สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชุมกำหนดแนวทางการลดปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่27 มีนาคม 2562
27
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเสริมศักยภาพผู้เกี่ยวข้องกับกองทุนท้องถิ่น 2. เพื่อสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการให้กับผู้เกี่ยวข้องกับกองทุนท้องถิ่น 3. เพื่อสรุปผลและประเมินโครงการจากการดำเนินงานที่ผ่านมา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานกับท้องถิ่นเพื่อเชิญผู้เกี่ยวข้อง
  2. ประสานงานกับนักวิชาการ
  3. ประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 11 สุราษฎร์ธานี
  4. เตรียมเอกสารข้อมูลด้านวิชาการ
  5. ดำเนินการกิจกรรม
  6. สรุปผลการประชุมและออกแบบการดำเนินงานต่อ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผู้แทนจากกองทุนท้องถิ่นมีความเข้าใจในระเบียบของกองทุนฯ ในด้านความสอดคล้องในประเด็นการลดปัจจัยเสี่ยงโดยการใช้งบประมาณของกองทุนฯ ในด้าน ป้องกัน ส่งเสริม • ผู้แทนจากกองทุนท้องถิ่นลดความกังวลการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพราะได้รับการชี้แจงจากผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 11 • ผู้แทนจากกองทุนท้องถิ่นเข้าใจในสถานการณ์ปัญหาในกลุ่มเด็กมัธยมต้น ทั้งด้านการสูบ ดื่ม เสพ และเห็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้น และสามารถนำไปเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาโครงการเพื่อใช้งบประมาณจากกองทุนท้องถิ่น • เกิดภาคีความร่วมมือจากภาคประชาสังคม โดยจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมการดำเนินงานของกองทุนท้องถิ่น • เกิดการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งเชิงพื้นที่คือ 7 กองทุนท้องถิ่น และแนวทางการเสริมศักยภาพให้กลุ่ม/ชมรม/องค์กร ในชุมชนเป็นผู้ดำเนินโครงการ • เกิดการปรับโครงการให้มีความสอดคล้องกับหลักวิชาการและเหมาะสมกับพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  1. นางสาวปัญชนางค์ รัตนสุวรรณ ศูนย์ควบคุมปัจจัยเสี่ยง จ.นครศรีฯ
  2. นายชญานิน เอกสุวรรณ ผู้แทน สปสช.11
  3. นายชัชวาล บุญอมร ผู้แทนกองทุนฯ อบต.ท่าเรือ
  4. นายปราโมทย์ บุญคมรัตน์ ผู้แทนกองทุนฯ อบต.ท่าเรือ
  5. นายธีระ ด้วงสิน ผู้แทนกองทุนฯ อบต.กำแพงเซา
  6. นางสาวเรวดี สุดภักดี ผู้แทนกองทุนฯ เทศบาลเมืองปากพูน
  7. นางสาวธัญลักษณ์ ขวดทอง ผู้แทนกองทุนฯ เทศบาลตำบลท่าแพ
  8. นางสาวโปรดปราน คำอ่อน ม.สงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  9. นางสายสุณีย์ จำรัส ม.สงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
  10. ดร.ดุริยางค์ วาสนา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.กาญจนดิษฐ์
  11. ดร.พิมาน ธีรรัตนสุนทร นักวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  12. นายทวีวัตร เครือสาย พี่ลี้ยงกองทุนฯ
  13. นายธนาวุธ คงจันทร์ สคล.ใต้บน
  14. นางสาวพวงเพ็ญ จิ๋ววิเศษณา กองเลขาฯ
  15. นายอนันต์ พรมนิน นักวิชาการสาธารณสุขอำเภอเมืองนครศรีฯ
  16. นางสาวภานุชนารถ คงแก้ว ผู้แทนกองทุนเทศบาลเมืองเมืองนครศรีฯ
  17. นางสาวชนิดาภา โชติรัตน์ ผู้แทนกองทุนเทศบาลเมืองเมืองนครศรีฯ
  18. นางสาวนุจรีย์ โจมนุพงศ์ ผู้แทนกองทุนเทศบาลเมืองเมืองนครศรีฯ
  19. นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ประสานงานโครงการฯ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

• กลุ่ม/ชมรม/องค์กรในชุมชนยังขาดความเข้าใจในประเด็นปัจจัยเสี่ยง จึงต้องมีการเสริมศักยภาพเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

• ควรพัฒนาศักยภาพเครือข่าย สสส.ให้มีการเชื่อมโยงการทำงานในระดับพื้นที่กับกองทุนท้องถิ่น

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

• ควรมีการสร้างความเข้าใจในระเบียบกองทุนให้กับคณะกรรมการกองทุนที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี 2562 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน