สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชุมคณะทำงาน22 สิงหาคม 2561
22
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบของเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครศรีฯ

2.เพื่อทบทวนและสรุปข้อมูลด้านวิชาการด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คณะทำงานด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  2. คณะทำงานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง
  3. คณะทำงานจาก สพม.12
  4. คณะทำงานภาคประชาสังคม
  5. ผู้ประสานงานโครงการและกองเลขาฯ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• เกิดชุดข้อมูลสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดนครศรีฯแต่ขาดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กมัธยมต้นและไม่เห็นปัจจัยหรือแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการดื่ม
• ข้อมูลที่ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กมัธยมต้นในการสุ่มตัวอย่างเด็กมัธยมต้นในเขตจังหวัดนครศรีฯยังไม่มีรายละเอียดมากพอ และไม่มีสถาบันการศึกษาที่น่าเชื่อถือรองรับได้ • เกิดการกำหนดโจทย์วิจัยใหม่คือการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมและผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจะออกแบบและให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ทดลองใช้เครื่องมือกับโรงเรียนระดับมัธยมต้น คือ โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ และจะนำผลมารายงานในการประชุมครั้งต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 6 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย
  1. ดร.พิมาน ธีรรัตนสุนทร นักวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  2. นายเจกะพันธ์ พรหมมงคล ผู้ประสานงานโครงการฯ
  3. นายกัณตนัช รัตนวิก เครือข่ายเยาวชน จ.นครศรีฯ
  4. นางสาวพวงเพ็ญ จิ๋ววิเศษณา กองเลขาฯ
  5. นางสาวปัญชนางค์ รัตนสุวรรณ ศูนย์ควบคุมปัจจัยเสี่ยง จ.นครศรีฯ
  6. นายองอาจ พรหมมงคล สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคใต้ตอนบน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

• ขาดชุดข้อมูลที่ทำให้เห็นสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบในระดับเด็กมัธยมต้นในจังหวัดนครศรีฯ จึงมีแนวทางให้คณะทำงานด้านวิชาการได้จัดทำขึ้นภายใต้การรับรองจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

• ควรมีการสนับสนุนงานวิจัยด้านการการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบในระดับเด็กมัธยมต้นในระดับประเทศ

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

• ควรมีการพัฒนาชุดข้อมูลด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบในระดับเด็กมัธยมต้นในทุกๆกองทุนท้องถิ่น