สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชุมแกนประสานงานครั้งที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561
1
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย พวงเพ็ญ จิ๋ววิเศษณา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อบูรณาการแนวทางการทำงานระบบสุขภาพในจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการร่วมกันแบบบูรณาการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำสรุปข้อมูล ผลลัพธ์ ต้นทุน ที่เกิดขึ้นแล้ว
  2. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  3. ดำเนินการประชุม
  4. สรุปผลการประชุม
  5. จัดทำแผนปฏิบัติการ 3 เดือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การเชื่อมระบบสุขภาพทั้ง 3 ระบบในจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ สช. พชอ.เมือง กองทุนฯ
  2. แกนประสานทั้ง 3 ระบบสุขภาพเกิดความคุ้นเคยกัน
  3. แผนปฏิบัติงานร่วมจากทั้ง 3 ระบบ โดยแบ่งตามแนวทางของแต่ละระบบสุขภาพคือ
    • คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จ.นครศรีฯ เป็นฝ่ายอำนวยการ (Monitor) มีการสนับสนุนเชิงนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด ส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีกระบวนการทำงานเพื่อสนับสนุนกระบวนการทำงานของระบบสุขภาพชุมชนระดับอำเภอ ตำบล โดยจะมีการประชุมติดตาม สรุปความคืบหน้า ทุกๆ 3 เดือน
    • คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครศรีฯ (พชอ.) (Supporter) มีการอำนวยการให้ระบบสุขภาพระดับอำเภอมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนเชิงโครงสร้าง คำสั่งแต่งตั้ง บริการข้อมูลด้านสุขภาพ สร้างแผนปฏิบัติการ ควบคุม ประเมิน ติดตาม สรุปผลการดำเนิน พัฒนารูปแบบการทำงาน โดยจะมีการประชุมติดตาม สรุปความคบหน้า ทุกๆ 3 เดือน และมีการพัฒนาศักยภาพ 2 ครั้ง
    • กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (Actor) มีการปฏิบัติการและสนับสนุนให้เกิดการใช้งบประมาณให้หน่วยงานในพื้นที่ ทั้งหน่วยงาน ท้องที่ ท้องถิ่นองค์กรชุมชน ได้ดำเนินงานด้านการลดปัจจัยเสี่ยงในระดับตำบล และพัฒนาเป็นกติกาหรือข้อตกลงในระดับตำบล โดยจะมีการพัฒนาศักยภาพกองทุนฯ 2 ครั้ง และทีมประสานจะมีการลงพื้นที่เพื่อเสริมพลังตลอดโครงการ
    • หน่วยงานหรือองค์กรภาคประชาสังคมที่ดำเนินงานด้านสุขภาพ มีการทำงานด้านการสร้างการรู้เท่าทัน ทำงานแบบเกาะติด จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนัก ส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งการเฝ้าระวัง/กระตุ้นกลไกการบังคับใช้กฎหมาย
  4. Action Plan ระยะ 3 เดือน คือ
    • เข้าพบนายแพทย์สาธารณสุข นครศรีฯ 1 ครั้ง
    • พัฒนาศักยภาพกองทุนฯ 1 ครั้ง
    • ประสานนายอำเภอเมืองเพื่อบรรจุประเด็นปัจจัยเสี่ยงใน พชอ.เมืองนครศรีฯ
    • ร่างคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการรับผิดชอบประเด็น
    • ประชุมอนุกรรมการ
  5. กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการณ์ (Unit) และผู้เกี่ยวข้อง โดยกำหนดพื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลที่มีโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา ตั้งอยู่ เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 6 คน
ประกอบด้วย
  1. นายสุวิจักร สายช่วย นักวิชาการชำนาญการ สพม.12 (ผู้แทนคณะทำงานสมัชชา สุขภาพ จังหวัดนครศรีฯ)
  2. นายยงยุทธ นาทะชัย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลไชยมนตรี (ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครศรีฯและจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล)
  3. นายวรวุฒิ ประสานพจน์  ประชาคมงดเหล้า จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. นางสาวสาวิตรี หมั่นช่วย ศูนย์ควบคุมปัจจัยเสี่ยง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. นางสาวปัญชนางค์ รัตนสุวรรณ์ ศูนย์ควบคุมปัจจัยเสี่ยง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  6. นางสาวพวงเพ็ญ จิ๋ววิเศษณา  เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ
  7. นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ประสานงานโครงการ
  8. นางสาวนาถอนงค์ คงชัย ผู้แทน สพป.4
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ประสานความร่วมมือกับโครงการที่มีการปฏิบัติการในพื้นที่ เช่น โครงการขนาดเล็ก ชุมชนน่าอยู่

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

การแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละระบบสุขภาพทำได้ดีและสอดคล้องกัน แต่ขอให้เน้นกระบวนการพัฒนาศักยภาพ ที่ไม่ใช่เน้นแต่ทักษะ เทคนิค เท่านั้น ควรเพิ่มเรื่องเจตจำนง คุณค่า และความหมาย ในแต่ละระบบสุขภาพด้วย