สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพในพื้นที่ครั้งที่ 124 กุมภาพันธ์ 2561
24
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย พวงเพ็ญ จิ๋ววิเศษณา
circle
วัตถุประสงค์
  1. เยาวชนได้เสนอเครื่องมือและผลการดำเนินงานขององค์กรตัวเองที่ใช้สื่อสารตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา
  2. เยาวชนแลกเปลี่ยนและนำเสนอ ปัญหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อเยาวชน จ.นครศรีธรรมราช รวมถึงทางออกในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
  3. สร้างการมีส่วนร่วม และ สร้างข้อเสนอต่อนโยบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมทีมงานหลักเพื่ออกแบบงาน กำหนดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วม
  2. การประสานกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชุมเตรียมทีมงานร่วมเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ
  4. ประชาสัมพันธ์ก่อนงาน
  5. จัดเตรียมสถานที่ / ซักซ้อมก่อนวันงาน
  6. จัดงานแบบมีส่วนร่วมภายใต้ แนวคิด จากเสี่ยงเป็นสร้างสรรค์ที่สนุกและมีสาระ
  7. สรุปงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดเครือข่ายเยาวชนด้านการลดปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • เครือข่ายเยาวชนเกิดการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่
  • เกิดข้อเสนอต่อเครือข่ายเด็ก เรื่องให้เครือข่ายเยาชนได้มีภารกิจในการสร้างการเรียนรู้สร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับเยาวชนในพื้นที่
  • เกิดการแบ่งกลุ่มเครือข่ายออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
  1. เครือข่ายเด็กชายขอบ(เสี่ยง)
  2. เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสุข
  3. เครือข่ายกลุ่มเด็กมัธยมในจังหวัดนครศรีฯ
  4. เครือข่ายกลุ่มเยาวชนด้านนโยบาย แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ เปลี่ยนเสี่ยงเป็นสร้างสรรค์
  • เกิดการเชื่อมกลไกการขับเคลื่อนด้านการลดปัจจัยเสี่ยง2 ขบวน คือ

    1. ขบวนระบบสุขภาพระดับอำเภอหรือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
    2. ขบวนเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง นครศรีธรรมราช
  • เกิดข้อเสนอต่อฝ่ายนโยบายในพื้นที่ คือ

  1. ขอให้ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการประกาศนโยบายการปกป้องคุ้มครองเด็กจากปัจจัยเสี่ยง เป็นวาระหลักของจังหวัด
  2. ขอให้มีการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนด้านปัจจัยเสี่ยง เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  3. ขอให้หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายมีมาตรการและการดำเนินการที่เข้มข้นและเอาจริงเอาจัง
  4. ขอให้สถานศึกษาทุกแห่งได้มีการจัดการศึกษาด้านการรู้เท่าทันและสร้างภูมิคุ้มกันต่อปัจจัยเสี่ยงทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อป้องกันการเกิดนักดื่ม นักสูบหน้าใหม่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 111 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  1. โรงเรียนโรงเรียนจรัสพิชากร
  2. โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา
  3. โรงเรียนสหมิตรบำรุง
  4. เครือข่ายเยาวชน south youth ranger
  5. กลุ่มเยาวชนทุ่งใสหัวใจยิ้ม
  6. กลุ่มยุวทัศนจ.นครศรีธรรมราช
  7. เครือข่ายตลาดสีเขียว อ.พรหมคีรี
  8. ชุมชนหัวลำภู อ.หัวไทร
  9. คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจ.นครศรีธรรมราชประเด็น ปกป้องเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยง
  10. กลุ่มลูกขุนน้ำ คีรีวงค์ อ.ลานสะกา
  11. มหาวิทยาลัยนาฎศิลป์
  12. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  13. ทีวิลิกอร์
  14. ศูนย์ควบคุมปัจจัยเสี่ยง จ.นครศรีธรรมราช
  15. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ทั้งหมดจำนวน 111 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เครือข่ายเยาวชนบางเครือข่ายยังไม่ค่อยเท่าทันต่อสถานการณ์ปัญหาด้านปัจจัยเสี่ยง ดังนั้นจึงต้องมีการเสริมศักยภาพในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
  • ในการขับเคลื่อนเรื่องเหล้า บุหรี่ ในกลุ่มเยาวชน ยังขาดแกนนำเยาวชนที่จะคอยทำหน้าที่พี่เลี้ยงหรือคอยสร้างความรู้ให้กับเยาวชน โดยเฉพาะในสถานศึกษา
  • ยังขาดพื้นที่ที่จะเชื่อมโยงระบบหรือกลไกสุขภาพในพื้นที่กับเครือข่ายเยาวชน ดังนั้นจึงจะสร้างพื้นที่เชื่อมโยงทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ควรสนับสนุนให้เกิดกลไกที่คอยทำหน้าที่เชื่อมประสานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงในระดับจังหวัด

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • สร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมบทบาทของเครือข่ายเยาวชนในระบบสุขภาพในพื้นที่
  • ควรมีนโยบายระดับจังหวัดด้านปัจจัยเสี่ยงต่อเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้หน่วยงานที่ทำด้านปัจจัยเสี่ยงสามารถขับเคลื่อนได้อย่างคล่องตัว