปใช้ในการกำกับกันเอง
5) เกิดรูปแบบการสื่อสารแนวใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและการใช้แอปพลิเคชั่นในการสื่อสารกันเองและสาธารณะ เช่น การใช้ระบบ zoom และเชื่อมต่อไปยัง platform อื่นๆ ในเวลาเดียวกัน
แผนงาน
ประเด็นนโยบาย ทีมสื่อที่รับผิดชอบ/รูปแบบการสื่อสารและการผลิต
ใต้บน ใต้กลาง ใต้อันดามัน ใต้ล่าง
ความมั่นคงทางอาหาร
- พืชร่วมยาง
- ความมั่นคงทางอาหาร ศาสนะ กลับดี และทีมกลาง (จ.ชุมพร สุราษฎร์ และระนอง)
คลิป, หนังสือพิมพ์, เวทีสมัชชา
รูปแบบ on-air online on-ground อานนท์ มีศรี
(จ.นครศรีธรรมราช)
คลิป, หนังสือพิมพ์, เวทีสมัชชา
รูปแบบ on-air online on-ground นิพนธ์ รัตนาคม และทีมกลาง (จ.นราธิวาส)
ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม
- ท่องเที่ยวชุมชน
- ภัยพิบัติ ธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง (ท่องเที่ยว)
คลิป, หนังสือพิมพ์, เวทีสมัชชา
รูปแบบ on-air online on-ground
ทวีศักดิ์ ปิยะวิสุทธิกุล (ภัยพิบัติ)
คลิป 6 ชิ้น 6 พื้นที่ เวทีสมัชชา
รูปแบบ on-air online on-ground
ความมั่นคงทางสุขภาพ อานนท์ มีศรี
นิพนธ์ รัตนาคม และทีมกลาง
ความมั่นคงของมนุษย์ อานนท์ มีศรี
()